"นายพรานคืนศีล" ตอนที่ ๑ "พระชะระภูตะเถระ"

 วิริยะ12    28 ก.พ. 2560

 "นายพรานคืนศีล" ตอนที่ ๑ "พระชะระภูตะเถระ"
จากหนังสือ "ธรรมพเนจร" โดย หลวงปู่จันทา ถาวโร


.. มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ "ชะระภูตะ" ท่านเกิดมาในโลกอินทรีย์แก่บารมีเต็มมาแล้ว "มาเห็นโลกคือหมู่สัตว์อันเกลื่อนกลาดดารดาษไปด้วยราชรถอันคร่ำคร่า ชราชำรุดทรุดโทรมหนอ ผมหงอกแก้มตอบฟันหัก เนื้อหนังสพรั่งพร้อมไปด้วยเส้นและเอ็น" ย่อมเป็นที่สังเวชทั้งตนและบุคคลอื่นแน่นอน ท่องเที่ยวเกิดดับภพน้อยภพใหญ่ "ถ้าเราติดอยู่ในวัตถุกาม กิเลสกาม นอนเนื่องอยู่ในโลกนี้ ก็ไม่มีความหมายในการเกิดของโลก คือหมู่สัตว์"

ที่นี่ก็เลยออกบวชบำเพ็ญพรตเพศพรหมจรรย์ "หันหลังสู่โลก หันหน้าสู่พระนิพพาน" เจริญสมถะกรรมฐาน เดินภาวนา "พุทโธ ธัมโม สังโฆ" ยืนภาวนา "หายใจเข้าพุทธ ออกโธ" เท่านั้นแหละ แล้วก็พิจารณาธาตุขันธ์ น้อมลงสู่ไตรลักษณ "อนิจจา" ร่างกายไม่เที่ยงหนอ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ ไม่ได้ตามใจหมายทั้งนั้น "ทุกขตา" ก็เป็นทุกข์ อยากให้สังขารร่างกายคงที่ตามใจหมายก็ไม่ได้ นั่นแหละ "อนัตตา" ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เราหมดเสียสิ้น

อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย "สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตาสิ่งนั้นไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรานั่นแหละ" ท่านก็เห็นจริงแจ้งชัดอย่างนั้นก็เบื่อหน่าย จิตก็รวมใหญ่ลงภวังคภพ อัปปนาสมาธิ อันแน่นแฟ้น พักอยู่พอสมควรจิตก็ถอนขึ้นมาอยู่ระหว่าง อุปจารสมาธิ ขณิกสมาธิ อัปปนาสมาธิ พอสมควร ท่านก็เดินวิปัสสนาค้นคว้า "เกิดทุกข์ แก่ทุกข์ เจ็บทุกข์ ตายทุกข์ ตายพึบลงไปต่อหน้า"

โอ้ .. "อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ มีเกิดมีตายอย่างนี้" ภพชาติสังขารนี้นั้นก็ไม่มีความสำคัญมั่นหมาย อะไรหนอ นั่นแหละ มีแต่ทุกข์โทษภัยยิ่งใหญ่ เห็นแจ้งชัดถึงสภาพเปื่อยเน่า แล้วก็สาปสูญหมดเสียสิ้น ไม่มีอะไร ท่านก็แจ้งชัดว่าตัณหาเป็นตัวเหตุ เป็นเครื่องร้อยรัดผูกมัดตรึวตราไว้กับโลกทั้งสาม อวิชชาเป็นปัจจัยครอบงำ ให้หลงภพหลงชาติ

"ท่านก็รื้อถอนด้วยปัญญาวิปัสสนานั้น" รื้อถอนออกจากดวงจิตทั้งหมด จิตก็หลุดพ้นจากเครื่องจองจำก็สบาย "ท่านเป็นนิยโตบุคคล" บุคคผู้หมดทุกข์โทษภัยน้อยใหญ่ นั่นแหละสิ้นทุกข์ ภพชาติน้อยใหญ่ทำลายได้หมดแล้วก็สบาย "อะยะมันติมา ชาติ" ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ในการเกิดในโลกทั้งสาม นั่นแหละก็สบาย ..

(มีต่อ ตอนที่ ๒ "พระเถระสงเคราะห์ญาติ")    



DT014902

วิริยะ12

28 ก.พ. 2560
 เปิดอ่านหน้านี้  5293 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย