"การรักษาศีล ต้องสมาทานหรือไม่"


<
 "รักษาศีล ต้องสมาทานหรือไม่"

"การรักษาศีล" ท่านแบ่งไว้ ๔ แบบ คือ

- สมาทานวิรัติ ๑
- เจตนาวิรัติ ๑
- สัมปัตตวิรัติ ๑
- สมุทเฉจวิรัติ ๑

- "สมาทานวิรัติ" หมายถึง "การตั้งสัจจะต่อหน้าพระสงฆ์" กรณีขอศีลจากพระสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าจะงดเว้น ในศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ "เหมาะสำหรับท่านที่ ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง" ต้องการระลึกถึงบ่อย ๆ "คือเอาพระสงฆ์เป็นพยาน"

- "เจตนาวิรัติ" คือ "ตั้งสัจจะกับตัวเอง" ว่าจะรักษาศีลให้ครบถ้วน ให้บริบูรณ์ "เอาตัวเองเป็นพยาน" อย่างนี้ สำหรับผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความมั่นใจสูง มีศรัทธาแก่กล้ามากขึ้น

- "สัมปัตตวิรัติ" หมายถึง ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม แต่เป็นครั้งเป็นคราว ไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น "คนที่เคยยิงนก ตกปลา พอเห็นนกเห็นปลาติดอวนติดแห ก็เกิดความสงสาร จึงปล่อยนกปล่อยปลานั้นไป" อย่างนี้เรียกว่า "ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม"

- "สมุทเฉจวิรัติ" คือศีลของบรรดาท่านพระอริยะเจ้า(ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป) "เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องสมาทาน ไม่ต้องกำหนด" เกิดขึ้นโดยธรรมและสม่ำเสมอ ไม่มีด่างพร้อย ไม่มีเศร้าหมอง คงอยู่ตลอดชีวิต

อนิสงค์ของศีล ที่ว่า "สีเลน สุคติงฺยันฺติ สีเลนโภคสัมปทา" นั้น "เกิดจากการรักษาศีล" ไม่ได้เกิดจากการสมาทานศีล

เหตุนั้น "การรักษาศีล จะสมาทานหรือไม่สมาทาน หากงดเว้นตามข้อห้ามของศีล ก็เรียกว่า ได้บุญได้กุศล ได้อานิสงส์เสมอกัน เพราะที่สุดของศีล คือเจตนางดเว้น" (วิรัติ) ..

    




 6,581 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย