เชิญทำบุญ ทอดกฐิน สร้างโบสถ์ และสร้างพระประธานในอุโสสถ ตามแต่ศรัทธา วัดหนองแวง (หลวงพ่อรวย)

 wathaibee     7 ก.ย. 2554

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี สร้างอุโบสถ หล่อพระประธาน ประจำปี ๒๕๕๔
ณ วัดหนองแวง (หลวงพ่อรวย)
ตำบลทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โทร.๐๘๙-๘๑๕๖-๙๘๕
วันที่ ๒๑-๒๒-๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
..........................................................
เนื่องด้วยวัดหนองแวง ได้สร้างอุโบสถเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ด้วยแรงศรัทธาจากพระสงฆ์ และญาติโยมกรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม ชลบุรี และจังหวัดอื่นๆตลอดทั้งลูกหลานชาวบ้านหนองแวง ที่มาทำงานกรุงเทพฯมีจิตศรัทธาพร้อมใจกันนำกฐินสามัคคี ไปทอดทุกปีที่วัดหนองแวง เพื่อการก่อสร้างถาวรวัตถุมาเป็นลำดับวัตถุประสงค์ในปีนี้เพื่อซื้อกระเบื้องมุ่งหลังคาอุโบสถประมาณ ๘ แสนบาท จึงขอเจริญพร บอกบุญมายังท่านทั้งหลายได้ร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญทอดกฐินสามัคคีตามกำลังศรัทธา หรือรับเป็นเจ้าภาพแต่ละอย่างก็ได้
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ที่ได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีในปีนี้ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยมีหลวงพ่อรวย จงปกป้องคุ้มครองท่านและครอบครัว จงประสบแต่ความสุข เจริญรุ่งเรืองในกิจการงานที่ทำ มีสุขภาพแข็งแรง มั่งมีศรีสุข มีโชค มีลาภ มีเกียรติยศ มีปัจจัยใช้ตลอด นะมามีมา มะหาลาภา นะชาลิติ โสมาเรสา อิติมานัง .

ประธานดำเนินงาน
พระมหาเฉลิมชัย ปภัสสโร (ศรีเมือง)

ผู้ช่วยดำเนินงาน
พระมหาแสน จันทิโม
พระวิชัย สุวโจ พระละเอียด สัททสุวัณโณ พระแพ วชิรธโร
พระวัฒนา ธีรวังโส พระสุนทร ธัมมทีโป
พระกิตติชัย สุจิณโณ คุณมาลีรัตน์ ตั้งประสพทรัพย์ พร้อมคณะ
คุณสมหมาย-กมลรัตน์ วิบูลยานนท์
คุณอภิญญา วิบูลยานนท์
คุณอัฉราวรรณ วิบูลยานนท์
คุณมานะ–คุณสมหมาย เอี่ยมมณฑา คุณประนอม บัวทองคำ
คุณองุ่น กิจสุขกาย คุณสุดใจ หัตถกิจ
ด.ต.อนันต์พงษ์ แก้วนนท์ คุณปิติพันธ์--คุณฐิติพร หลุมทอง
คุณแจ๋ว เขตบางกอกน้อย ร.ผอ. ชนันรัตน์ รัตนพงศ์ทอง
คุณสัมฤทธิ์-คุณสำเนียง บำรุงนา คุณจำรูญ-คุณพะเยาว์ การโภคี คุณนิ่ม-คุณหน่อย- ซ.ประดิษฐ์ผล คุณวัลลดา เจริญทรัพย์
คุณทัศนัย คณิตโต คุณบุญชู-คุณติ๋ม บ้านบุ คุณชื่น-คุณบัว บ้านบุ คุณศิริรัตน์ แป้นทองคำ
คุณวันชัย-สมศรี อ่อนใจ คุณวิสุทธิ์-คุณศุภรากร ยุวนวรรธนะ คุณพรชัย-คุณนพวรรณ ศรีสว่าง คุณอภิศิษฏ์-พรลิ้มสุขะกร คุณอภิญา-คุณอัฉราวรรณ วิบูลยานนท์ พันโทหญิง จันทร์จรัญ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา คุณนิตยา จินดาศรี
คุณจุติกานต์ วิบูลยานนท์ คุณพสธร-รัตนา-จักรพงษ์ ศรีหา คุณรุ่งนภา จรนัย คุณชินวร คำฤาชา และหัวสายทุกๆสาย




อิ่มบุญ สุขใจ หนึ่งปีมีครั้งเดียว เที่ยวทัวร์บุญหากำไรชีวิต
ณ เมืองศรีนครลำดวน ไปแล้วไปอีก ทำบุญแล้วทำอีก บุญก็ได้ ไส้ก็เต็ม ปัจจัยได้สร้างโบสถ์ …(ปีที่
ทอดกฐินสามัคคี เพื่อสมทบทุนซื้อกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ วัดหนองแวง (หลวงพ่อรวย) ต.ทุ่ม อ.เมือง จังหวัดศรีสะเกษ
ระว่างวันที่ ๒๑-๒๒-๒๓ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
********************************
วันศุกร์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- เวลา ๑๘.๓๐ น. รถคันที่ ๑-๒-๓-๔-๕ ปรับอากาศสองชั้น ออกจากวัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพฯ (บริเวณโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม) ซอย จรัญสนิทวงศ์ ๓๒

วันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

หนึ่ง - รับอรุณที่ “ พระมหาธาตุเจดีย์ภูค่าว ” จ.กาฬสินธุ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ทำธุระส่วนตัว ทานข้าวต้ม วัดพุทธนิมิต(ภูค่าว) ตั้งอยู่บ้านนาสีนวล ต. สหัสขันธ์ ห่างจากตัว อ.สหัสขันธ์ประมาณ ๗ กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ตะแคงซ้าย ไม่มีเกตุมาลา ยาวประมาณ ๒ เมตร กว้าง ๕๐ ซม. ได้ขึ้นทะเบียนเป็นปูชนียวัตถุโบราณ โดยกรมศิลปกร ในปี ๒๔๘๔ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ภายในวัดยังมีอุโบสถไม้แบบเปิด แกะสลักลวดลายงดงาม ตามประตู หน้าต่าง
ภูค่าว ใช้งบก่อสร้าง ๓๐๐ กว่าร้อย (2.30 ชม.)

สอง–“พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ” จ. กาฬสินธุ์ ได้ค้นพบซากโครงกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์ ซี่งมีอายุกว่า 150 ล้านปี สถานที่ค้นพบ 3 แห่ง ได้แก่ วัดบ้านนาใคร้ อำเภอกุฉินารายณ์ และที่วัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ ที่เราจะไปชมกัน ได้มีการจัดสร้าง "พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว"ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการค้นพบชิ้นส่วนโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์และมากที่สุดในประเทศไทย (มากกว่า 600 ชิ้น) เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ว่า"พิพิธภัณฑ์สิริธร" ที่พิพิธภัณฑ์นั้น มีหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ของจริง มีสวนไดโนเสาร์ที่ตัวสูงใหญ่จนต้องแหงนคอดู และที่สำคัญ มี ดร. วราวุธ สุธีธร เป็นผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นผู้ขุดค้นซากดึกดำบรรพ์สำคัญๆ มานับไม่ถ้วน และยังได้ใช้นามสกุลมาตั้งชื่อไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบด้วย
นอกจากนี้ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของ วัดสักกะวัน เป็นแหล่งที่ขุดพบ ต้องเดินขึ้นไปบนเขา อยู่ใกล้ๆ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน) พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง กาฬสินธุ์ (2 ชม.)

สาม – ทางผ่านแวะทานข้าว "บึงพลาญชัย" กลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด สี่ – แวะชม“ พระธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ” ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์สมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร ธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23 - 25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงจะแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุ มีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้เป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน เป็นส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5 x 5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือน 5 จะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์และภาชนะเขียนสีแบบบ้านเชียงอีกด้วย (30 น.)

- จากนั้นเดินทางสู่ วัดหนองแวง อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ -รับประทานอาหารเย็น นอนค้างวัด หรือโรงแรม ๑ คืน (ชมการแสดงของเด็กนักเรียน )

วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
- เวลา ๐๖. ๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า
- เวลาประมาณ ๐๗.๐๐ น. ถวายผ้ากฐินสามัคคี บายศรีสู่ขวัญคณะกฐิน

ห้า – แวะชม “ สวรรค์โลกใต้น้ำ แดนมหัศจรรย์ แห่งเดียวในอีสานใต้ ” ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เมืองศรีสะเกษ
(เกาะห้วยน้ำคำ) เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ภายในบริเวณสวน มีปราสาทขอมโบราณเป็นสัญลักษณ์ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 119,700,000 บาท เทศบาลฯได้จัดโซนปลาทะเล ปลาน้ำจืด ปลาสวยงาม โดยมีปลาน้ำจืด 79 ชนิดและปลาน้ำทะเลจำนวน 22 ชนิด และจำนวนปลามีทั้งหมด 4,000 ตัว พร้อมทั้งการจัดแสดงอุทยานไดโนเสาร์โลกล้านปีเป็นบรรยากาศที่แปลกใหม่ พร้อมทั้งอุโมงค์แก้วลอดใต้บ่อปลาที่มีความยาวถึง 24 เมตร ที่จะทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับฝูงปลาที่แหวกว่ายได้อย่างใกล้ชิด แห่งเดียวในเขตอีสานใต้

หก – แวะ “ปราสาทหินเมืองต่ำ” อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ มีลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน อายุ อยู่ในราว พ.ศ. 1550 - 162 มีลักษณะของศิลปะขอมแบบคลังซึ่งมีอายุราว พ.ศ. 1508-1555 ปะปนอยู่ ด้วยภาพสลักส่วนใหญ่เป็นภาพเทพใน ศาสนา ฮินดู จึงอาจกล่าวได้ว่า ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นประมาณ พุทธศตวรรษ ที่ 15-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ปราสาทเมืองต่ำน่าจะเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย เพราะถึงแม้ได้มีการขุดพบศิวลึงค์ แต่ภาพสลักส่วนมากที่ปราสาทนี้ ล้วนเป็นภาพเกี่ยวกับการอวตารของพระนารายณ์ อีกทั้งเป็นปราสาทน้ำล้อม ซึ่งเป็นลักษณะของไวษณพนิกาย ต่างจากปราสาทบนภูเขาของไศวนิกาย ปราสาทเมืองต่ำมีปรางค์ประธานห้าองค์บนฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ โดยแต่ละองค์มีรายละเอียดดังนี้
ปรางค์ประธาน ปรางค์ประธานปัจจุบันได้ถล่มลงมาแล้ว พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย
ปราสาทประกอบ ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้า อยู่ครบ โดยปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารของพระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือหน้ากาล ส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมา ประทับบนโคนนทิในปาง อุมามเหศวร (2 ชม)

เจ็ด - - แวะ “ ตลาดช่อจอม หรือ ย่าโมโคราช และกลางดง ” ซ็อบปิ้งซื้อสินค้าตลาดหน้าเมือง ซื้อของฝาก ฝากแฟนฝากลูกฯ แล้วเดินทางกลับกรุงเทพฯ

หมายเหตุ โปรแกรมทัวร์บุญนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงคณะทัวร์บุญเป็นสำคัญ
(หากมีเวลาจะแวะตามจุดที่ผ่าน )

จากใจ…
พระลูก พระหลาน พระเหลน พระน้อง อาตมาอยากจะพาโยมญาติไปทุกที่ ที่โยมอยากจะไป แต่มีข้อกำกัด เรื่องเวลาเท่านั้น แต่อยากให้โยมญาติทุกคนรู้ว่า ทุกคนอยู่ใจอาตมาเสมอ.


ติดต่อร่วมทำบุญได้ที่

หลวงพ่อสุธีร์ ฐิตสุโภ เจ้าอาวาสวัดหนองแวง โทร. 083-365-89-28

พระมหาเฉลิมชัย ปภัสสโร วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ (ผู้ดำเนินการสร้างอุโบสถ) โทร.089-815-69-85
โทร 024347791 เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง http://www.watnongwang.com


หรือ โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาบางกอกน้อย
ในนาม พระมหาเฉลิมชัย ปภสฺสโร
เลขที่ 115-1-22258-0


ที่มา : กฐินสามัคคี

3,711






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย