เชิญปฏิบัติธรรม หรือเข้ารับการอบรมวิปัสสนาภาวนาที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่า ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
กำหนดการอบรมปี 2556
หลักสูตร 7 วัน
23 -31/5 พฤษภาคม 2556 วิสาขะบูชา
20-28/7 กรกฎาคม 2556 วันอาสาฬหะบูชา
10-18/8 สิงหาคม 2556 วันแม่
4-12/12 ธันวาคม 2556 วันพ่อ
ตารางอบรมวิปัสสนาภาวนาหลักสูตร 7 วัน
วันที่ 1 13.00 16.30 น. รายงานตัว ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม เข้าที่พัก
18.00 21.00 น. ปฐมนิเทศ ความรู้เรื่องการภาวนา ฝึกวิธีภาวนาใน 4 อิริยาบท
21.00 น. พักผ่อน
วันที่ 2 ถึงวันที่ 8 ของการอบรม (รวมเวลาปฏิบัติจริงเท่ากับ 7 วันเ ต็ม)
04.00 น .ตื่นนอน ทำกิจวัตรส่วนตัว (ระฆังปลุก)
ปฏิบัติภาวนา
06.00 น. เดินจงกรมหมู่
06.30 น. ร่วมกันทำความสะอาดศาลาปฏิบัติธรรม หอฉัน บริเวณ และอาคารที่พัก
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า(ระฆัง)
08.00 ฟังธรรมเทศนา (ระฆัง)
09.00 ปฏิบัติภาวนา
11.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ทำกิจส่วนตัวแล้วเดินจงกรมเดี่ยว
12.30 น. 3 วันแรก ฟังบรรยายสรุปธรรม วันที่ 4 7 ปฏิบัติภาวนา (ระฆัง)
14.00 น. ปฏิบัติภาวนา
16.00 น. น้ำปานะ พักผ่อน อาบน้ำ ทำกิจส่วนตัว (สอบอารมณ์)
18.00 น. ปฏิบัติภาวนา (สอบอารมณ์) (ระฆัง)
ฟังสรุปและคำแนะนำเพิ่มเติมประจำวัน
21.00 น. พักผ่อน
วันที่ 9 (วันปิดอบรม)
04.00 น. ตื่นนอน ทำกิจวัตรส่วนตัว ปฏิบัติภาวนา ฟังปัจฉิมนิเทศ (ระฆังปลุก)
06.00 น. พิธีปิดการอบรม
คุณสมบัติและข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้ารับการอบรม
1.อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ไม่จำกัดเพศ ชาย หญิง หรือนักบวช ไม่จำกัดศาสนา
2.ไม่อยู่ในระหว่างการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
3.ไม่สูบบุหรี่ ไม่เคี้ยวหมาก ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด หรือสามารถงดบุหรี่และการเคี้ยวหมากได้ตลอด ระยะเวลาการอบรม
4.ไม่นำเครื่องประดับหรือสิ่งของมีค่ามากติดตัวมาด้วย
5.งดการฟังวิทยุหรือเครื่องเสียงต่างๆ โทรศัพท์มือถือให้ฝากไว้กับกรรมการจัดการอบรมโดยจะคืนให้หลังปิดการอบรม
6.เครื่องแต่งกายระหว่างการอบรม ให้เป็นชุดที่สุภาพ หลวมๆ นุ่งห่มสบาย สีไม่ฉูดฉาด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นชุดขาวก็ได้
7.ยินดีและยอมรับปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของการอบรม
8.สำรวมอินทรีย์ สำรวม กาย วาจา ใจ ปิดวาจา ตลอดระยะเวลาการอบรม จะสนทนาแต่เฉพาะกับอาจารย์ผู้สอนในเรื่องข้อธรรมหรือกับ ธรรมบริกรในความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น
9.งดการจุดธูปเทียน งดการสวดมนต์ไหว้พระในช่วงเวลาระหว่างการอบรม ให้ทำปฏิบัติบูชาแทน
10.รักษาศีล 8 อาหาร จะจัดอาหารมังสะวิรัติให้วันละ 2 มื้อ เช้า กลางวัน ตอนบ่ายมีน้ำปานะ
ติดต่อขอทราบรายละเอียดต่างๆและสอบถาม สนทนาธรรมได้ที่ โทร 08-9838-6213
อาจารย์วีระ สุริวงศ์ ได้หยุดการรับเชิญให้ไปบรรยายและสอนวิปัสสนาภาวนาในต่างจังหวัดที่ไกลๆ และได้ปักหลักสอนธรรมอยู่กับที่เป็นประจำ ณ. ที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่า ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
ศิษย์และท่านที่สนใจจะสนทนาธรรม หรือฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ขอเรียนเชิญพบปะสนทนา ศึกษาธรรมกับอาจารย์วีระได้ที่ศูนย์ทุกวันโดยโปรดโทรแจ้งให้ทราบล่วงหน้าที่ โทร 08-9838-6213
# 1 / เนินฆ้อ / 9 มี.ค. 2556 เวลา 23:02 น.
ภาพบางส่วนจากการอบรมวิปัสสนาภาวนาและปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชาเนื่องในวันมาฆะบูชา
22 - 26 กุมภาพันธ์ 2556
# 2 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:16 น.
บรรยากาศภายในสุธีร์ธรรมศาลา
# 3 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:17 น.
แนวการอบรม เมื่อเขียนออกเป็นภาพแผนภูมิ ถ้าท่านใดสามารถทำความเข้าใจแผนภูมินี้ได้โดยตลอดก็เหมือนกับได้อ่านตำราวิชาการทำวิปัสสนาภาวนาเล่มหนาๆ 1 เล่มจบ
# 4 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:21 น.
อีกแผนภูมิหนึ่งที่สรุปวิชาวิปัสสนาภาวนาให้รวมอยู่บนกระดาษแผ่นเดียว
# 5 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:22 น.
ติดต่อ ศึกษา สนทนาธรรมได้เสมอที่
โทร 08-9838-6213
อีเมล์
suriwong44@gmail.com
weera2556@hotmail.com
face book......ค้นหาโดยพิมพ์ชื่อ .....Weera suriwong
อ่านและสนทนาธรรมผ่านกระทู้ได้ที่
1.ลานธรรมเสวนา ชื่อ อโศกะ
2.ลานธรรมจักร....ชื่อ asoka
# 6 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:31 น.
ทางไปสู่พระธาตุห้วยบอน
# 7 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:32 น.
เมื่อถึงพระธาตุห้วยบอน
# 8 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:33 น.
ท่านสามารถเปิด Google Earth แล้วเดินดูทางเข้าสู่พระธาตุห้วยบอน ภาพเจดีย์ของพระธาตุห้วยบอน .......ถนนในหมู่บ้านห้วยบอน.......เส้นทางจากตัวเมืองฝางถึงพระธาตุห้วยบอนได้หลายๆเส้นทาง
เชิญนะครับ......ไปรับความรู้เรื่องพุทธศาสนาที่ถูกต้องและลัดสั้น......นำไปสู่การปฏิบัติหรือพิสูจน์ธรรมทันที.........ณ.สถานที่อันสัปปายะ
เชิญนะครับ......ไปรับความรู้เรื่องพุทธศาสนาที่ถูกต้องและลัดสั้น......นำไปสู่การปฏิบัติหรือพิสูจน์ธรรมทันที.........ณ.สถานที่อันสัปปายะ
เชิญนะครับ......ไปรับความรู้เรื่องพุทธศาสนาที่ถูกต้องและลัดสั้น......นำไปสู่การปฏิบัติหรือพิสูจน์ธรรมทันที.........ณ.สถานที่อันสัปปายะ
# 9 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 13:42 น.
ฆราวาสสอนธรรม ที่มีชื่อเสียงและมีคนนับถือมากที่สุดในปัจจุบัน
ประวัติท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
Thursday, 12 April 2007
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเป็นชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่าเมื่อปีพ.ศ.2467 ท่านได้ประกอบธุรกิจจนประสบความ สำเร็จมีชื่อเสียงมากตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม ทั้งได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชนชาวอินเดียในพม่า รวมทั้งเป็นประธานองค์กรต่างๆ อาทิเช่น หอการค้ามาร์วารีแห่งพม่าและสมาคมพานิชย์และอุตสาหกรรมแห่งร่างกุ้ง นอกจากนี้ยังร่วมเดินทางไปต่างประเทศกับคณะผู้แทนการค้าของสหภาพพม่าในฐานะที่ปรึกษาอยู่บ่อยๆ
เมื่ออายุ 31 ปี ท่านได้ทดลองเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตร 10 วันเป็นครั้งแรกกับท่านอาจารย์อูบาขิ่น (วิปัสสนา-จารย์ที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่งผู้หนึ่ง) หลังจบจากการปฏิบัติตามหลักสูตร 10 วันแล้ว ท่านโกเอ็นก้าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในเนื้อหาสาระของคำสอนและในแนวทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก จึงปวารณาตัวเข้าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนต่อมาท่านอาจารย์อูบาขิ่นได้แต่งตั้งให้ท่านทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน
ปีพ.ศ.2512 ท่านได้เดินทางกลับไปยังประเทศอินเดียเพื่อเยี่ยมมารดาที่ล้มป่วย ระหว่างที่อยู่ในอินเดีย ท่านได้จัดอบรม วิปัสสนาให้แก่มารดาและญาติพี่น้อง ซึ่งปรากฎว่ามีผู้ให้ความสนใจเป็นอันมาก นับจากนั้นขบวนการเอหิปัสสิโกก็ได้เริ่มต้น จากปากต่อปากที่บอกต่อๆ กันไป ทำให้มีผู้มาขอเข้าปฏิบัติกันมากขึ้น
และจากการที่ท่านอาจารย์อูบาขิ่นมีความฝังใจอยู่แต่เดิมว่า ประเทศอินเดียมีบุญคุณอย่างล้นเหลือที่ได้หยิบยื่นธรรมอันบริสุทธิ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แก่ประเทศพม่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน แต่ธรรมอันล้ำค่านี้กลับได้สูญหายไปจากประเทศอินเดียอันเป็นต้นกำเนิดจนเกือบหมดสิ้น ท่านโกเอ็นก้าจึงมีความปรารถนาที่จะทดแทนคุณประเทศอินเดีย ด้วยการหาทางนำเอาธรรมะอันล้ำค่านี้กลับไปเผยแผ่อีกครั้ง ซึ่งท่านอาจารย์อูบาขิ่นก็ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ท่านเปิดการอบรมวิปัสสนาในแนวทางนี้ขึ้นในประเทศอินเดียอย่างต่อเนื่อง
ปีพ.ศ.2517 ท่านจึงได้ก่อตั้งสถาบันวิปัสสนานานาชาติ "ธรรมคีรี" ขึ้นที่เมืองอิกัตปุรี ใกล้ๆ กับเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดียนับจากนั้นมาก็ได้มีการจัดอบรมวิปัสสนาหลักสูตร 10 วันและหลักสูตรระยะยาวต่อเนื่องเรื่อยมา ปีพ.ศ.2522 ท่านเริ่มเดินทางไปเผยแผ่วิปัสสนาตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก ท่านได้อำนวยการสอนวิปัสสนาหลักสูตร 10 วันในประเทศอินเดียและประเทศอื่นๆ ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออกกว่า 400 หลักสูตร หลักการสอนของท่านโกเอ็นก้าได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ทั้งในอินเดีย ประเทศที่ยังคงมีความแตกต่างทางด้านชนชั้นและศาสนาอย่างมาก และจากทั่วโลก ทั้งนี้เพราะคำสอนที่มีลักษณะเป็นสากล มิได้ขัดต่อหลักศาสนาใด ท่านเน้นเสมอว่ามนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด นับถือศาสนาใด และมีผิวสีอะไร ต่างก็มีความทุกข์ในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น ในเมื่อความทุกข์ของมนุษย์เป็นสากล วิธีการปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความทุกข์จึงต้องเป็นสากลเช่นกัน
ต่อมาท่านได้เริ่มแต่งตั้งอาจารย์ผู้ช่วยให้ช่วยดำเนินการอบรมแทนท่าน โดยใช้เทปและวิดีโอของท่านเป็นแนวทางในการสอน เพื่อรองรับกับความต้องการที่จะเข้าอบรมซึ่งเพิ่มสูงขึ้น ทุกวันนี้มีอาจารย์ผู้ช่วยกว่า 700 ท่าน และอาสาสมัครช่วยงาน ต่างๆ อีกนับพันๆ คน มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก ทั้งในอิหร่าน มัสกัต อาหรับอิมิเรสต์ อัฟริกาใต้ ซิมบับเว จีน มองโกเลีย รัสเซีย เซอร์เบีย ไต้หวัน กัมพูชา เม็กซิโกและประเทศต่างๆ ในอเมริกาใต้ โดยมีการ ก่อสร้างศูนย์วิปัสสนาทั้งสิ้น 80 แห่งใน 21 ประเทศทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีการจัดอบรมหลักสูตรวิปัสสนาทั่วโลกกว่าหนึ่งพัน หลักสูตร โดยไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าอบรม ที่พักหรือค่าอาหารใดๆ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจที่จะบริจาค ทั้งตัวท่านอาจารย์ โกเอ็นก้าเองและอาจารย์ผู้ช่วยต่างๆ ก็ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากการอบรมดังกล่าวแม้แต่น้อย
ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้รับเชิญให้ไปแสดงปาฐกถาธรรมตามสถาบันต่างๆ รวมทั้งในเวทีเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และการประชุมสุดยอดสันติภาพโลกสหัสวรรษใหม่ที่สหประชาชาติด้วย
Last Updated ( Monday, 19 November 2012 )
# 10 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 14:49 น.
ในประเทศพม่า มีฆราวาสสอนธรรมที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นจำนวนมาก บางท่านสอนลูกศิษย์จนลูกศิษย์บรรลุธรรมชั้นสูงสุด มีอัฐิธาตุซึ่งกลายเป็นอรหันตธาตุเป็นพยาน อย่างเช่นอาจารย์เจ้ามาวหลวงแห่งเมืองต้างยาน รัฐฉานตอนเหนือ
ในพม่าตอนล่างก็มีลุกศิษย์ของท่านอาจารย์เลดีสะยาดอชื่อ เสี่ยแต๊ตจี เป็นฆราวาส เป็นอาจารย์สอนทั้งพระทั้งโยม ศิษย์สำคัญที่เป็นโยมและเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาภาวนาที่มีชื่อเสียงของพม่า คือท่่านอาจารย์อูบาขิ่น ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในปัจจุบันนี้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13370
# 11 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 20:43 น.
การจะได้ความเป็นชาวพุทธโดยสมบูรณ์นั้นสิ่งแรกที่สุดที่จำเป็นมากก็คือ....การได้พบ
กัลยาณมิตร หรือ มหากัลยาณมิตร
เพื่อที่จะได้รับความรู้ที่ถูกต้อง หรือข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ลำดับของความรู้ที่ชาวพุทธพึงมีและพึงได้รับก็ดังภาพที่นำมาแสดงข้างบนครับ
# 12 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 20:57 น.
พระนิพพานคือเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
วิธีไปนิพพานโดยย่อก็ดังแผนภูมิหรือแผ่นภาพที่แสดงข้างบนครับ
# 13 / เนินฆ้อ / 10 มี.ค. 2556 เวลา 20:59 น.
ความรู้พื้นฐานเรื่องที่ 1 เรามาจากไหน?...แล้วจะไปสู่ที่ใด?
ลองดูและศึกษาจากแผ่นภาพข้างบนแล้วพิจารณาดูว่าท่านมาจากไหน ...
มนุษย์แต่ละคนมาจากไหน? ....และจะไปสู่ที่ใด?
# 14 / เนินฆ้อ / 11 มี.ค. 2556 เวลา 22:35 น.
มนุษย์และสัตว์โลกทั้งปวง มาจากกรรมเหตุในอดีต
กำลังรับผลของกรรมอดีต (วิบาก)อยู่ในปัจจุบันชาติ
และกำลังทำกรรมเหตุในปัจจุบัน อันจะนำไปสู่ผลที่ต้องรับ(วิบาก)ในอนาคต
หมุนเวียนเป็นกงกรรมกงเกวียนอยู่เช่นนี้ ไม่มีที่สินสุด ยุติ
จนกว่าจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ...พบพุทธศาสนา ...ได้ศึกษาข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.....นำเอาคำสอนนั้นมาประพฤติปฏิบัติ ฝึกหัดกายใจ จนพ้นไปจาก...ความเห็นผิด...ยึดผิด....จึงจะหักทำลายวงวัฏจักรแห่งกรรมได้มิด หมดสิ้น พ้นกรรม วิบากแห่งความเวียนว่ายตายเกิด
# 15 / เนินฆ้อ / 13 มี.ค. 2556 เวลา 10:36 น.
โฉลกธรรม
เพราะไม่รู้ จึงอยู่เช่น วัวควาย
กิน ขี้ สี่ นอน ไป เท่านี้
โกรธ โลภ หลง เต็มกาย ทั่วถ้วน
วนว่ายวัฏฏ์สุดลี้ ตราบชั่ว กัปกัลป์
จนกุศลส่งได้ เป็นคน
พบพุทธธรรมช่วยดล จิตให้
พลิกรู้สัจจ์ในตน จบแจ้ง
จึ่งจักอาจพ้นได้ ข่ายทุกข์ สงสาร
อโศกะ 2543
กลอนและร่าย 2 บทนี้ จะมีสักกี่คนกี่ท่าน ที่อ่านแล้วเข้าใจลึกซึ้งถึงประเด็นและความหมายสำคัญที่ซ่อนอยู่บ้างหนอ
# 16 / เนินฆ้อ / 14 มี.ค. 2556 เวลา 07:14 น.
ร่ายหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
จงดูอริยสัจจ ๔ พิจร์ณให้ดีอย่าข้าม เพียรสอบถามผู้รู้ ทางออกสู่เสรี มีอยู่แล้วในตน อย่าวกวนบัญญัติ อย่าผูกมัดสิ่งใด จงเป็นไทยทุกเมื่อ เชื่อคำพระชินวร คำสอนท่านสุดง่าย เฝ้ารู้กายและจิต อย่างพินิจ พิจารณา ณ เพลาปัจจุ จักรู้ลุทั่วตัว ความเมามัวจักหาย หลักใหญ่คืออัตตา อย่าให้มาเข้าร่วม ทิ้งความเห็นเป็นตน กมลมั่นกับธรรม ที่เกิดตามยถา ซึ่งบัญชาไม่ได้ ไร้ศัพท์ใดบัญญัติ จึ่งจักอาจเห็นจริง ตัดทิ้งซึ่งตัวข้า โคนเหง้าแห่งอวิชชา ขาดสิ้น สู่มรรค ผล นิพพาน
จงดูอริยสัจจ ๔ พิจร์ณให้ดีอย่าข้าม เพียรสอบถามผู้รู้ ทางออกสู่เสรี มีอยู่แล้วในตน อย่าวกวนบัญญัติ อย่าผูกมัดสิ่งใด จงเป็นไทยทุกเมื่อ เชื่อคำพระชินวร คำสอนท่านสุดง่าย เฝ้ารู้กายและจิต อย่างพินิจ พิจารณา ณ เพลาปัจจุ จักรู้ลุทั่วตัว ความเมามัวจักหาย หลักใหญ่คืออัตตา อย่าให้มาเข้าร่วม ทิ้งความเห็นเป็นตน กมลมั่นกับธรรม ที่เกิดตามยถา ซึ่งบัญชาไม่ได้ ไร้ศัพท์ใดบัญญัติ จึ่งจักอาจเห็นจริง ตัดทิ้งซึ่งตัวข้า โคนเหง้าแห่งอวิชชา ขาดสิ้น สู่มรรค ผล นิพพาน
# 17 / เนินฆ้อ / 14 มี.ค. 2556 เวลา 07:18 น.
ยาก 5 อย่าง
1.ความเกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
2.ความได้มาเกิดเป็นมนุษย์
3.เกิดเป็นมนุษย์แล้วได้พบพระพุทธศาสนา
4.พบพุทธศาสนาแล้วได้ฟังข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
5.ได้ฟังข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เอามาใส่จิตใส่ใจลงมือประพฤติปฏิบัติ จนสามารถเอาตัวเอาใจให้หลุดพ้นจากทุกข์ความเวียนว่ายตายเกิด
ลองพิจารณาดูซิว่า ในความยากทั้ง 5 ข้อที่ว่ามานี้ ท่านพ้นมาได้กี่ข้อแล้และยังเหลืออยู่อีกกี่ข้อ กี่อย่าง จึงจะพ้นความยากได้หมดทั้ง 5 ข้อ ....โปรดพิจารณา
# 18 / เนินฆ้อ / 15 มี.ค. 2556 เวลา 10:22 น.
ทาง 5 เส้น
สัตว์โลกทั้งหลายล้วนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในทาง 4 เส้น ไม่รู้จบสิ้น
จวบจนมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก จึงเกิดทางเดินเส้นที่ 5 ขึ้นมา
ทางเดินของสัตว์โลกทั้ัง 5 เส้นนัั้นเปรียบเหมือน นิ้วทั้ง 5 นิ้วบนมือ
1.บาป อกุศล เปรียบนิ้วก้อย.....เพราะเหตุทำบาป ผิดศีล 5 ไม่มีความละอายหรือเกรงกลัวต่อบาป ตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆด้วยอารมณ์...ผล.จึงต้องไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4
2.กามกุศล เปรียบนิ้วนาง....เพราะเหตุ ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ไหว้พระ ภาวนา...ตัดสินใจทกระทำสิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล...ผลได้มาเกิดเป็นมนุษย์...หรือไปเป็นเทวดาทั้ง 6 ชั้น
3.รูปกุศล เปรียบนิ้วกลาง....เพราะเหตุทำสมถะภาวนา ทำฌาณ ด้วยรูปกรรมฐาน..จนได้ฌาณสูงสุดถึงฌาณ 4 ตายในฌาณ .....ผลไปเกิดเป็นรูปพรหม 11 ชั้น อีก 5 ชั้นเป็นอริยะภูมิพรหม...รวมอรูปพรหมทั้งหมดมี 20 ชั้น
4.อรูปกุศล เปรียบนิ้วชี้....เพราะเหตุทำสมถะภาวนา ทำฌาณ ด้วยอรูปกรรมฐาน...จนได้ฌาณสูงสุดถึงฌาณที่ 8 ตายในอรูปฌาณ.....ผลไปเกิดเป็นอรูปพรหม 4 ชั้น มีอายุยืนนานมาก(สูงสุด 86,000 กัปป์
5.โลกุตรกุศล เปรียบนิ้วหัวแม่มือ...เพราะเหตุเจริญวิปัสสนาภาวนา วิชชาของพระพุทธเจ้า.....ผล..ไปสู่นิพพาน
# 19 / เนินฆ้อ / 16 มี.ค. 2556 เวลา 12:58 น.
บุคคล 5 จำพวก
ท่านลองพิจารณาตนเองดูซิว่า ....บัดนี้ ข้าพเจ้ากำลังจัดอยู่ในบุคคลประเภทใด
# 20 / เนินฆ้อ / 16 มี.ค. 2556 เวลา 13:03 น.
โอวาทปาติโมกข์
1.สัพพะปาปัสสะอกรณัง.....การไม่ทำบาปทั้งปวง.........ละชั่ว......ไม่ล่วงศีล 5
2.กุสลัสูปสัมปทา....การทำกุศลให้ถึงพร้อม.....ทำดี....เจริญบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง
3.สะจิตตะปริโยทปนัง...การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ....ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา
เอตังพุทธานศาสนัง....ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การละชั่ว...การทำดี...พระพุทธเจ้าทรงสอนดุจเดียวกับศาสดาของศาสนาต่างๆในโลก
แต่โอวาทปาติโมกข์ข้อที่ 3 การชำระจิตของตนให้ขาวรอบด้วยวิปัสสนาภาวนานั้น มีสอนเฉพาะในพุทธศาสนา เป็นเอกลักษณ์และคุณลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา
ดังนั้นการจะเป็นชาวพุทธ หรือพุทธศาสนิกชนโดยสมบูรณ์นั้น นอกจากการ ละชั่ว...ทำแต่ความดีนั้น ชาวพุทธที่แท้จริงจะต้องรู้จักวิธีทำวิปัสสนาภาวนา และสามารถปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้ในชีวิตปัจจุบันจริงๆ
นอกจากโอวาทสำคัญทั้ง 3 ข้อแล้ว ยังมีอีก 6 ข้อที่พึงควรรู้ด้วยคือ
ขันติปรมังตีติกขา.....ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปรมังวทันติพุทธา.....ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
นะหิปัพพะชิตาปรูปฆาตี....ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
สมโณโหติปะรังวิเหถยันโต....ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
อนูปวาโท อะนูปฆาโต.....การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย
ปาติโมกขะสังวโร....การสำรวมในปาติโมกข์
มัตตัญญุตาจะภัสตัสมิง....ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปัญตัญจะสะยะนาสะนัง...การนอนการนั่งในที่อันสงัด
อาทิจิตเตจะอาโยโค...การหมั่นประกอบในการกระทำจิตให้ยิ่ง
เอตังพุทธานะสาสนัง....ธรรม 6 อย่าสงนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
# 21 / เนินฆ้อ / 20 มี.ค. 2556 เวลา 20:00 น.
บุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง
ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่พากันเข้าใจว่าวิธีที่จะได้บุญมีเพียงวิธีเดียวคือการให้ทาน หรือการบริจาคทรัพย์ สิ่งของหรือแม้แต่การให้ธรรมทานด้วยหนังสือธรรมะต่าง
การให้ทานเป็นการทำบุญที่ยาก ลงทุนมาก แต่ให้ผลตอบแทนน้อยถ้าไม่เข้าใจวิธีการให้ทานอย่างถูกต้อง
บุญ...คือสิ่งที่ทำให้ใจสงบ เป็นสุข ปีติ อิ่มเอิบ
บาป ....คือสิ่งที่ทำให้ใจเดือดร้อน เป็นทุกข์
วิธีได้บุญมีอยู่ถึง 10 วิธี เรียงลำดับขึ้นไป จากทำยากได้บุญน้อย จนถึงทำน้อยได้บุญมาก
แบ่งวิธีได้บุญออกเป็น 3 กลุ่มคือ
ทาน.....ศีล.....ภาวนา
บุญในหมวดทานได้แก่
๑.ทาน....การให้ปันสิ่งของ
๒.ปัตติทาน....การแผ่ส่วนบุญที่ได้รับจากการให้ปันสิ่งของ
๓.ปตตานุโมทนา....การอนุโมทมนาส่วนบุญที่ทำแล้วของตนเองและผู้อื่น
หมวดศีล
๔.ศีล การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ ข้อ
๕.อัปจายนะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน (ฝึกหัดสละความเป็นตัวตน)
๖.เวยยาวัจจะ การน้อมรับใช้ผู้อื่น (ฝึกวางตัวตนไปช่วยผู้อื่น)
หมวดภาวนา
๗.ธัมมสวนะ การฟังธรรมตามกาล
๘.ธัมมเทศนา การแสดงธรรม
๙.ภาวนา การทำสมถะภาวนา
๑๐.ทิษฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้อง ด้วยวิปัสสนาภาวนา
# 22 / เนินฆ้อ / 23 มี.ค. 2556 เวลา 13:00 น.
เชิญชวนร่วมปฏิบัติธรรมชำระใจในโอกาสปีใหม่ไทยสงกรานต์ 2556
12 16 เมษายน 2556
ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระธาตุห้วยบอนเก่าจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานรุ่นพิเศษ 3 วัน สำหรับท่านที่อยากจะใช้วันหยุดยาวช่วงสงกรานต์หลบน้ำไปชำระใจด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนา
ตารางอบรมวิปัสสนาภาวนาหลักสูตร 3 วัน
วันที่ 12 เมษายน
13.00 16.30 น. รายงานตัว ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม เข้าที่พัก
18.00 21.00 น. ปฐมนิเทศ ความรู้เรื่องการภาวนา ฝึกวิธีภาวนาใน 4 อิริยาบท
21.00 น. พักผ่อน
วันที่ 13 ถึงวันที่ 15 เมษายน
04.00 น ตื่นนอน ทำกิจวัตรส่วนตัว (ระฆังปลุก)
ปฏิบัติภาวนา
06.00 น. เดินจงกรมหมู่
06.30 น. ร่วมกันทำความสะอาดศาลาปฏิบัติธรรม หอฉัน บริเวณ และอาคารที่พัก
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า(ระฆัง)
08.00 ฟังธรรมเทศนา (ระฆัง)
09.00 ปฏิบัติภาวนา
11.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ทำกิจส่วนตัวแล้วเดินจงกรมเดี่ยว
12.30 น. ฟังบรรยายสรุปธรรม (ระฆัง)
14.00 น. ปฏิบัติภาวนา
16.00 น. น้ำปานะ พักผ่อน อาบน้ำ ทำกิจส่วนตัว (สอบอารมณ์)
18.00 น. ปฏิบัติภาวนา (สอบอารมณ์ต่อ) (ระฆัง)
ฟังสรุปและคำแนะนำเพิ่มเติมประจำวัน
21.00 น. พักผ่อน
วันที่ 16 เมษายน (วันปิดอบรม)
04.00 น. ตื่นนอน ทำกิจวัตรส่วนตัว ปฏิบัติภาวนา ฟังปัจฉิมนิเทศ
06.00 น. พิธีปิดการอบรม
คุณสมบัติและข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้ารับการอบรม
1.อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ไม่จำกัดเพศ ชาย หญิง หรือนักบวช ไม่จำกัดศาสนา
2.ไม่อยู่ในระหว่างการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
3.ไม่สูบบุหรี่ ไม่เคี้ยวหมาก ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด หรือสามารถงดบุหรี่และการเคี้ยวหมากได้ตลอด ระยะเวลาการอบรม
4.ไม่นำเครื่องประดับหรือสิ่งของมีค่ามากติดตัวมาด้วย
5.งดการฟังวิทยุหรือเครื่องเสียงต่างๆ โทรศัพท์มือถือให้ฝากไว้กับกรรมการจัดการอบรมโดยจะคืนให้หลังปิดการอบรม
6.เครื่องแต่งกายระหว่างการอบรม ให้เป็นชุดที่สุภาพ หลวมๆ นุ่งห่มสบาย สีไม่ฉูดฉาด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นชุดขาวก็ได้
7.ยินดีและยอมรับปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของการอบรม
8.สำรวมอินทรีย์ สำรวม กาย วาจา ใจ ปิดวาจา ตลอดระยะเวลาการอบรม จะสนทนาแต่เฉพาะกับอาจารย์ผู้สอนในเรื่องข้อธรรมหรือกับ ธรรมบริกรในความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น
9.งดการจุดธูปเทียน งดการสวดมนต์ไหว้พระในช่วงเวลาระหว่างการอบรม ให้ทำปฏิบัติบูชาแทน
10.รักษาศีล 8 อาหาร จะจัดอาหารมังสะวิรัติให้วันละ 2 มื้อ เช้า กลางวัน ตอนบ่ายมีน้ำปานะ
ติดต่อขอทราบรายละเอียด..สมัครเข้ารับการอบรม..
โทร 08-9838-6213 อีเมล์
suriwong44@gmail.com....
Weera2556@hotmail.com
เชิญร่วมบริจาคเงินสนับสนุนเป็นค่าเลี้ยงอาหารและค่าจัดการอบรมได้โดยโอนเงินเข้าบัญชี กองทุนพระธาตุห้วยบอนเก่า บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทยสาขา อ.ฝาง
จ.เชียงใหม่ ในนาม นายบุญตาน ธรรมเรือง หมายเลขบัญชี 238-2-37228-2
แล้วโทรแจ้งที่ 08-9838-6213
ขออำนาจกุศลผลบุญที่สนับสนุนการอบรมปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา จงมาดลให้ทุกๆท่านประสบแต่ความสุขความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมเทอญ
# 23 / เนินฆ้อ / 28 มี.ค. 2556 เวลา 18:44 น.
หัวใจของการค้นพบของพระพุทธเจ้า หรือเราอาจจะเรียกว่า หัวใจของพระพุทธเจ้าเลยก็น่าจะได้ เพราะถ้าใครได้เรียนรู้ ได้เข้าใจสิ่งนี้อย่างละเอียดลึกซึ้งแล้วก็ย่อมจะเหมือนกับได้รู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
สิ่งนั้นคือ อริยสัจ 4
สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสมบูรณ์ ด้วยวิธีการต่างๆ จนในที่สุดพระองค์ได้ทรงใช้ปัญญา สังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป นาม กาย ใจ ของพระองค์เอง แล้วได้ทรงค้นพบความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่เรียกว่า อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แปลเป็นภาษาไทยคือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ วิธีทำให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเมื่อสังเกต พิจารณาดูดีๆแล้วก็จะเห็นว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้นคือ เหตุ กับ ผล 2 สิ่งนี้เท่านั้นเอง แต่มาแบ่งออกเป็น 2 คู่คือ เหตุทุกข์ กับผลทุกข์
คู่หนึ่ง เหตุสุขกับ ผลสุข อีกคู่หนึ่ง พระพุทธองค์ทรงสอนแก่ ปัญจวัคคีย์ในวันปฐมเทศนาว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เหตุเกิดทุกข์คือ สมุทัย ควรละ ผลสุขหรือความดับทุกข์คือ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรคคือวิธีการที่จะทำให้หมดทุกข์ ควรเจริญให้มาก พระองค์ทรงสอนให้สู้ที่เหตุทุกข์ คือนำเอามรรค มาต่อสู้กับสมุทัย มรรคนี่เองคือสิ่งที่ผู้ปารถนาพ้นทุกข์ทุกคนต้องศึกษาให้เข้าใจถูกต้อง ถ่องแท้ และลงมือปฏิบัติจริงๆ
ถ้ามาดูตามเหตุและผล 2 คู่ดังที่กล่าว การเจริญมรรคนั้นก็คือการเอาเหตุสุข มาต่อสู้กับเหตุทุกข์ ถ้าเหตุทุกข์ดับ ผลทุกข์ก็ดับ สิ่งที่เหลือก็คือ ผลสุข นิโรธ หรือ นิพพาน สิ่งที่จะต้องถามและหาคำตอบให้ได้จนถึงที่สุดในที่นี้ก็คือ อะไรเป็นเหตุทุกข์ อะไรเป็นเหตุสุข เมื่อพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้รู้ว่า มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด เป็นเหตุทุกข์ สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง เป็นเหตุสุข ผู้ปฏิบัติก็ต้องค้นหาเหตุผลต่อไปอีกว่า เห็นอย่างไรจึง เรียกว่าเห็นผิด เห็นอย่างไรจึงจะเรียกว่า เห็นถูกต้อง เมื่อศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไปเราก็ได้ทราบว่า เห็นผิด คือเห็นเป็นอัตตา สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เห็นถูกต้อง คือเห็นเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา
การเจริญมรรคนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้ เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา หรือ วิปัสสนากรรมฐาน คำว่า วิปัสสนาภาวนา นั้นเป็นภาษาบาลี ซึ่งเมื่อแปลออกมาก็จะได้ความหมายดังนี้
วิ มาจากคำว่า วิเศษ สิ่งวิเศษในที่นี้คือสิ่งที่ตาคน ตาสัตว์ ตาเทวดา ตาพรหม ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ตาปัญญาสามารถมองเห็นได้ รู้ได้
ปัสสนา มาจากคำว่า ทัศนา แปลว่า ดู เห็น
ภาวนา แปลว่า เจริญ การเจริญในที่นี้หมายถึงการเจริญตาปัญญาเข้าไป ดู เห็น และสังเกต พิจารณา ค้นหาคำตอบจากสิ่งวิเศษต่างๆ ที่มีอยู่ในรูป นาม กาย ใจ สิ่งวิเศษเหล่านั้นคือ ปรมัตถ์ธรรม ความจริงที่แสดงอยู่ในกายใจอันได้แก่ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อายตนะ 12 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ฯลฯ
สรุปว่าวิปัสสนาภาวนา คือการเจริญปัญญา ในปัญญามรรค 2 ข้อแรกของมรรคมีองค์ 8 อันได้แก่
สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง อันมีความหมายถึงการดู จนเห็น จน รู้ ว่า สัพเพธัมมา อนัตตา สรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เมื่อเห็นได้อย่างนี้ สัมมาทิฐิก็จะสมบูรณ์ เต็ม 100 % แต่การจะเห็นจนถูกต้องสมบูรณ์ได้นั้นต้องมีปัญญาอีกตัวหนึ่งมาช่วยคือ
สัมมาสังกัปปะ ความสังเกต คิด พิจารณา ถูกต้อง เป็นปัญญามรรคตัวที่ 2 ที่จะต้องเกิดขึ้นและเป็นไปพร้อมกับและสนับสนุนปัญญามรรคตัวที่ 1 คือ สัมมาทิฐิ เสมอๆ ปัญญาตัวนี้จะทำหน้าที่ สังเกต(ไม่ใช้ความคิด) สิ่งที่ตาปัญญาดู พิจารณา คือคิด วิตก วิจารณ์ วิจัย ใคร่ครวญ แยกแยะหาเหตุหาผล ค้นหาคำตอบ จนเห็นความจริง เป็นสัมมาทิฐิเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับจนเต็มสมบูรณ์ครบ 100 %
สติ สมาธิเล่าไปอยู่ไหน สติ อันเป็นส่วนของศีลมรรค 3 ข้อ และสมาธิ อันเป็นส่วนของสมาธิมรรค 3 ข้อนั้นเขาจะตามมาหนุนปัญญาเองโดยอัตโนมัติ เพราะ ปัญญา สติ สมาธิ นี้เขาเป็นธรรมชาติที่ไปด้วยกัน พร้อมกันสนับสนุนซึ่งกันและกันอยู่เสมอโดยมีสติคอยเตือน ปัญญา เป็นหัวหน้านำไป สมาธิ คอยหนุนให้ปัญญาทำงานสำเร็จ
# 24 / เนินฆ้อ / 11 เม.ย. 2556 เวลา 19:39 น.
การอบรมวิปัสสนาภาวนารุ่นพิเศษ สงกรานต์ 12 - 17 เมษายน 2556
# 25 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:08 น.
มีฝรั่งชาติบราซิล แต่อยู่ในเยอรมัน มาร่วมสังเกตการณ์และปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชาด้วย
# 26 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:11 น.
ทานอาหารไทยมังสวิรัตแล้วบอกว่าชอบมักๆคราบ
# 27 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:15 น.
อีกรูปหนึ่ง
# 28 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:16 น.
นี่ก็อีกรุ่นพิเศษ เป็นรุ่นครอบครัว จากมาเลเซียมาร่วมกับครอบครัวไทย ขอฝึกวิปัสสนาภาวนาศึกษาพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติ 3วันเต็ม 17 - 21 เมย.56
# 29 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:19 น.
มีนักภาวนารุ่นจิ๋วมาด้วยครับ 6 ขวบ อยู่ร่วมภาวนาได้ตลอดคอร์ส โดยไม่โยเย น่ารักมากครับ
# 30 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:23 น.
อีกภาพเมื่อภาวนาจนเหนื่อย
# 31 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:25 น.
เปลี่ยนอิริยาบถ
# 32 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:26 น.
ปฏิบัติรวม
# 33 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:28 น.
ร่วมอร่อยกับอาหารมังสวิรัต
# 34 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:29 น.
ถ่ายรูปร่วมกัน
# 35 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:31 น.
สร้างสรรจินตนาการ
# 36 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:33 น.
กลับบ้านด้วยความสุข
# 37 / เนินฆ้อ / 23 เม.ย. 2556 เวลา 16:35 น.
พระธาตุห้วยบอนเก่า เป็นเจดีย์โบราณ ตั้งอยู่บนเนินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้านห้วยบอน หมู่ที่ 13 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวหมู่บ้านประมาณ 400 เมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอฝางประมาณ 4 กิโลเมตร อายุของเจดีย์ประมาณจากลักษณะของก้อนอิฐที่ใช้ก่อเจดีย์ คาดว่าจะมีอายุประมาณ 700 800 ปี นับถึงปัจจุบัน บนก้อนอิฐบางก้อนมีตัวอักษรจารึกเป็นภาษาล้านนาโบราณสมัยเมืองเชียงแสนเป็นหลักฐานที่เหลืออยู่ ระบุสร้างเมื่อ ปี พ.ศ.1831
สถานที่ตั้งเจดีย์เคยเป็นที่ตั้งของวัดห้วยบอนในสมัยเมื่อเริ่มตั้งหมู่บ้านใหม่ ๆ ประมาณปี พ.ศ. 2400 โดยมีพระครูบาชื่อดังในสมัยนั้นซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เจ้าครู ได้จาริกมาสร้างเป็นวัดขึ้น แต่เนื่องจากสถานที่คับแคบ ต่อมาเจ้าครูได้ย้ายวัดห้วยบอนไปอยู่ที่เนินอีกลูกหนึ่งบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านห้วยบอนในปัจจุบัน และได้บูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์โบราณอีกองค์หนึ่งซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังของเนินดังกล่าว เป็นพระธาตุห้วยบอนใหม่ ซึ่งยังคงสภาพเป็นเจดีย์ให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
พระธาตุห้วยบอนเก่าจึงถูกลืมและทิ้งรกร้างไว้อีกนานจนมีชาวบ้านห้วยบอนมาปลูกทำเป็นสวนไม้ไผ่รวกทิ้งไว้สืบต่อกันมาจนถึงสมัยของผู้ใหญ่บ้านบุญตาน ธรรมเรือง รักษาไว้ จนกระทั้งหลวงพ่อธีได้จาริกเผยแพร่ธรรมมาจำพรรษาที่บ้านห้วยบอน เมื่อวันที่ 29 เดือนมิถุนายน 2545 พ่อหลวงตานหลู่จึงถวายที่ดินบริเวณพระธาตุห้วยบอนเก่าที่เหลืออยู่ประมาณ 1 ไร่ ให้หลวงพ่อได้ใช้เป็นสถานปฏิบัติธรรม เป็นสถานฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน
พระธาตุห้วยบอนเก่า ในปัจจุบัน ศรัทธาญาติโยม ลูกศิษย์ ลูกหา ได้ช่วยกันสร้างศาลา กุฏิ ถวาย ในบรรดาศิษย์ที่มา มีหลายท่านได้มาพบเห็นองค์เจดีย์พระธาตุห้วยบอนเก่าที่พังทรุดโทรมเห็นแต่เนินดินเป็นหลักฐานอยู่ เห็นก้อนอิฐก้อนใหญ่โต จึงมีศรัทธากราบเรียนหลวงพ่อธีขอสมทบทุนเป็นอิฐ ปูน ทรายเพื่อจะบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุห้วยบอนเก่า จึงเกิดความริเริ่มโครงการบูรณะสร้างเป็นเจดีย์ขึ้นมาใหม่โดยจะขุดเอาก้อนอิฐก้อนหิน ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในองค์พระธาตุห้วยบอนมาบรรจุไว้ในเจดีย์องค์ใหม่ทั้งหมด สิ่งที่ขุดพบและได้ออกมาแล้ว มี 1. ผอบเป็นรูปเจดีย์แก้วสันนิษฐานว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พบจมอยู่ใต้ดินทางทิศตะวันตกขององค์เจดีย์ แต่ไม่พบพระบรมสารีริกธาตุ 2. พระพุทธสิหิงค์ 1 องค์หน้าตักประมาณ 5 นิ้ว 3. พระอรหันต์ธาตุจำนวน 6 องค์ บรรจุอยู่ในผอบเงิน พบฝังอยู่ในดินทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์เจดีย์
4. หอยเบี้ย 30-40 ตัว พบอยู่ตรงกลางใต้ฐานพระเจดีย์ซึ่งมีหินเรียงทับอยู่ 1 ชั้น มีอิฐก้อนใหญ่เรียงทับ อยู่ หนา 4 ชั้น คาดว่าจะเป็นฐานกันพัง ตัวเจดีย์ กว้าง ยาว ข้างละ 9 ศอกไม่ทราบความสูง
หลวงพ่อธีจึงได้ให้หาช่างมาออกแบบเจดีย์ ใหม่โดยหลวงพ่อเน้นว่าเจดีย์ที่จะสร้างขึ้นใหม่นี้ จะให้มีความหมายเป็นตัวแทนสังเวชนียสถานที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งสี่แห่ง คือจะสร้างเป็นซุ้มทั้งสี่ด้านของเจดีย์โดย มีภาพปั้น แสดงที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้าไว้ภายใน อันเป็นเหตุของการตั้งชื่อเจดีย์ที่จะสร้างขึ้นใหม่นี่ว่า มหาเจดีย์ สี่ประเทศ
# 38 / เนินฆ้อ / 14 ก.ย. 2556 เวลา 16:01 น.
โพธิปักขิยธรรม
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นกลุ่มของธรรมที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน มากจากคำว่า โพธิ = พุทธิ = พุทธะ = ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเพราะเข้าถึงนิพพานและหมดกิเลส ตัณหา ปักขิยะ = ปีก ธรรม = สภาวะที่เป็นไปตามอำนาจของเหตุและปัจจัย แปลความว่า ปีกธรรม พานำบินเข้าสู่นิพพาน
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการมีหลักจำง่ายๆดังนี้
๓๔ ๒๕ ๑๗ ๑๘ ต้องอ่านว่า "สามสี่ สองห้า หนึ่งเจ็ด หนึ่งแปด"
๓๔ คือ สัมมัปทาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท ๔
๒๕ คือ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
๑๗ คือ โภชงค์ ๗
๑๘ คือ มรรคมีองค์ ๘
๘
สามสี่ ๓ ๔
สัมมัปทาน ๔
๑.ปหานปธาน บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
๒.สังวรปธาน บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
๓.อนุรักขนาปธาน กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
. ๔.ภาวนาปธาน กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด
สติปัฏฐาน ๔
๑.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย
๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
๓.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นจิตในจิต
๔.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
สติปัฏฐานทั้ง ๔ รวมไว้ที่ ปัจจุบันอารมณ์
อิทธิบาท ๔
๑.ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่ ในสิ่งนั้นๆ
๒.วิริยะ ความเพียรพยายามที่จะทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ
๓.จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นเรื่องนั้นไม่ทอดทิ้งธุระ
๔.วิมังสา ความใคร่ครวญ สังเกต พิจารณา หาเหตุหาผลในเรื่องนั้นๆ
# 39 / เนินฆ้อ / 14 ก.ย. 2556 เวลา 16:08 น.