วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร


พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2300
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2518


วัดพระแท่นดงรัง วรวิหาร

กาญจนบุรี


วัดพระแท่นดงรัง เป็นพระอารามหลววงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ประดิษฐาน “พระแท่นดงรัง” ลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่ ราบคล้ายเตียง ในสมัยก่อนผู้คนเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน

ต่อมาเมื่อความรู้และข้อเท็จจริงที่ระบุชัดเจนว่าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ในประเทศอินเดีย ลักษณะความเชื่อจึงเป็นการจำลองสถานที่ปรินิพพานไว้แทน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสถานที่จำลองฉากการปรินิพพาน เช่น เขาถวายพระเพลิง จำลองสถานที่ถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธองค์ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 55 เมตร

ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าวัดพระแท่นดงรังก่อสร้างขึ้นเมื่อไร และก่อสร้างขึ้นโดยใคร แต่สันนิษฐานส่าก่อสร้างขึ้นในราวสมัยอยุธยา เนื่องจากมีหลักฐานพระพุทธบาทจำลองไม้สลักประดับมุก ศิลปะช่างหลวงอยุธยาสมัยพระเจ้าบรมโกศ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการกล่าวถึงพระแท่นดงรังปรากฏในนิราศพระแท่นดงรัง ปี 2376 ของสามเณรกลั่นที่เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังพร้อมสุนทรภู่

วัดพระแท่นดงรังได้รับการอุปถัมภ์ในพระบรมวงศานุวงศ์โดยดีมาตลอด นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะวัดขึ้น พระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาลนับจากนั้นล้วนเคยเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระแท่นดงรัง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณยวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีสถานปนาสมเด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515

* สุจิตต์ วงศ์เทศ นักประวัติศาสตร์ เคยให้ความเห็นว่าพระแท่นดงรังมาจากคติการบูชาหินขนาดใหญ่ของคนในสมัยโบราณ เมื่อมีแนวคิดในพระพุทธศาสนาแผ่ขยายเข้ามาจึงทำให้ความเชื่อถูกกล้นและเปลี่ยนไปเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแทน

ปูชนียสถานอันทรงคุณค่าของกาญจนบุรีโดยมีสิ่งที่ควรค่าแก่การเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง คือ พระแท่นดงรัง ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าบรมโกศ โดยพระแท่นดงรังนั้นเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ถือเป็นปูชนียสถานจำลองเครื่องหมายแห่งเหตุการณ์ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ณ สาลวโนทยาน ประเทศอินเดีย โดยลักษณะของพระแท่นบรรทมนั้น เป็นหินแท่งทึบ มีรูปลักษณ์คล้ายแท่นหรือเตียงนอน เดิมทีมีต้นรังอยู่ริมพระแท่นข้างละต้นโน้มยอดเข้าหากันดูแปลกตา นอกจากนี้ภายในวัดมีโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ เช่น บ่อบ้วนพระโอษฐ์ วิหารพระอานนท์ และยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เก็บรวบรวมของโบราณให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ยกวัดพระแท่นดงรังเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมากรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขึ้นทะเบียนพระแท่นดงรังเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2489 โดยครอบคลุมทั้งตัวพระแท่นและขอบเขตเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 5,125 ไร่   

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระแท่นดงรัง , รอยพระพุทธบาท , พระประธานในพระอุโบสถจตุรมุข •

{ พระอุโบสถจตุรมุข }   
{ พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานในพระอุโบสถ }   
{ วิหารพระแท่นดงรัง }   
{ พระแท่นดงรัง }
ปูชนียสถานอันทรงคุณค่าของกาญจนบุรีโดยมีสิ่งที่ควรค่าแก่การเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง คือ พระแท่นดงรัง ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าบรมโกศ โดยพระแท่นดงรังนั้นเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ถือเป็นปูชนียสถานจำลองเครื่องหมายแห่งเหตุการณ์ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ณ สาลวโนทยาน ประเทศอินเดีย โดยลักษณะของพระแท่นบรรทมนั้น เป็นหินแท่งทึบ มีรูปลักษณ์คล้ายแท่นหรือเตียงนอน เดิมทีมีต้นรังอยู่ริมพระแท่นข้างละต้นโน้มยอดเข้าหากันดูแปลกตา    
{ วิหารพระอานนท์ }   
{ รอยพระพุทธบาทไม้ฝังมุก }   
{ มณฑปรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา }   
{ รอยพระพุทธบาทในพระมณฑปบนยอดเขา }   

- เจ้าอาวาส -
• พระราชวิสุทธาภรณ์ (ทองดำ อิฏฺฐาสโภ ป.ธ.๖) •


 10,482


พระอารามหลวงทั่วไทย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย