ปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ วันแม่ 9-12 สิงหาคม 2556 ณ ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ

 สุมล   18 มิ.ย. 2556

เชิญร่วมปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ 9-12 สิงหาคม 2556 ณ ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
และเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารและเครื่องดื่ม
สำนักปฏิบัติธรรมปัณฑิตารมย์
๔๒๕/๒ หมู่ ๕ ถนนพระราม ๒ แขวงแสมดำและเขตบางขุนเทียน กทม
ผู้สนใจติดต่อโทร. 089 - 766 - 2373

กุศลเป็นเหตุแห่งบุญ ผลบุญให้โภคทรัพย์เป็นวิบากเป็นผลภายหลัง
ต้องสร้างกุศลอันเป็นเหตุก่อนจึงจะร่ำรวยมีโภคทรัพย์มาก

ปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ
คือการปฏิบัติธรรมด้วยความสุขในธรรมตลอดเวลาการปฏิบัติ
คือการมีปีติสุสุขหรืออุเบกขาในกุศลธรรมตลอดเวลาการปฏิบัติ
เพราะจิตตั้งอยู่ในกองกุศลตลอดเวลา กุศลให้ผลเป็นสุข และอุเบกขาเท่านั้น
คือการปฏิบัติแบบตรัสรู้เร็วพลัน
คือการใช้ปัญญาที่เฉียบคม ดับทั้งกิเลสสังโยชน์ ดับทั้งขันธ์ ด้วยสัญญาเวทยิทนิโรธสมาบัติ

อย่างน้อยผู้เข้าร่วมปฏิบัติจะบรรลุจตุตถฌานภายใน 1 ชั่วโมง
.



พระวิทยากร
      พระอาจารย์เดช จันทูปโม
      พระอาจารย์พรวน อาภัสสโร
      พระอาจารย์ปรีดา ปุญญวัฑฒโก

วิทยากร      อาจารย์ยะมุนี.


ผู้สนใจเป็นเจ้าภาพค่าอาหารและเครื่องดื่ม
โอนเงินร่วมบุญได้ที่
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขา โลตัส พัทยาใต้
ชื่อบัญชี ศูนย์วิจัยชนบท เลขที่บัญชี 533-2-21711-0

ตารางปฏิบัติธรรมประจำปี 2556

24-27 พฤษภาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ วันวิสาขะบูชา

28 มิย.-1 กค. 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ

5-8 กรกฎาคม 2556 ณ ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
12-15 กรกฎาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
19-28 กรกฎาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
26-29 กรกฎาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ

2-5 สิงหาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
9-12 สิงหาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
16-19 สิงหาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
23-26 สิงหาคม 2556 ปัณฑิตารมย์ กรุงเทพ
.


เชิญร่วมปฏิบัติธรรมสร้างมัคคผล ปิดประตูอบาย ตัดอกุศลวิบากกรรมแก่ตนเอง
และเพิ่มบุญบารมีถวายเป็นพุทธบูชา 2600 ปีแห่งการตรัสรู้





ตารางปฏิบัติธรรมประจำวัน

9 สิงหาคม 2556
๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน เข้าที่พัก ทานอาหารเช้า
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. สนทนาธรรมปรับความรู้ความเข้าใจ เหตุ-ผลคืออะไร? วิทยาศาสตร์สอนอะไร? ศาสนาอื่น ๆ สอนอะไร? พระพุทธศาสนาสอนอะไร? พระพุทธศาสนาคืออะไร?
ไม้ในกำมือคืออะไร?
สีสปาสูตร
เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น
เล่มที่ ๑๙
[๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.
พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก
เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.

[๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว
เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบสูตรที่ ๑
Mind Mapเรื่อง ธรรมะคืออะไร?
กุสลา ธมฺมา แปลว่า ธรรมเป็นกุศล
อกุสลา ธมฺมา แปลว่า ธรรมเป็นอกุศล
อพฺยากตา ธมฺมา แปลว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต คือเป็นผลของกุศลธรรม และอกุศลธรรมเหล่านั้น
ความรู้เรื่องจิตและขันธ์ ๕
ขันธ์เหตุ และขันธ์ผล

ปฏิบัติอย่างไรจึงเรียกว่าบุคคลผู้ปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้?
[๓๑] บุคคลผู้ปฏิบัติ เป็นไฉน
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมัคค ๔ ชื่อว่าผู้ปฏิบัติ
บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยผล ๔ ชื่อว่าผู้ตั้งอยู่แล้วในผล

และถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
๑.เจริญมัคคภาวนาอบรมปัญญาเพื่อบรรลุโสดาปัตติมัคค และเจริญสมาธิในฌานสมาบัติ ๘
คนที่ไม่เคยฝึกมาก่อนใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที ก็บรรลุฌานสมาบัติ ๘ แล้วทดลองอธิษฐานให้จิตดับ พร้อมเจริญคาถาธรรมบท
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๑.เจริญปัญญาวิมุติ โดยเจริญอริยสัจ ๔ มีฌาน ๔ เป็นบาท และเจริญเจโตวิมุติ ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที
๒.พัก ๒๐ นาที
3.เจริญปัญญาวิมุติ โดยเจริญอนัตตลักขณสูตรมีฌาน ๔ เป็นบาท
และเจริญปัญญาในความสำเร็จด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน
๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำ
๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.
๑.จิตตกรีฑา ฝึกฌานสมาบัติ ๘ และกสิณ ๘ ฝึก ๑๔ ข้อ เพื่อเจริญอินทรีย์ ๘ มรรค ๘ และพละ ๗ ให้แก่กล้า
๒๑.๐๐-๒๓.๐๐ น. ถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
๒๓.๐๐-๐๔.๓๐ น. นอน


10 สิงหาคม 2556
๐๔.๓๐-๐๕.๐๐ น. ตื่นนอน
๐๕.๐๐-๐๗.๐๐ น.เจริญอานาปานสติมีฌาน ๔ เป็นบาท
๑.เจริญอานาปานสติให้มีผลมากและเจริญอานาปานสติให้เป็นเป็นสติปัฏฐาน ๔
๒.เจริญสติปัฏฐาน ๔ ให้เป็นโพชฌงค์ ๗
๓.เจริญโพชฌงค์ ๗ ให้เป็นวิชชาและวิมุติ
๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.
๑.เจริญสมาธิให้บริบูรณ์เพื่อบรรลุ มัคค ๔ โดยเจริญอริยสัจ ๔ มีฌาน ๔ เป็นบาท
๒.ฝึกวิชชา ๘ ต่อ เพื่อเจริญอินทรีย์ ๘ มรรค ๘ และพละ ๗ ให้แก่กล้า
๓.ความรู้เรื่องปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติ

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๑.อนัตตลักขณสูตรมีฌาน ๔ เป็นบาท
๒.ฝึกปัญญาในความสำเร็จด้วยอำนาจแห่งการอธิษฐาน เป็นญาณลำดับที่ ๕๐ เป็นบาทแก่เจโตวิมุติ
๓.อริยสัจ ๔ โดยย่อ/คำสั่ง/ทางสายกลาง

๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำ
๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.
๑.เจริญปฏิจจสมุปบาทสายเหตุให้เกิดทุกข์มีฌาน ๔ เป็นบาท
๒.เจริญปฏิจจสมุปบาทสายทางเข้าถึงซึ่งความดับทุกข์มีฌาน ๔ เป็นบาท
๓.ฝึกการสำรวมระวังจิตให้หลุดพ้นในอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อทำลายสังโยชน์ให้บางเบา
๒๑.๐๐-๒๓.๐๐ น. สนทนาธรรมเรื่องกลุ่มจิต ทางสายกลางเรื่องมรรคมีองค์ ๘ และถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
๒๓.๐๐-๐๔.๓๐ น. นอน


11 สิงหาคม 2556
๐๔.๓๐-๐๕.๐๐ น. ตื่นนอน
๐๕.๐๐-๐๗.๐๐ น.เจริญเจโตวิมุติ มีฌานสมาบัติ ๘ และกสิณ ๘ เป็นบาท
๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.
๑.เจริญสัมมาสมาธิ และสัมมาสติที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรคให้บริบูรณ์
๒.ฝึกจิตตกรีฑา เพื่อเจโตวิมุติ

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๑.ตั้งกายเอาไว้ในจิต ตั้งจิตเอาไว้ในกาย ... ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา
๒.ไปเที่ยวสวรรค์และพรหมโลกด้วยมโนมยิทธิ

๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็นและอาบน้ำ
๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.
๑.ฝึกการสำรวมระวังจิตให้หลุดพ้นในอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อทำลายสังโยชน์ให้บางเบา
๒.อุปมาต้มยำกุ้งและอาสาวักขยญาณ เหตุและผลที่คล้ายคลึงกัน
๒๑.๐๐-๒๓.๐๐ น. ขันธ์ ๕ เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายใหม่เสมอ มารู้จักขันธ์ ๕ กันใหม่
สนทนาธรรมถาม - ตอบปัญหาต่าง ๆ
๒๓.๐๐-๐๔.๓๐ น. นอน

12 สิงหาคม 2556
๐๔.๓๐-๐๕.๐๐ น. ตื่นนอน
๐๕.๐๐-๐๗.๐๐ น.เจริญอริยสัจ ๔ มีฌานสมาบัติ ๔ เป็นบาท
๐๗.๐๐-๐๙.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า - อาบน้ำ
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.
๑.เจริญสัมมาสมาธิ และสัมมาสติที่เป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรคให้บริบูรณ์
๒.ฝึกจิตตกรีฑา เพื่อเจโตวิมุติ

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.
๑.การปฏิบัติธรรมโดยการให้ศีลพระอริยเจ้า
๒.การปฏิบัติธรรมโดยการให้พร

16.00-18.00 น. กลับบ้าน


สิ่งที่มีบริการให้
1.อาหารและเครื่องดื่ม 3 มื้อ
2.มีห้องนอน - ที่พักให้

รับจำนวนจำกัดเพียงครั้งละ 20 ท่านเท่านั้น
รับรองผลการปฏิบัติว่า .. อย่างน้อยผู้เข้าร่วมปฏิบัติจะบรรลุจตุตถฌานภายใน 1 ชั่วโมง


ผู้สนใจติดต่อโทร. 089 - 766 - 2373..


[๓๕๙] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นยิ่งกว่า และประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
ดูกรพราหมณ์ ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะเป็นไฉน?

ภิกษุในพระศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อม บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ. เพราะเห็นด้วยปัญญาของเธอ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

ดูกรพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.
ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

[๓๖๐] ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิ เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด..

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉันใด ธรรมที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระองค์กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบจูฬสาโรปมสูตร ที่ ๑๐.




การปฏิบัติจริงปฏิบัติตามดังนี้

ปฏิบัติธรรม แบบเจโตวิมุติ ณ ปัณฑิตารมย์ พัทยา

1.เจริญอริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาทบรรลุปัญญาวิมุติก่อน
2.ตั้งกายเอาไว้ในจิต ตั้งจิตเอาไว้ในกาย ...
.. ตั้งไว้ยิ่งซึ่งจิตด้วยอำนาจกาย ตั้งไว้ยิ่งซึ่งกายด้วยอำนาจจิต
3.ก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา
ทำกำลังสมถะ และกำลังวิปัสสนาให้มีกำลังเท่าเทียมกัน
4..เข้าปัจเวก
5.ละนามรูป เข้าสู่ปฐมฌาน
6.เข้าปัจเวก
7.ละปฐมฌาน เข้าสู่ทุติยฌาน
8.เข้าปัจเวก
9.ละทุติยฌาน เข้าสู่ตติยฌาน
10.เข้าปัจเวก
11.ละตติยฌาน เข้าสู่จตุตถฌาน
12.เข้าปัจเวก
13.ละจตุตถฌาน เข้าสู่อากาสานัญจายตนฌาน
14.เข้าปัจเวก
15.ละอากาสานัญจายตนฌาน เข้าสู่วิญญานัญจายตนฌาน
16.เข้าปัจเวก
17.ละวิญญานัญจายตนฌาน เข้าสู่อากิญจัญญายตนฌาน
18.เข้าปัจเวก
19.ละอากิญจัญญายตนฌาน เข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
20.เข้าปัจเวก
21.ละเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
อธิษฐานให้จิตตสังขารดับลงไปตามเวลาที่กำหนด เช่น 10 นาที
22.ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว
อรหัตตผล หรืออนาคามีผล เกิด 1 ขณะจิต
ถ้าบรรลุอรหัตตผล จะเป็นอรหัตตผลพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 และวิชชา 3

ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน บรรลุปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติทุกท่านเทอญ. .


เจริญในธรรมครับ..

DT010325

สุมล

18 มิ.ย. 2556

สนใจจะเข้าร่วมอบรมเจโตฯในวันที่9-12สิงหาคมนี้ด้วย แต่ติดอบรมหลักสูตรครูสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพในวันที่11สิงหาคม2556ต้องเข้าร่วมปฐมนิเทศที่วัดธรรมมงคล สุขุมวิทย์101 กทม.หากผมสนใจจะเข้าอบรมในวันที่2-5สิงหาคม2556 ไม่ทราบว่ามีคนสมัครเต็มแล้วหรือยังครับ โปรดตอบให้ทราบด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง
จาก นายประพันธื ช่วงภูศรี



สถานปฎิบัติธรรม ควรส่งเสริมให้คนมีเมตตา ไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ โดยการไม่กินเนื้อสัตว์



- พระพุทธเจ้าทรงห้ามพุทธบริษัทรับประทานเนื้อสัตว์ หรือไม่
- การรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ งดเว้นจากการรับประทานเนื้อสัตว์
เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่
- การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่ .....

อาหารมังสวิรัติ

ความหมาย
อาหารมังสวิรัติ คือ อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชผัก ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจะงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด

ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคร่ง และ กลุ่มที่ไม่เคร่ง
๑. กลุ่มที่เคร่ง จะกินเฉพาะอาหารที่มาจากพืชเท่านั้น
ไม่กินอาหารที่มาจากสัตว์ คือ ไข่ นม และเนย
๒. กลุ่มที่ไม่เคร่ง จะกินอาหารที่มาจากพืชไม่กินเนื้อสัตว์
แต่กินไข่ นม และเนย

การไม่กินเนื้อสัตว์ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุได้ โดยเฉพาะชาวมังสวิรัติที่เคร่งครัด (ไม่กินนมและไข่) อาจขาดธาตุแคลเซียม วิตามินบี และวิตามินดี ทำให้เกิดโรคบางอย่างได้

อาหารหลัก ๕ หมู่
นักวิทยาศาสตร์ทางอาหาร หรือที่เรียกว่า นักโภชนาการ ได้แยกธาตุอาหารออกเป็น ๕ ประเภท นิยมเรียกกันว่าอาหารหลัก ๕ หมู่ คือ
หมู่ที่ ๑ โปรตีน เป็นสารอาหารที่อยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม และเมล็ดถั่ว อาหารประเภทโปรตีนสร้างความเจริญเติบโตแข็งแรงให้แก่เซลล์ และเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
หมู่ที่ ๒ คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต คือ ให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ ๓ ไขมัน เป็นสารอาหารที่อยู่ในอาหารประเภทไขมัน ซึ่งได้มาจากไขมันสัตว์ และไขมันจากพืช ประโยชน์ของไขมัน คือ ให้พลังงานแก่ร่างกาย ละลายวิตามิน และแทรกอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
หมู่ที่ ๔ เกลือแร่ เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เมล็ดถั่ว และผักใบสีเขียว เกลือแร่ที่สำคัญ เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส ทั้งสองชนิดนี้ร่างกายใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเม็ดโลหิตแดง อาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เครื่องในสัตว์ พวกตับและหัวใจ
หมู่ที่ ๕ วิตามิน เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารประเภทตับ หัวใจ ไข่ น้ำนม และผลไม้บางชนิด ถ้าร่างกายขาดวิตามิน หรือ มีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้ร่างกายผิดปกติขึ้นได้ เช่น ขาดวิตามินบี ๑ ทำให้อ่อนเพลีย และเป็นโรคเหน็บชา ขาดวิตามินดี เป็นโรคกระดูกอ่อน ขาดวิตามินเอ ทำให้ตาพร่ามัว มองไม่ชัดเจนและถึงกับตาบอดได้ ขาดวิตามินซี ทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิด มีอาการเลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม และเกิดโรคโลหิตจาง

การรับประทานอาหารมังสวิรัติ กับ การกินเจ
การรับประทานอาหารมังสวิรัติกับการกินเจ แม้จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน คือ งดเว้นการกินเนื้อสัตว์เหมือนกัน แต่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน คือ
ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็เพราะมีเจตนาจะละเว้นการกินเนื้อสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเบียดเบียนสัตว์ คือ ไม่กินเนื้อสัตว์ เหตุให้ไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อเอามาเป็นอาหาร
แต่การกินเจ เป็นประเพณีของชาวจีน การกินเจ ไม่ใช่งดเว้นเนื้อสัตว์ตลอดเวลานาน แต่งดกินเนื้อสัตว์ชั่วระยะเวลาเทศกาลกินเจเท่านั้น คือ ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๙ ของจีน เป็นเวลา ๙ วัน ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำเดือน ๑๑ ของไทย (แต่เฉพาะในปีที่ปฏิทินจีนมีเดือน ๕ สองครั้ง จะตรงกับ ขึ้น ๑-๙ ค่ำเดือน ๑๒ ไทย) การกินเจมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาพระเจ้าเก้าพระองค์ (เก๊า-ฮ้วง-ฮุดโจ้ว) ซึ่งเป็นเทพเจ้าอยู่บนสวรรค์ ในหนึ่งปีพระเจ้าเก้าพระองค์จะลงมาตรวจดูคนในมนุษยโลกว่าใครทำดีทำชั่ว แล้วจะจดบัญชีไว้ เพราะเจ้าทั้งเก้าจะลงมาในมนุษยโลก ผู้ที่ต้องการให้พระเจ้าทั้งเก้าช่วยเหลือ ก็ต้องรักษาศีลกินเจเป็นเวลา ๙ วันนอกจากไม่กินเนื้อสัตว์แล้ว ยังต้องไม่กินผักที่มีกลิ่นแรงก่อให้เกิดราคะ ๕ ชนิด ที่มีในเมืองไทย ๓ ชนิด คือ หอม กระเทียม และกุยช่าย (อีก ๒ ชนิด คือ หลักเกี๋ย และเฮงกื๋อ ไม่มีในประเทศไทย)
ดังนั้น ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำเดือน ๙ ของจีน คนจีนจึงกินเจ เพื่อทำความดีให้เก๊าฮ้วงฮุดโจ้ว เห็นจะได้จดบันทึก และบันดาลให้มีอายุยืนต่อไป

ทำไมพระมหายานจึงฉันอาหารเจ
พระสงฆ์มหายาน คือ พระจีนและพระญวน มีอุดมคติ หรือจุดหมายสูง
สุดในการปฏิบัติธรรมต่างกับพระสงฆ์เถรวาท
พระสงฆ์เถรวาท คือ พระสงฆ์ไทย ลังกา พม่า ลาว เขมร มีจุดมุ่งหมายสูง
สุดในการปฏิบัติธรรม คือ ทำจิตให้บริสุทธิ์ หมดกิเลส
เป็นพระอรหันต์ หรือเรียกว่า บรรลุนิพพาน
นิพพาน คือ จุดหมายสูงสุด

แต่พระสงฆ์มหายาน ไม่ต้องการบรรลุนิพพานแต่ลำพังตนเอง แต่ต้องการช่วยให้มหาชน บรรลุนิพพานทั้งหมด จึงต้องบำเพ็ญบารมีให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในระหว่างที่บำเพ็ญบารมีอยู่นี้เรียกว่า เป็นพระโพธิสัตว์ คำว่าพระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์จะต้องรักษาศีลเรียกว่า “สิกขาบท พระโพธิสัตว์” เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ปฏิบัติพร้อมกันกับสิกขาบทที่มีมาในพระปาฏิโมกข์ เหมือนกับพระสงฆ์เถรวาท แต่ต้องรักษาศีลสำหรับพระโพธิสัตว์เพิ่มขึ้น ๕๘ ข้อ ในสิกขาบท พระโพธิสัตว์ ๕๘ ข้อนี้ มีบัญญัติว่าห้ามบริโภคโภชนาหารปลาและเนื้อ และห้าบริโภคผักที่มีกลิ่นฉุน ก่อให้เกิดราคะ ๕ อย่าง คือ หอม กระเทียม และกุยช่าย (อีก ๒ ชนิด คือ หลักเกี๋ย และเฮงกื๋อ ไม่มีในประเทศไทย)

พระพุทธเจ้าทรงห้ามพุทธบริษัทรับประทานเนื้อสัตว์ หรือไม่
คำถามนี้ต้องแยกตอบเป็น ๒ พวก คือ
๑. พุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์
๒. พุทธบริษัทที่เป็นบรรพชิต
สำหรับพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์นั้นพระพุทธเจ้าไม่ห้ามการรับประทานอาหารทุกชนิด เพราะชาวบ้านมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างกัน ความเชื่อถือในเรื่องการรับประทานอาหารก็เป็นไปตามตระกูลและวรรณะของตน พระพุทธเจ้าจึงไม่ห้ามชาวบ้านในเรื่องการเลือกอาหาร

แต่สำหรับบรรพชิต คือ ภิกษุ ภิกษุณี และ สามเณรนั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อห้ามไว้ ๒ กรณี คือ
กรณีที่ ๑ ห้ามรับประทานเนื้อ ๑๐ ชนิด คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อสุนัข เนื้องู
การที่พระพุทธเจ้าบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อเสือ ๓ ชนิด แทนที่จะพูดรวมๆ “เนื้อเสือ” เพราะในภาษาบาลี เสือแต่ละชนิด ใช้คำเรียกต่างกัน คือ เสือโคร่ง ใช้คำว่า พยคฺฆมํสํ , เสือดาว ใช้คำว่า ตรจฺฉมํสํ , เสือเหลือง ใช้คำว่า ทีปิมํสํ เนื้อ ๑๐ ชนิดนี้ ถ้าภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ (ที่มา : ฉบับหลวง เล่ม ๕ ข้อ ๕๗ หน้า ๖๙-๗๒)
กรณีที่ ๒ พระพุทธเจ้าห้ามภิกษุฉันเนื้อที่เขาฆ่า เพื่อทำอาหารถวายพระโดยเฉพาะ เรียกในพระวินัยว่า “อุททิสุสมังสะ” แปลว่า เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อถวายภิกษุ ท่านห้ามมิให้ภิกษุฉัน หากภิกษุฉัน ทั้งได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน ต้องอาบัติทุกกฎ

พุทธบัญญัติข้อนี้ มีในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่ม ๕ ข้อ ๘๐ หน้า ๑๐๐-๑๐๑ ดังนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฎ”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลาเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม
คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ”

การรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ งดเว้นจากการรับประทานเนื้อสัตว์ เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่
คำตอบที่ถูกต้อง คือ ไม่ใช่ พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสนับสนุน มิได้ทรงสรรเสริญ มิได้ทรงติเตียน การบริโภคอาหารมังสวิรัติแต่อย่างใด และการบริโภคอาหารมังสวิรัตินั้น ก็มิได้ช่วยให้บรรลุธรรมพิเศษแต่อย่างใด
บางคนยึดถือว่า การบริโภคอาหารมังสวิรัติเป็นสิ่งสำคัญ เป็นข้อปฏิบัติอันประเสริฐ จึงสรรเสริญผู้บริโภค ติเตียนผู้ไม่บริโภค
เคยมีภิกษุสำนักหนึ่ง ติเตียนผู้ที่กินเนื้อสัตว์ว่าเป็นยักษ์มาร ปากที่กินเนื้อสัตว์ เป็นปากของคนใจดำอำมหิต กระเพาะของคนที่กินเนื้อสัตว์เป็นป่าช้า ที่ฝังของเนื้อและปลาทั้งหลาย คำกล่าวอย่างนี้ ความเห็นอย่างนี้เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง คือ มานะ ถือตัว , อติมานะ ดูหมิ่นท่าน , สาเถยยะ โอ้อวด

การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่
การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา
ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย

การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย
มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
“นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต”
“บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”

พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่
ปัญหาเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ นี้ พูดกันถามกันอยู่เสมอ คำตอบที่ถูกต้อง คือ พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ หลักฐานที่จะนำมาอ้างมีในพระไตรปิฎกหลายแห่งที่ยกมาเป็นตัวอย่างเพียง ๒ แห่ง คือ
๑. เรื่องสีหะเสนาบดี ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม ๕ ข้อ ๘๐ หน้า ๙๙
๒. อรรถกถาอามคันธสูตร พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย
เล่ม ๔๗ หน้า ๘๗ และ หน้า ๙๒

เรื่องที่ ๑ สีหะเสนาบดี แห่งแคว้นวัชชี เดิมเป็นสาวกของนครนถ์ (นักบวชเปลือย) ต่อมาได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน จึงเปลี่ยนศาสนามาเป็นอุบาสก และอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์หมู่ใหญ่ไปรับภัตตาหารที่นิเวศน์ของสีหะเสนาบดี ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาแล้ว สีหะเสนาบดีจึงได้สั่งให้มหาดเล็ก ไปซื้อเนื้อสดที่เขาขายในตลาด มาทำภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงเสวยภัตตาหารนั้น

เรื่องที่ ๒ อามคันธสูตร ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้มีพราหมณ์คนหนึ่งอามะคันธะบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ มีบริวาร ๕๐๐ ดาบสเหล่านั้น ออกจากป่าหิมพานต์ไปจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเวลาปีละ ๔ เดือน เป็นประจำชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธามาก ให้การต้อนรับเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
สมัยต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปยังหมู่บ้านแห่งนั้น พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เมื่อชาวบ้านได้เห็นพระพุทธเจ้าก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใสถวายมหาทาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น คนเหล่านั้นบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี บางพวกได้บรรพชาอุปสมบทบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังกรุงสาวัตถี
ต่อมาดาบสเหล่านั้น ได้เข้าไปสู่หมู่บ้านนั้นอีก แต่คราวนี้ชาวบ้านไม่ได้ให้การต้อนรับอย่างโกลาหล เหมือนคราวก่อนๆ ดาบสเหล่านั้นเห็นผิดจากเดิม จึงถามคนเหล่านั้นว่าเพราะอะไรพวกท่านจึงไม่เป็นเช่นคราวก่อน ชาวบ้านได้เรียนให้ดาบสทราบว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนเป็นอันมาก คนทั้งหลายได้บรรลุธรรม เป็นพระอริยบุคคล ชั้นต่างๆ มีพระโสดาบัน เป็นต้น พวกดาบสเมื่อได้ยินคำว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ก็เกิดความปลาบปลื้มปิติยินดีอย่างยิ่ง แต่ยังไม่ค่อยเชื่อว่า จะเป็นพระพุทธเจ้าจริง จึงสอบถามชาวบ้าน ถึงพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า โดยถามว่าพระพุทธเจ้าเสวยอย่างไร ทรงเสวยปลาหรือเนื้อหรือไม่ คนเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสวยปลาและเนื้อ” เมื่ออามะคันธดาบส ได้ฟังดังนั้นก็ไม่ชอบใจ เพราะไม่ตรงกับความคิดของตน เพราะมีความเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้าต้องไม่เสวยปลาและเนื้อ อามะคันธะดาบสพร้อมด้วยดาบสที่เป็นบริวารจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเชตวัน ที่พระนครสาวัตถี และได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าพระองค์เสวยปลาและเนื้อหรือไม่ พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า พระองค์เสวยปลาและเนื้อที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือไม่สงสัย ว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้
อามะคันธะดาบส ได้โต้แย้งกับพระพุทธเจ้าว่าการเสวยปลาและเนื้อไม่เหมาะสมแก่ชาติสกุลของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็ไม่ควรที่จะเสวยปลาและเนื้อ
พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้อามะคันธะดาบสเข้าใจว่า การไม่กินปลา กินเนื้อ ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงความที่บุคคลไม่สามารถจะทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่บริโภคปลาเนื้อเป็นต้น อย่างนี้แล้ว ทรงแสดงพระธรรมที่สามารถจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้ ด้วยหลักธรรม คือ อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ ความเป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ทำให้บางเบา ซึ่งกิเลสทั้งหลายมีราคะและโทสะ เป็นต้น ดำรงอยู่ในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันจะพึงบรรลุได้ด้วย อริยมรรค
อามะคันธะดาบส ครั้นสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็มีใจอ่อนน้อม ถวายบังคมที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบวชพร้อมกับดาบสผู้เป็นบริวารของตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด” ดาบสเหล่านั้นได้เป็นภิกษุด้วยพระวาจานั้น ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ทุกท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์

การรับประทานอาหารมังสวิรัติไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของใคร ?
คำสอนให้งดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ เป็นคำสอนของ พระเทวทัต
พระเทวทัตเป็นราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร เจ้าชายเทวทัต ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายในราชวงศ์ศากยะ ๕ คน มีพระอานนท์ เป็นต้น และมีพนักงานภูษามาลา (ช่างตัดผม) ชื่อ อุบาลี รวมเป็น ๗ คน ออกบวชพร้อมกัน หลังจากออกบวชแล้วเจ้าชายในราชวงศ์ศากยะทั้ง ๕ พระองค์ และพระอุบาลี ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ส่วนพระเทวทัตไม่ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ได้สำเร็จโลกียฌาน มีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ
ต่อมาพระเทวทัต อยากจะมีอำนาจปกครองสงฆ์ จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐิธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า “อย่าเลย ! เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์เลย”
แม้พระพุทธเจ้าทรงห้ามแล้ว พระเทวทัตก็ไม่ฟัง ยังกราบทูลขอปกครองสงฆ์ถึง ๓ ครั้ง แต่พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระเทวทัต เป็นผู้ปกครองสงฆ์
พระเทวทัตโกรธ น้อยใจ จึงคิดจะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง พระเทวทัตเข้าไปหาเจ้าชายอชาตศัตรู ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ยุยงให้เจ้าชายอชาตศัตรูเป็นกบฏ ชิงราชบัลลังก์ โดยกล่าวว่า “ดูก่อนกุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงปลงพระชนม์พระชนกเสีย แล้วเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อาตมาจักปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเป็นพระพุทธเจ้า”

พระเทวทัตวางแผนปลงพระชนม์ พระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ พระเทวทัตขอให้เจ้าชายอชาตศัตรู ส่งทหารแม่นธนูไป พบพระพุทธเจ้าแล้วไม่กล้ายิง พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม ทหารแม่นธนูได้ฟังธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมประกาศตนเป็นอุบาสกแล้วกลับไป
ครั้งที่ ๒ เมื่อแผนการแรกไม่สำเร็จ พระเทวทัตจึงลงมือเอง โดยขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาก้อนใหญ่ลงมาขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ที่เชิงเขา ด้วยจงใจว่าเราเองจักเป็นผู้ปลงพระชนม์พระสมณโคดม แต่ศิลานั้นกลิ้งไปกระทบศิลาก้อนอื่น แตกเป็นสะเก็ด กระเด็นไปกระทบพระบาท (หัวแม่เท้า) ทำให้ห้อพระโลหิต บรรดาภิกษุช่วยกันทำแคร่หามพระองค์ไปยังบ้านหมอชีวก หมอชีวก ทำการรักษาด้วยการพอกยาจนพระโลหิตที่ห้อนั้นหายสนิท
ครั้งที่ ๓ พระเทวทัตไม่ละความพยายามเข้าไปหาควาญช้างหลวง แอบอ้างรับสั่งของพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาพระองค์ใหม่ ให้ปล่อยช้าง นาฬาคิรี ออกไปทำร้ายพระพุทธองค์ขณะเสด็จบิณฑบาต เมื่อช้างแลเห็นพระพุทธองค์ก็ปรี่เข้าไปจะทำร้าย พระอานนท์ออกไปยืนขวางหน้าด้วยความจงรักภักดี ตั้งใจสละชีวิต เพื่อปกป้องพระพุทธองค์ ด้วยอำนาจเมตตาจิต ที่พระศาสดาทรงแผ่เจาะจงยังช้างนาฬาคิรี ทำให้ช้างนั้นเมื่อได้สัมผัสกับกระแสเมตตาจิตของพระพุทธองค์ก็ลดงวงลง เข้าไปหมอบอยู่ต่อหน้าพระพักตร์แล้วกลับไปสู่โรงช้างตามเดิม

ทำสังฆเภท
พระเทวทัต เมื่อพยายามทำร้ายพระพุทธองค์ถึง ๓ ครั้งไม่เป็นผลสำเร็จ จึงใช้อุบายที่จะทำให้สงฆ์แตกแยกกัน พระเทวทัตจะได้แบ่งแยกพระสงฆ์ส่วนหนึ่งไปจากพระพุทธเจ้า
พระเทวทัต กับบริวารของตน เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบท ๕ ประการ โดยอ้างว่าเพื่อความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัดกิเลส การไม่สั่งสม เพื่ออาการที่น่าเลื่อมใส เรื่องที่พระเทวทัตทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทขึ้นใหม่ ๕ ข้อนั้น เรียกว่า วัตถุ ๕ ประการ คือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่รูปนั้น
พึงต้องโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์รูปนั้น
พึงต้องโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น
พึงต้องโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลาย พึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง
รูปนั้นพึงต้องโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น
พึงต้องโทษ

พระศาสดารับสั่งว่า ภิกษุพึงถือเป็นวัตรได้ตามความสมัครใจ ภิกษุรูปใดปรารถนาจะอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจะอยู่บ้าน ก็จงอยู่บ้านรูปใดปรารถนาจะถือบิณฑบาตเป็นวัตร ก็จงถือบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจะรับกิจนิมนต์ก็จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดจะรับผ้าคหบดีจีวร ก็จงรับ เราอนุญาตการอยู่โคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน นอกฤดูฝน ในฤดูฝนต้องอยู่ในที่มุงที่บัง เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อถวายพระ
พระเทวทัต ประกาศให้ประชาชนทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตข้อวัตรที่ตนทูลขอทำให้ประชาชนที่ไร้ปัญญา เข้าใจว่า พระเทวทัตเป็นผู้มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความประพฤติมักมาก
พระเทวทัต ประกาศโฆษณาให้พระภิกษุเห็นด้วยกับ วัตถุ ๕ ประการ โดยอ้างว่าเป็นการปรารถนาความเพียร เพื่อความมักน้อย พระเทวทัตอ้างว่าคำสอนของตนประเสริฐกว่า เคร่งครัดกว่า น่าเลื่อมใสกว่า
พระภิกษุวัชชีบุตร (ชาวเมืองเวสาลี) ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระบวชใหม่ และรู้พระธรรมวินัยน้อย พากันหลงเชื่อ ยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระเทวทัต พระเทวทัตพาภิกษุเหล่านี้ไปอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ เป็นการแยกคณะสงฆ์
พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัต ทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ หลีกไปทางคยาสีสะ
พระเทวทัตเข้าใจว่า พระอัครสาวกทั้งสองตามมา เพราะชอบใจธรรมะของตน จึงนิมนต์ให้นั่ง หลังจากพระเทวทัตแสดงธรรมกถาเป็นเวลานานแล้ว จึงมอบให้พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ แสดงธรรมต่อ โดยกล่าวว่า “ท่านจงแสดงธรรมต่อจากเราเถิด เราเหนื่อยแล้ว จักนอนพัก” จากนั้นก็ล้มตัวลงนอนแล้วหลับไป
พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ แสดงธรรมเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ กลับใจภิกษุเหล่านั้นให้เข้าใจความจริง แล้วพาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นกลับไปอยู่กับพระพุทธเจ้าตามเดิม
พระเทวทัตตื่นขึ้นมา ปรากฏว่าพระภิกษุส่วนใหญ่ตามพระอัครสาวกกลับไปแล้ว คงเหลือพระภิกษุที่ยังอยู่เพียงเล็กน้อย พระเทวทัตเสียใจมาก ล้มป่วยถึง ๙ เดือน ในกาลสุดท้ายสำนึกผิด ต้องการจะไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลขอขมา จึงให้สาวกที่เหลือ นำตนไปเฝ้า เมื่อสาวกนำพระเทวทัตมาใกล้ถึงพระเชตวัน ก็วางคานหามลงริมฝั่งสระโบกขรณี พระเทวทัตลุกขึ้นนั่ง ก้าวลงจากคานหาม พอเท้าทั้งสองถึงพื้นดิน แผ่นดินสูบพระเทวทัตจมลงในพื้นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก ถูกไฟนรกเผา เพราะอนันตริยกรรมที่ตนได้กระทำทั้ง ๒ อย่าง คือ ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกกัน

คำสอนของพระเทวทัตให้งดเว้นจากการรับประทานปลาและเนื้อ หรือที่เราเรียกกันว่ารับประทานอาหารมังสวิรัติก็ยังมีผู้ปฏิบัติตามจนทุกวันนี้ .....
.



 เปิดอ่านหน้านี้  5381 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย