"กรรมเป็นที่พึ่งของจิต" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

 วิริยะ12  

.
 "กรรมเป็นที่พึ่งของจิต"

" .. "กายกับใจเมื่อประสมโรงกันเข้าแล้วย่อมสามารถกระทำกรรมใด ๆ ได้ทุกอย่างไม่เลือก" แล้วแต่จิตจะบัญชา แต่ผลกรรมหรือผลงานที่เรียกว่าวิบาก ที่ทั้งสองร่วมกันกระทำนั้น เมื่อยังอยู่ร่วมกันก็ร่วมกันรับร่วมกันเสวยต่อไป

เมื่อรูปแตกกายดับเขาหนีไปตั้งทัพอยู่เฉพาะเขา คือเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ตามสภาพของมันแล้ว "คราวนี้จิตเป็นผู้รับเคราะห์กรรมแต่คนเดียว" เหมือนลูกไม้มีทุเรียนเป็นต้น เมื่อแก่สุกงอมแล้วหลุดหล่นลงจากต้นโดยมิได้บอกกล่าวลาต้นเลย ได้เมล็ดได้เนื้อสุกหอมหวานแล้วก็ไป

เมื่อเมล็ดยังไม่ลีบไม่เน่าเขาไปสร้างต้นสร้างผลงอกงามขึ้นอีก จิตก็เช่นนั้นเหมือนกัน "เมื่อกายแตกดับไม่รับรู้อะไรแล้ว จิตเป็นผู้รับภาระผลกรรมแต่ผู้เดียว" ผลกรรมนี่แหละ ที่จะนำจิตให้ไปก่อเกิดในภพนั้น ๆ ต่อไป

สมดังพุทธภาษิตว่า "กัมมัสสกา" จิตสร้างกรรมอันใดไว้ "กัมมทายาทา" จิตผู้สร้างกรรมนั้นแล จักได้รับผลของกรรมนั้นต่อไป "กัมมโยนิ" กรรมเป็นผู้ให้กำเนิด "กัมมพันธุ" กรรมเป็นต้นตระกูลของความเกิด "กัมมปฏิสรณา" กรรมเป็นที่พึ่งของจิต หรือจิตอาศัยกรรมเป็นที่ดำเนินก็ว่า .. "

"เรื่องของความเกิด-ดับ" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6903

5,582







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย