"ความยิ่งใหญ่ของวาจา" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)

 วิริยะ12  

.
 "ความยิ่งใหญ่ของวาจา"

" .. พระพุทธศาสนาประกาศ "ความยิ่งใหญ่ของวาจา" ไว้ในพระพุทธศาสนสุภาษิตหลายที่หลายแห่ง เช่น ..

- "ควรเปล่งวาจางาม"
- "ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ"
- "ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย" และ
- "คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน" เป็นต้น

"ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง ความยิ่งใหญ่ของวาจาแม้เพียงเท่าที่นำมาในที่นี้ ก็น่าจะพยายามเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของวาจา" ที่ตลอดมายากจะมีผู้ให้ความสนใจกับวาจา คือกับคำพูดทั้งของตนเองและของใครทั้งหลายอื่น

"ที่ว่าไม่ให้ความสนใจกับวาจาทั้งของตนเองและของใครอื่นทั้งปวง ก็มิได้หมายความว่าไม่มีความสนใจ ไม่เชื่อถือวาจาใดทั้งสิ้น" ไม่ได้หมายความเช่นนั้น ที่ว่ายากจะมีผู้ให้ความในใจกับวาจาของตนเอง หรือวาจาของผู้ใดอื่นทั้งสิ้นนั้นมุ่งหมายเตือนให้เข้าใจวาจาแต่ละประโยคแต่ละข้อคำที่ดังเข้าหูเข้าหัวใจเรา

อย่าสักแต่ว่าได้ยิน แล้วก็ไม่พินิจพิจารณาเลยว่า "วาจาที่ออกจากปากมนุษย์ด้วยกันกับเรา" แม้จะต่างชาติชั้นวรรณะ มีความสูงต่ำร่ำรวยยากจนแตกต่างกันและแน่นอนมีความดีความไม่ดีแห่งจิตใจที่ต้องแตกต่างกันแน่นอนด้วย "เราผู้ได้ยินได้ฟังอาจจะมีจิตใจดีกว่าคนนั้นบ้าง เลวกว่าคนโน้นบ้างนี้เป็นธรรมดา" ธรรมดาที่ยากจะหาผู้อาจหยั่งรู้ให้ถูกต้องได้ถึงความเป็นจริงของทุกจิตใจ

แม้จะรู้ไม่ได้ว่า ใจใครเป็นอย่างไร "แต่ก็รู้ได้แน่นอนว่า แม้ความริษยามีในใจใครใดมาก ใจใครนั้นก็จะมีโทษมาก" ให้โทษร้ายแรงมากทั้งแก่ตนเองและทั้งแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย .. "

"แสงส่องใจ" ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร 

5,556







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย