"พยายามฝึกหัดภาวนา" (หลวงตามหาบัว ญาณสมปันโน)

 วิริยะ12  

.
 "พยายามฝึกหัดภาวนา"

" .. คำว่า "ภาวนานั้นมีหลายประเภท" ภาวนาให้จิตใจสงบด้วยบทบริกรรมภาวนาเช่น "พุทโธ" เป็นต้น หรือ "กำหนดอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออก" ให้มีความรู้สึกอยู่กับลม อย่างนี้ก็เรียกว่า "ภาวนา"

คือเอาลมเป็นอารมณ์ของใจ "ทำความรู้สึกไว้กับลมที่ผ่านเข้าออก" เราจะตั้งลมที่ตรงไหน ที่ลมสัมผัสมากกว่าเพื่อนในบรรดาที่ผ่านของลม เช่นดั้งจมูกเป็นต้น "เราก็ทำความรู้สึกไว้กับลมโดยความมีสติ นี่ก็เรียกว่าภาวนาเพื่อความสงบของใจ"

ภาวนาอีกประเภทหนึ่งได้แก่ "ปัญญา" คิดอ่านไตร่ตรอง "ไม่ว่าเรื่องจะสัมผัสมาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจดีชั่วประการใด" พิจารณาเหตุผลใคร่ครวญในสิ่งเหล่านั้นจนได้รับประโยชน์ขึ้นมาจากสิ่งที่เข้ามาสัมผัสทั้งหลาย

นั้นก็เรียกว่าภาวนา "แล้วแต่จริตนิสัยของท่านผู้ใดที่จะชอบในการฝึกฝนอบรม เพื่อผลประโยชน์แก่ตน" การทำเหล่านี้ทำเพื่อเราทั้งนั้น ไม่ได้ทำเพื่อพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทำเพื่อพระธรรม ไม่ได้ทำเพื่อพระสงฆ์องค์ใด

เพราะผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำทั้งหมดนั้น "เราเป็นผู้ก่อเหตุแห่งความดีทั้งหลาย ผลจะพึงเป็นของเราโดยเฉพาะ" ไม่มีท่านผู้ใดจะมาแบ่งสันปันส่วนจากเรา

จึงควรพยายามทำกิจที่ควรทำ "อันจะเกิดผลเกิดประโยชน์แก่ตนทั้งปัจจุบันและอนาคต ไม่ให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์" .. "

(หลวงตามหาบัว ญาณสมปันโน) 
https://luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=2841&CatID=2

5,580







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย