วิปัสสนา

เรื่องที่ ๒๔ : ๑๑ วันธรรมบรรยาย ( ๑๐ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


หากธรรมะเป็นเพียงคำสอน ที่ให้ละเว้นจากการกระทำที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นเท่านั้นธรรมะ นั้นก็จะไม่ให้ผลเลิศเลออะไรนัก ผลอันเลอค่าของธรรรมะจะต้องสอนให้เราทั้งไม่ทำร้ายผู้อื่น และไม่ทำร้ายตนเองด้วย โดยทั่วไป เราก็เข้าใจกันดีอยู่แล้วถึงผลร้ายที่เกิดจากการทำความชั่ว และผลดีที่จะได้จากการทำความดี และถึงแม้ว่า เราจะเห็นความสำคัญของศีล และเราได้ให้ ความเคารพนับถือแก่ท่านผู้ให้คำอบรมสอนสั่ง แต่บ่อยครั้งที่เราก็ยังประพฤติผิดศีลอยู่ทั้ง นี้เพราะเราขาดสมาธิที่เข้มแข็ง ที่จะควบคุมจิตใจให้อยู่ในศีล ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ หมวดที่ ๒ ของมรรค คือหมวดสมาธิ มาพัฒนาควบคุมจิตใจ ในหมวดของสมาธินั้น ประกอบด้วยอริยมรรค ๓ ประการ คือ สัมมา วายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ซึ่งแต่ละข้อ มีความหมายดังนี้

๔. สัมมาวายามะ คือเพียรชอบ ได้แก่การฝึกอบรมจิต ซึ่งจะทำให้ ท่านเห็นความอ่อนแอ และ ความไม่มั่นคงของจิตที่ชอบเปลี่ยนจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง จิตเช่นนี้ จึงต้องการการ ฝึกหัด ให้มีความเข้มแข็ง การฝึกหัดมี ๔ วิธี คือ
๑. ขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจ
๒. ปิดกั้นมิให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในจิตใจ
๓. รักษาและเพิ่มพูนสิ่งที่ดี ที่มีอยู่ในจิตใจ และ...
๔. เปิดรับสิ่งที่ดี ที่ยังขาดอยู่ เข้าไว้ในจิตใจ

เมื่อท่านได้ฝึกจิต ให้มีสติระลึกรู้ ถึงลมหายใจเข้าออก หรือวิธีการแบบอานาปานสติ ก็เท่ากับ ท่านได้เริ่มต้นฝึกหัดในสิ่งเหล่านี้แล้ว

๕. สัมมมาสติ คือระลึกชอบ ได้แก่ การที่มีความระลึกรู้อยู่แต่กับปัจจุบันสำหรับอดีต เป็นแต่ เพียงความทรงจำ และอนาคตเป็นแต่เพียงความปรารถนาความกลัว และความนึกฝันเท่านั้น ท่านจะเริ่มฝึกสัมมาสติได้ ก็โดยการฝึกตนเองให้รู้สึกถึงสิ่งที่กำลังปรากฏเด่นชัดอยู่ในปัจจุบัน เท่านั้น ภายในขอบเขตอันจำกัดที่บริเวณช่องจมูก ท่านจะต้องรักษาสติให้อยู่กับความเป็นจริง ทั้งหมด ตั้งแต่ความเป็นจริงทั่วๆไป ที่แลเห็นง่าย จนถึงความเป็นจริงขั้นละเอียดที่สุดท่านจะ ต้องเริ่มต้น โดยการสังเกตลมหายใจ.... ลมหายใจที่ท่านตั้งอกตั้งใจหายใจเข้าหายใจออก แล้ว จึงค่อยๆผ่อน มาเป็นลมหายใจที่นุ่มนวลตามธรรมชาติ จากนั้นก็เฝ้าสังเกตดูสัมผัสของลมหาย ใจว่า ลมหายใจที่ผ่านเข้าออกนั้น ไปสัมผัสที่ตรงไหนบ้างต่อมา ท่านก็จะมุ่งความสนใจไปยังสิ่ง ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก นั่นก็คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ภายในขอบเขตบริเวณที่จำกัด ไว้นี้ ซึ่งท่านอาจรู้สึกถึงอุณหภูมิของลมหายใจ ที่ค่อนข้างจะเย็น ในขณะที่ลมหายใจเข้า และ รู้สึกถึงอุณหภูมิของลมหายใจ ที่ค่อนข้างจะอุ่น เมื่อหายใจออก

นอกจากนี้ ก็อาจจะยังมีความรู้สึกอื่นๆ เกิดขึ้นอีกนับไม่ถ้วน ที่ไม่เกี่ยวกับลมหายใจเช่นความ รู้สึกร้อน หนาว คัน เนื้อเต้น สั่นสะเทือน มีอาการเหมือนมีอะไรมากด มีความเครียด มีอาการ ปวดเมื่อย เป็นต้น

ท่านไม่อาจจะเลือกให้เกิดเฉพาะความรู้สึกชนิดใดชนิดหนึ่งได้ เพราะท่านไม่สามารถสร้าง ความรู้สึกเหล่านี้ขึ้นได้เอง ท่านจึงเพียงแต่สังเกตดู โดยมีสติระลึกรู้อยู่เท่านั้นความรู้สึกที่เกิด ขึ้นเหล่านี้ จะเรียกว่าอะไรก็ไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญก็คือการ มีสติระลึกรู้ถึงสภาวะความเป็นจริง ของความรู้สึกเหล่านี้ โดยที่เราไม่ต้องไปปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้นลักษณะนิสัยของจิต ที่คอยแต่จะ นึกไปถึงอนาคต หรือคิดย้อนสู่อดีตอยู่ตลอดเวลานั้นคือตัวการที่ทำให้เกิดโลภะและโทสะขึ้นมา

การฝึกฝนให้มีความระลึกชอบก็เท่ากับ เป็นการทำลายนิสัยนี้ แต่มิใช่ว่าหลังจากการอบรม ครั้งนี้แล้ว ท่านจะลืมอดีตจนหมดสิ้น หรือไม่มีความนึกคิดไปถึงอนาคตก็หาไม่ เพียงแต่ตาม ความเป็นจริงนั้น ท่านมักจะเสียเวลาไปกับการนึกถึงอดีตและอนาคตโดยไม่จำเป็น จนกระทั่ง บางครั้งถึงกับลืมสิ่งที่กำลังจะทำไปเลยการพัฒนาสัมมาสติ จะทำให้ท่านได้เรียนรู้ ถึงการ กำหนดจิตให้มั่นคงอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน และท่านก็จะพบว่า ท่านสามารถจะเรียก อดีตกลับคืนมาได้เมื่อท่านต้องการ และสามารถวางอนาคตให้เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง จะนำความสุขและความไพบูลย์ให้กับชีวิตของท่าน

๖. สัมมาสมาธิ คือตั้งมั่นชอบ ได้แก่ การมีจิตตั้งมั่น แต่จิตตั้งมั่นเพียงอย่างเดียวมิใช่เป้าหมาย ของการฝึกครั้งนี้สมาธิที่ท่านพัฒนาขึ้นมา จะต้องมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานคนเราอาจมีจิต ตั้งมั่นอยู่ในกิเลส เช่น โลภะ โทสะ หรือโมหะ ก็ได้ ซึ่งไม่ใช่สัมมาสมาธิ เราจะต้องตระหนัก ถึงความเป็นจริง ที่กำลังปรากฏอยู่ภายในกายเราโดยไม่มีความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ เมื่อเรา สามารถรักษาความมีสติระลึกรู้ ให้ต่อเนื่องอยู่ทุกขณะได้ จึงจะเรียกว่ามีสัมมาสมาธิ การรักษา ศีล ๕ อย่างเคร่งครัดเท่ากับท่านได้ปฏิบัติในหมวดของศีล และการฝึกฝนจิตให้จดจ่ออยู่แต่ กับความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยไม่ต้องมีอารมณ์พอใจ หรือไม่พอใจ เท่ากับท่านได้เริ่มพัฒนา สมาธิ ขอให้ท่านปฏิบัติด้วยความขยันหมั่นเพียร เพื่อขัดเกลาจิตใจของท่าน เพื่อที่เมื่อท่าน เริ่มฝึกปัญญา ท่านจะสามารถเข้าถึงส่วนลึกของจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต ได้มีโอกาสขจัด กิเลสที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในภวังคจิต แล้วท่านจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการ หลุดพ้นจากความทุกข์




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย