บทสวดมนต์


คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
  พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นแล้ว ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
  พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ตรัสไว้ดีแล้ว

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
  ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นไว้ตามสมควรแล้วอย่างไร,

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
  ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง

อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
  ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาธิการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งลาย ตลอดกาลนานเทอญ


อะระหัง สัมมาสัมพุธโธ ภะคะวา,
  พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
  ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน(กราบ),

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ,
  พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม(กราบ)

สุปะฎิปันโณ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)




บทสวดมนต์
คำบูชาพระ คำบูชาพระรัตนตรัย คำนมัสการพระรัตนตรัย ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ประจำวันอาทิตย์ ประจำวันจันทร์ ประจำวันอังคาร ประจำวันพุธ ประจำวันพฤหัสบดี ประจำวันศุกร์ ประจำวันเสาร์ ประจำพระเกตุ



• จงถามเด็กไทยให้น้อยลงว่า “อยากได้อะไร?” แต่จงถามเด็กไทยให้มากขึ้นว่า “อยากทำอะไร?” จาก “อยากทำอะไร?” ก็ก้าวต่อไปว่า “อยากรู้ว่าจะทำอย่างไร” และ “จะต้องรู้อะไร?”

• ผู้ไม่รู้เท่าทันตามเป็นจริง หลงยึดติดในสมมติ ถือมั่นตัวตนที่สมมติขึ้นเป็นจริงจัง ก็จะถูกความยึดติดถือมั่นนั้นแหละบีบคั้นกระทบกระแทกเอา ทำให้ได้รับความรู้สึกทุกข์เป็นอันมาก

• ยิ่งจัดการกับปัญหาด้วยความยึดอยากมากเท่าใด ความทุกข์ก็ยิ่งรุนแรงเท่านั้น แต่ถ้าจัดการด้วยปัญญาถูกตรงมากเท่าใด ปัญหาก็หมดไปเท่านั้น

• พอพ้นสมมติ อัตตาก็หมด พอเลิกยึด อัตตาก็หาย


จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย