วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร


พระอารามหลวง ชั้นชั้นตรี ชนิดชนิดวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ.1292
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ.2470


วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

เชียงใหม่


วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทองตั้งอยู่ ถนนเชียงใหม่ - ฮอด หมู่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ ๕๘ กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูงประมาณ ๑๐ เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

พระธาตุศรีจอมทอง เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดพุทรา สัณฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060

สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด
พ.ศ. ๑๙๙๕ พ่อสร้อย แม่เม็ง สองสามีภรรยา บ้านอยู่ใกล้กับดอยจอมทอง จึงได้เริ่ม สร้างเป็นวัดขึ้นบนยอดดอยจอมทองนั้นแล้วให้ชื่อว่า วัดศรีจอมทอง การสร้างวัดยังไม่เสร็จดี พ่อสร้อย แม่เม็ง ก็ได้ถึงแก่กรรมไป ต่อมาเมื่อ
พ.ศ. ๒๐๐๙ มีชาย ๒ คน ชื่อสิบเงินและสิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจอมทองและก่อสร้างวิหารมุงหญ้าคาขึ้นหนึ่งหลังจนเสร็จ แล้วได้อาราธนาพระสารีปุตตเถระ มาเป็นเจ้าอาวาส

ค้นพบพระบรมธาตุ
พ.ศ. ๒๐๔๒ ในสมัยที่พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาส มีตาปะขาวคนหนึ่งเกิดนิมิตฝันว่าเทวดามาบอกว่าที่ใต้พื้นวิหารบนยอดดอย ที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าและพระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันให้เจ้าอาวาสฟัง ท่านจึงได้ทำการอธิษฐานว่า “ถ้ามีจริงดังความฝันนั้นขอให้พระบรมธาตุจงเสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด” เมื่ออธิษฐานแล้วในวันรุ่งขึ้น ได้พบพระบรมธาตุอยู่ในช่องใจกลางพระเกศโมลีของพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่ภายในวิหารนั้นจึงได้เก็บรักษากันไว้ โดยเงียบๆ สืบมา
พ.ศ. ๒๐๕๘ สมัยที่พระมหาสีลปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส ได้มีพระมหาพุทธญาโณเถระ ได้นำตำนานพระทักขิณโมลีธาตุ มาจากเมืองพุกามจึงได้สั่งให้พระอานันทะ ผู้เป็นศิษย์ไปสืบดูพระบรมธาตุที่วัดศรีจอมทอง จึงได้ทำการสักการบูชาอธิษฐานอยู่ ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญเมื่อได้เห็นอาการดังนั้น จึงได้นำเอาพระบรมธาตุที่ได้เก็บรักษากันต่อๆกันออกมาแสดงให้พระอานันทะทราบ พระอานันทะจึงได้นำความไปแจ้งแก่พระมหาพุทธญาโณ ผู้เป็นอาจารย์ ฝ่ายพระมหาพุทธญาโณ เมื่อได้ทราบดังนั้น จึงได้นำความไปทูลพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ให้ทรงทราบ
พ.ศ. ๒๐๖๐ พระเมืองแก้ว จึงอาราธนาให้พระมหาพุทธญาโณ เป็นหัวหน้าไปสร้างวิหารจตุรมุข และก่อปราสาทไว้ภายในวิหารนั้น แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าประดิษฐานไว้ภายในปราสาทนั้น พระบรมธาตุจึงได้รับการเก็บรักษาไว้โดยวิธีนี้ ต่อๆ มาจนกระทั่งถึงกาลปัจจุบันนี้
   

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระทักขิณโมลีธาตุ พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า •

{ พระวิหารหลวง }
ตำนานพระทักขิณโมลีธาตุ
ดอยจอมทอง มีสัณฐานเป็นภูเขาดินสูงจากระดับพื้นที่ราบอื่นยอดดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล มีเมืองๆ หนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” เจ้าผู้ครองเมืองนั้นชื่อว่า พระยาอังครัฏฐะ พระยาอังครัฏฐะ ได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้“ เวลานี้ประทับอยู่เมืองราชคฤห์ ในประเทศอินเดีย จึงอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้วจึงเสด็จมาสู่เมืองอังครัฏฐะ ทรงแสดงธรรมและทรงพยากรณ์ ไว้ว่า “เมื่อเราตถาคตนิพพานแล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวาของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ดอยจอมทอง แห่งนี้” แล้วเสด็จกลับ ส่วนพระยาอังครัฏฐะทรงสดับพระดำรัสที่ตรัสพยากรณ์นั้นแล้ว ได้ทรงรับสั่งให้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทองด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ กาลล่วงมาถึงรัชสมัยแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย พระองค์ได้เสด็จสู่ดอยจอมทอง ได้ขุดคูหูเปิดอุโมงคใต้พื้นดอยจอมทองแล้วทรงรับสั่งให้สร้างพระสถูปไว้ภายในคหูนนี้ ทรงอัญเชิญพระบรมธาตุที่อยู่ในสถูปที่พระยาอังครัฏฐะรับสั่งให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปประดิษฐานในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้นดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำาคูหาไว้ ทรงอธิษฐานไว้ว่า “ต่อไปข้างหน้า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้ พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ฝูงชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา”   
พระพรหมมงคล,วิ. (ทอง สิริมงฺคโล)
นามเดิม ทอง พรหมเสน ฉายา สิริมงฺคโล (21 กันยายน พ.ศ. 2466 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายวิปัสสนาธุระรูปแรกของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และรูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งหน้าที่ในอดีตเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดเมืองมางเจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) และเจ้าคณะอำเภอฮอด

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน
สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๑ มีพระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) (ในขณะนั้น) หัวน้าพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ให้การสอน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และมีการจัดให้สอบอารมณ์ ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)   
{ พระธาตุศรีจอมทอง }
พระธาตุประจำปีชวด   
{ พระอุโบสถ }   

- เจ้าอาวาส -
• พระสุวรรณเมธี (แสวง ปญฺญาปโชโต) •


 10,446


พระอารามหลวงทั่วไทย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย