การยอมรับอย่างถ่อมตนว่าฐานคิดของตนเองมีข้อจำกัดและอาจผิดพลาดได้เป็นลักษณะของผู้มีปัญญาและสุจริตแท้


ทุกวันนี้ดูจะมีข้อถกเถียงกันมากมายทั่วโลกในเรื่องสำคัญต่างๆ เยอะแยะเหลือเกิน บ่อยครั้งที่เราไม่มีเวลาหรือแหล่งข้อมูลมากพอจะตัดสินได้อย่างมั่นใจว่า ความจริงอยู่ตรงไหนกันแน่

อย่างไรก็ตาม มีหลักง่ายๆ หลายข้อที่เราสามารถนำไปประเมินได้ว่า คนที่พยายามโน้มน้าวเราในแต่ละเรื่องมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ขอยกมาอธิบายสามข้อดังนี้

๑. เขาแสดงความมั่นใจเต็มร้อยมากเพียงใดว่าเขาถูกต้อง ครูบาอาจารย์ของอาตมาเคยสอนอยู่เสมอว่า นักปราชญ์ไม่เคยลืมความไม่แน่ เราพึงระวังคนที่เชื่ออย่างคลั่งไคล้ในสิ่งที่ตนไม่ได้มีประสบการณ์ตรงหรือไม่ยอมเปิดหูเปิดใจรับฟังข้อโต้แย้งของผู้อื่นเลย การยอมรับอย่างถ่อมตนว่าฐานคิดของตนเองมีข้อจำกัดและอาจผิดพลาดได้เป็นลักษณะของผู้มีปัญญาและสุจริตแท้

๒. เขากล่าวถึงคนที่เขาไม่เห็นด้วยอย่างไร ดูหมิ่นหรือใส่ร้ายคนเหล่านั้นหรือไม่ คนที่เหมาไปว่าใครที่คิดตรงข้ามกับตนต้องเป็นคนเบาปัญญา ถูกคนอื่นล้างสมอง หรือไม่ก็มีกิเลสชักจูง ถือว่าไม่น่าไว้วางใจ การไม่ยอมรับคนที่มีความเชื่อหรือคิดเห็นต่างกันเพราะไม่สามารถเอาใจเขามาใส่ใจตน เป็นข้อบกพร่องในระดับรุนแรง

๓. เขาพยายามชักจูงอารมณ์ให้เราคล้อยตามเขาหรือไม่ ยกตัวอย่าง เขาใช้คำพูดปลุกเร้าตัณหา ความกลัว ความวิตกกังวล หรือความไม่มั่นใจในตัวเราเองหรือไม่ หรือเขากระตุ้นความภาคภูมิใจ อคติ ความสงสาร ความภักดีของเรา เพื่อหนุนความคิดของเขาหรือไม่ หากเป็นดังนั้น เราก็ไม่พึงไว้ใจเขา

ใช่ว่าคนที่ไม่น่าไว้วางใจจะผิดพลาดในเรื่องสำคัญๆ ทุกครั้งไป แต่ส่วนใหญ่ เขาก็มักจะเป็นอย่างนั้น

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ศิษย์ทีมสื่อดิจิทัลฯ

2,960







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย