ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง? เราก็ได้ทราบแล้ว เราก็จะชี้ให้ว่า ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น ถ้าเรายึดมั่น มันจะทำ
ให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร เรามาดูตั้งแต่ ขันธ์ข้อแรกกันเลย
๑.รูปขันธ์ คือส่วนที่เป็นร่างกาย ถ้าใจเข้าไปยึดถือว่า เป็นกายของเรา พอกายมีการเปลี่ยนแปลง
หรือทรุดโทรมลงไป ใจก็จะรับไม่ได้ และทำ ให้เกิดทุกข์ขึ้นมา ฉะนั้นท่านจึงบอกว่า การ
เข้าไปยึดมั่นในรูปขันธ์ นี่ก็เป็น ตัวทุกข์อย่างหนึ่ง
๒.วิญญาณขันธ์ คือการรับรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ มีตา มีหู เป็นต้น ตัวนี้ก็ไม่เบา ถ้าเข้าไป
ยึดมั่นเวลากระทบอารมณ์ คือเวลาเห็นรูป เวลาได้ยินเสียง แล้วเกิดความสำคัญมั่นหมาย
ว่า ตัวเราเห็น ตัวเราได้ยิน ถ้าได้เห็น ได้ยิน สิ่งที่ดี ก็เพลิดเพลินพอใจแต่ถ้าได้เห็น ได้ยิน
สิ่งที่ไม่ดี ก็จะเกิดอารมณ์ขัดเคือง ฉะนั้น การเข้าไปยึดมั่นในวิญญาณขันธ์ คือการได้เห็น
การได้ยิน นี่ก็เป็นตัวทุกข์
๓.เวทนาขันธ์ นี่เป็นธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากวิญญาณขันธ์ คือพอกระทบกับอารมณ์
ทางตา ทางหู มันก็จะเกิดความรู้สึก ( ผัสสะ ) อยู่ ๒ ทาง คือชอบ กับ ไม่ชอบ ถ้าชอบ
ก็เกิดสุขเวทนา ถ้าไม่ชอบ ก็เกิดทุกขเวทนาเวลาเกิดเวทนา ทั้งสุข ทั้งทุกข์ อันเป็นผลมา
จากการกระทบกับอารมณ์ภายนอก ถ้าเข้าไปยึดมั่น ว่าความสุขเป็นของเรา ความทุกข์เป็น
ของเรา เวลาสุข หายไปก็ไม่สบายใจ เวลาทุกข์เกิดขึ้นก็รู้สึกอึดอัดอยู่ภายใน ฉะนั้นท่านจึง
บอกว่า การเข้าไป ยึดมั่นในเวทนาขันธ์ นี่ก็เป็นตัวทุกข์อีกอย่างหนึ่ง
๔.สัญญาขันธ์ คือความจำในเรื่องอดีต ที่เคยเห็น เคยได้ยิน ตัวนี้สำคัญมาก ถ้ารู้ไม่เท่าทันก็
จะเข้าไปยึด และจมปลักอยู่กับอารมณ์อดีต นี่แหละคือตัวทุกข์ อย่างสำคัญทีเดียว
๕.สังขารขันธ์ คือความคิดต่างๆ ดีบ้างชั่วบ้างซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความจำ (สัญญาขันธ์
ข้อที่ ๔ ) ตัวนี้เห็นได้ชัดมาก เพราะคนส่วนใหญ่ ที่ทุกข์เรื่องความคิด นี่มีไม่น้อยเลย
สังขารขันธ์ นอกจากเป็นตัวทุกข์อย่างสำคัญแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดของกิเลส ( อารมณ์เศร้า
หมอง ) นานาประการอีกด้วย.
ท่านเห็นหรือยังล่ะครับว่า ขันธ์ ๕ นั้น ถ้าเราไม่เข้าไปยึดมั่น โดยความเป็น ตัวเรา ของเรา
ทุกข์ก็ไม่เกิด แต่ถ้ายึดมั่น ขึ้นมาเมื่อใด ก็ทุกข์เมื่อนั้น.