วิปัสสนา

เรื่องที่ ๘ : ศิลปะในการดำเนินชีวิตด้วยวิปัสสนา ( ๖ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


เมื่อวิญญาณทำหน้าที่รับรู้ว่า มีอะไรมากระทบที่ส่วนไหนของร่างกายสัญญาแยกแยะชนิด ของสิ่งที่มากระทบนั้น ส่วนที่สามของจิต คือเวทนาหรือความรู้สึกก็เกิดขึ้นเป็นความรู้สึก ชอบ หรือไม่ชอบส่วนที่สี่ของจิต คือสังขาร ก็จะเริ่มทำงานหน้าที่ของสังขาร คือทำปฏิกิริยา ปรุงแต่งความรู้สึกนั้น ถ้าเป็นความรู้สึกชอบ ก็จะมีปฏิกิริยาปรุงแต่งเป็นความต้องการ ความ ปรารถนาหรือเป็น ราคะ โลภะ

ถ้าเป็นความรู้สึกไม่ชอบ ก็จะมีปฏิกิริยาปรุงแต่งเป็นความไม่พอใจ คือโทสะ ซึ่งความรู้สึก พอใจ ทำให้เราชอบ เราต้องการอีก ในขณะที่ความรู้สึกไม่พอใจ ทำให้เราไม่ชอบ เราไม่ต้อง การ ด้วยเหตุฉะนี้ ราคะและโทสะ จึงเกิดขึ้นจากส่วนที่สี่ของจิตคือสังขาร ขอให้เข้าใจว่า ปรากฏการณ์ข้างต้นนี้ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นที่ส่วนใด ไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ทุกๆขณะจะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ ที่ทวารทั้ง ๖ นี้อยู่เสมอ และทุกๆ ขณะ วิญญาณก็จะรับรู้ สัญญาจะส่งความจำ เวทนาจะรู้สึก และสังขารก็จะทำปฏิกิริยาปรุงแต่ง ด้วย โลภะ หรือโทสะ แล้วแต่กรณี และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลาตลอดชีวิต ถ้าดูกันอย่าง ผิวเผิน ก็จะดูเหมือนว่า เรามีปฏิกิริยาปรุงแต่งต่อเสียงที่มากระทบ เรามีปฏิกิริยา ปรุงแต่ง ต่อกลิ่น ต่อรส ต่อสัมผัส ต่ออารมณ์ ที่เข้ามากระทบ ด้วยความพอใจ หรือไม่พอใจแต่ความ เป็นจริงแล้ว มิใช่เช่นนั้น พระพุทธองค์ทรงพบว่า เรามีปฏิกิริยาปรุงแต่งต่อความรู้สึก หรือ เวทนาของเราต่างหาก นี่คือสัจธรรมที่ได้ตรัสรู้

สฬายตนะปัจจยา ผัสโส.........อายตนะ ๖ หรือทวาร ๖ เป็นที่รับการกระทบกับสิ่งภายนอกซึ่ง การกระทบนี้ เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะปัจจยา เวทนา (ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา) เพราะเหตุ ที่มีสิ่งมากระทบ ทำให้เกิด ความรู้สึกขึ้นที่ร่างกาย เป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา แล้วตัณหา ก็เกิดขึ้น เวทนา ปัจจยา ตัณหา ( เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา ) เมื่อมีความ รู้สึกพอใจก็ อยากได้ หากรู้สึกไม่พอใจก็โกรธเคือง พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจธรรมอันนี้ เมื่อได้ทรง สำรวจลึกเข้าไปภายในร่างกายของพระองค์ และตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ได้ทรงพบ รากเหง้า ของปัญหา และพบทางแก้ คือการขจัดทุกข์อย่างขุดรากถอนโคนเมื่อท่านปฏิบัติแต่เพียงผิวเผิน ท่านก็เพียงแต่ใช้สติปัญญาของท่าน คิดหาเหตุผล ท่านอาจจะยอมรับว่า ถูกละ เราไม่ควรจะ สร้างความอยาก ไม่ควรสร้างความโกรธเกลียดไม่ควรมีโลภะ ไม่ควรมีโทสะ เพราะเป็นสิ่งไม่ดี และท่านก็อาจจะพยายามเก็บกดความรู้สึกนั้น เมื่อมีความอยากเกิดขึ้น ท่านก็เก็บกดความอยาก นั้นไว้ เมื่อมีความโกรธเกลียดเกิดขึ้นท่านก็เก็บกดมันไว้ แต่ลึกลงไปในใจ ความรู้สึกเหล่านั้นก็ ยังคงอยู่ตลอดเวลา ท่านก็ยังคงมีความอยาก หรือความไม่อยาก ท่านยังไม่หลุดพ้น พระพุทธ องค์ทรงค้นพบหนทางแก้เมื่อไรที่ท่านเกิดมีความรู้สึกขึ้นมา ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ให้ท่านเพียง แต่สังเกตดูมันไป

สมุทยา ธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหรติ
วายา ธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหรติ
สมุทยา วายา ธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหรติ

( ความรู้สึกทุกชนิด เกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ ) เมื่อเราเริ่มรู้สึก ถึงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าความรู้สึกนั้นจะดีหรือร้าย เราก็จะเห็นได้ด้วยตัวเรา เองว่าความ รู้สึกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ไม่ช้าก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นเพียงกระแสสั่นสะเทือนเท่านั้น เกิด แล้วดับ เกิดแล้วดับ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกชนิดใด ยินดีหรือยินร้ายก็มิได้ต่างกัน ล้วนแต่เกิดขึ้น แล้วดับไปเราก็จะได้รู้ถึงสัจธรรม คือความไม่เที่ยงแท้ หรืออนิจจัง




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย