วิปัสสนา

เรื่องที่ ๑๔ : ท่านโกเอ็นก้า วิปัสสนาจารย์
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


บางท่านสงสัยว่า ท่านสัตยา นารายัน โกเอ็นก้า ผู้นี้ เป็นใคร ? มีความสำคัญอย่างไรต่อวง การวิปัสสนาบ้านเรา ? เพื่อเป็นการขจัดข้อสงสัยดังกล่าว ก็จึงใคร่ขอนำประวัติย่อของท่าน สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า มาเสนอในตอนนี้


ท่านสัตยา นารายัน โกเอ็นก้า เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐาน ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดท่าน หนึ่งของโลก การฝึกอบรมการปฏิบัติวิปัสสนาในแนวทางของท่าน เป็นที่นิยมแพร่หลายมาก ประมาณว่าได้มีการจัดการฝึกอบรมในแนวทางนี้มาแล้ว ในกว่า ๘๐ ประเทศ ทั่วโลก ศูนย์ วิปัสสนาที่เปิดการฝึกอบรมเป็นประจำ ตามแนวทางของท่าน มีอยู่ทั้งในเอเซีย ยุโรป อเมริกา และนิวซีแลนด์ รวมทั้งที่มีการจัดการฝึกอบรม ตามสถานที่ชั่วคราวต่างๆ ตามแต่จะได้รับการ ร้องขอด้วย

ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า เป็นชาวอินเดีย ที่เกิดในประเทศพม่า เดิมเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง และ ประสบความสำเร็จมาก เมื่ออายุได้ ๓๑ ปี ท่านได้เข้าฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กับวิปัสสนา จารย์ผู้มีชื่อเสียงของพม่า คือท่านอาจารย์อูบาขิ่นตามคำแนะนำจาก เพื่อนของท่าน คือท่าน อูชานตุน อดีตประธานศาลฎีกาพม่า และประธานสมาคม พุทธศาสนิกสัมพันธ์โลก ผู้ล่วงลับไป แล้ว ท่านได้รับการฝึกสอนภายใต้การดูแลเอา ใจใส่ของท่านอาจารย์อูบาขิ่น เป็นเวลาถึง ๑๔ ปี วิธีการปฏิบัติในแนวทางนี้เป็น การปฏิบัติแบบ เวทนานุปัสสนา ซึ่งได้สืบทอดกันมาแต่ครั้ง พุทธกาล โดยพระโสณเถระ และ พระอุตตรเถระ เป็นผู้นำมาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ และได้รับ การรักษาให้บริสุทธิ์ในรูปแบบบดั้งเดิม ด้วยความเคร่งครัดอย่างยิ่งยวด โดยถ่าย ทอดกันอยู่ใน วงแคบ จากครูถึงศิษย์ เฉพาะในหมู่สงฆ์ ที่ใฝ่ใจในการปฏิบัติอย่างจริงจังเท่านั้น จนกระทั่งถึง พระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถืออย่างกว้างขวางยิ่งในประเทศพม่า ใน ความสามารถทั้งทางปริยัติและปฏิบัติของท่าน คือพระญาณธช หรือที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปใน นาม เลดีซายาดอว์

ท่านได้นำวิธีการปฏิบัตินี้ มาถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ที่เป็นคฤหัสถ์ จนกระทั่งตกทอดมาถึงท่าน อาจารย์อูบาขิ่น ท่านอาจารย์อูบาขิ่น มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะนำพระธรรมรัตนะ กลับคืนสู่อินเดีย ท่านกล่าวว่า ประเทศพม่าเป็นหนี้บุญคุณอย่างล้นพ้น ต่ออินเดีย ในการที่ได้ รับวิธีการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ จากประเทศอินเดีย และ บัดนี้ก็ถึงเวลาที่ชาว อินเดียควรจะได้รับสมบัติอันล้ำค่านี้กลับคืนไป และเผยแพร่ต่อไป เพื่อ ประโยชน์สุขของ มนุษยชาติทั้งมวลท่านอาจารย์โกเอ็นก้า เป็นผู้ที่ได้รับมอบภารกิจนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่าน ได้เดินทางไปสู่ดินแดนแห่งบรรพบุรุษของท่าน และได้ร่อนเร่ไปสอน วิปัสสนาตามที่ต่างๆ แทบจะทั่วประเทศอินเดีย ศิษย์รุ่นแรกของท่าน มีจำนวนเพียง ๑๔ คนแต่เวลาที่ผ่านไป ๒๖ ปี ท่านได้พิสูจน์ให้ผู้คนทั้งหลาย เห็นความมหัศจรรย์แห่งการปฏิบัติ ตามแบบอย่างที่พระพุทธ องค์ทรงสอน ซึ่งสามารถยังผลให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ทันที

ด้วยเหตุนี้ ชาวอินเดียเป็นจำนวนมาก จึงพากันมาฝึกปฏิบัติกับท่าน และเมื่อได้ผลดีก็บอก ต่อๆกันไป เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ศูนย์ฝึกอบรมวิปัสสนาศูนย์แรก ชื่อว่า ธรรมคีรี ก็ได้ถือกำเนิด ขึ้น ที่เมือง อิกัตบุรี รัฐมหาราษฎร์ ติดตามด้วยศูนย์ปฏิบัติที่เมืองไฮเดอราบัด และหลังจาก นั้นอีกไม่นาน ก็มีการ จัดตั้งขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ที่เมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน การสอนการปฏิบัติ ตามค่ายปฏิบัติชั่วคราวต่างๆ ก็ยังคงดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับที่ศูนย์ปฏิบัติถาวร ซึ่งได้มีการจัดตั้งขึ้น ทั้งในอินเดียและประเทศอื่นๆ เพื่อสอนการปฏิบัติในแนวทางนี้โดยเฉพาะ ด้วยความกระตือรือร้นของบรรดาศิษย์ ที่ปรารถนาจะให้เพื่อนมนุษย์ ได้มีโอกาสลิ้มรสพระ ธรรมอันบริสุทธิ์ เพื่อการดับทุกข์เช่นเดียวกับตน ปัจจุบันมีศูนย์วิปัสสนาที่เปิดสอนการปฏิบัติ ในแนวทางนี้ตลอดทั้งปี อยู่ทั่วโลกเป็นจำนวน ๓๐ ศูนย์ เป็นศูนย์ที่อยู่ในประเทศอินเดีย ๑๒ ศูนย์ และในประเทศอื่นๆอีก ๑๘ ศูนย์ นอกจากนี้ ยังมีศูนย์วิปัสสนาที่กำลังอยู่ในระหว่างการ ก่อสร้าง ทั้งในอินเดียและประเทศอื่นๆ อีก ๑๘ แห่ง สำหรับในประเทศไทย มีศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมกมลา อยู่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก ได้ทรงเมตตารับไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ กับอีกศูนย์หนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการ ดำเนินการก่อสร้าง ชื่อศูนย์ ธรรมอาภา อยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก และนี่ก็คือประวัติโดยย่อ ของ วิปัสสนาจารย์ ที่มีนามว่า "สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า"




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย