"ภาวนาหาหลักจิต หลักใจ" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

 วิริยะ12    27 พ.ย. 2566

.
 "ภาวนาหาหลักจิต หลักใจ"

" .. "การภาวนาหาหลักจิต หลักใจ" คนเรามีจิตมีใจทุกคนแต่ว่าไม่เห็นจิตใจของตน เรียกว่าไม่มีหลัก เห็นจิตใจของตนแล้ว "ตั้งสติพิจารณาอยู่ที่ใจของตนตลอดเวลา คิดดี คิดชั่ว หยาบ ละเอียดก็ให้รู้ตัว" มันก็ไม่สามารถที่จะทำชั่วได้

"ถ้าเห็นจิตของตนอย่างนั้น เหตุนั้นจึงให้ตั้งสติ" คือความระลึก ให้เอามาตั้งไว้ที่คำบริกรรมแทนตัวจิต "คือจิตไม่มีตัวไม่มีตน จึงต้องให้เอาคำบริกรรมมาตั้งอยู่ จะเป็นพุทโธก็ได้" สัมมาอรหังก็ได้ ยุบหนอพองหนอก็ได้ทั้งนั้น

"แต่ให้เอาอันเดียวไม่เอามากอย่าง เอา พุทโธดีกว่า" บริกรรมพุทโธให้มันอยู่ที่จิต "จิตเป็นคนนึก คนคิดพุทใธ จับตัวนั้นไว้ให้ได้" เมื่อเอาพุทโธ มาไว้แล้วมันจะรวมความคิดความอ่านทั้งหมด "มารวมอยู่กับพุทโธในที่เดียว" นึกเอาพุทโธตัวเดียว ให้เห็นตัวนั้นเสียก่อน

"ยืน เดิน นั่ง นอนอิริยาบถทั้งปวงหมดอยู่กับพุทโธอันเดียว" จิตใจของคนเรามัน อันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่ว่าหลายอย่างก็เพราะมันเร็วที่สุด เราจับไม่ทัน "เมื่อเอาจิตมาไว้พุทโธแล้ว เราจับพุทโธตัวเดียว"

เป็นอันว่าเราจับตัวจิตได้แล้ว "มันคิดพุทโธ นึกพุทโธ" นึกสิ่งใดก็จิตผู้เดียวนั่น แหละ "เมื่อความคิดความนึกทั้งหมดมารวมอยู่ที่คำบริกรรมจุดเดียวแล้ว เป็นอันว่าเราจับจิตได้แล้ว" ไม่ต้องไปหาจิตที่อี่นอีกแล้ว .. "

"การฝึกหัดกัมมัฏฐาน"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    



DT014902

วิริยะ12

27 พ.ย. 2566
 เปิดอ่านหน้านี้  5383 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย