วิปัสสนา

เรื่องที่ ๒๒ : ๑๑ วันธรรมบรรยาย ( ๘ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


ทางสายนี้ เป็นทางสายสากลที่ชนทุกชาติทุกศาสนาจะปฏิบัติได้ ปัญหาจะมีก็แต่เพียง การตี ความหมายในเรื่องของบาปและบุญถ้าแก่นสารของธรรมะถูกเข้าใจผิดไปก็จะกลายเป็นเรื่อง ของลัทธินิกาย เพราะแต่ละนิกายต่างก็จะให้นิยามของคำว่าบาป-บุญไป ต่างๆกัน อย่างเช่น บุญมีลักษระอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบุญคือการทำพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นความ เชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นการตีความหมาย

ตามลัทธิที่คนบางหมู่บางพวกยอมรับนับถือ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับนับถือเช่นเดียวกัน ทั้งหมด ที่จริงนั้น ธรรมะก็ได้ให้คำนิยามที่เป็นสากล สำหรับคำว่าบาปและบุญอยู่แล้ว นั่นคือ พฤติกรรมใดก็ตาม ที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นการรบกวนสันติสุข และความสามัคคีของผู้อื่น พฤติกรรมนั้นล้วนเป็นบาป ตรงกันข้ามกับพฤติกรรมใด ที่เป็นการช่วยเหลือผู้อื่น ส่งเสริมให้ ผู้อื่นมีความสงบสุข และความสามัคคี พฤติกรรมเหล่านี้เป็นบุญ คำนิยามนี้ มิใช่เป็นไปตาม ลัทธิศาสนาใดๆ แต่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติมากกว่า ตามกฎธรรมชาตินั้น คนเราจะไม่ กระทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น หากไม่เกิดกิเลส เช่นเกิดความโกรธ ความกลัว ความเกลียด ชัง ฯลฯ ขึ้นในใจ

เมื่อใดก็ตามที่คนเราเกิดกิเลสขึ้นในใจ คนๆนั้นก็จะเป็นทุกข์เหมือนตกนรกในทำนองเดียว กัน คนเราจะไม่ทำสิ่งใดที่จะเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น หากไม่เกิดความรักความพอใจ หรือความ ปรารถนาดีขึ้นมาก่อน ทันทีที่เราเริ่มพัฒนาคุณภาพจิตให้บริสุทธิ์เราก็จะมีความสงบสุขเกิด ขึ้นในใจ เหมือนกับได้ขึ้นสวรรค์ ดังนั้นเมื่อท่านช่วยผู้อื่น ก็เท่ากับท่านได้ช่วยตัวของท่านเอง ไปด้วยในเวลาเดียวกัน

หรือถ้าท่านทำร้ายผู้อื่น ก็เท่ากับท่านทำร้ายตนเองไปด้วย นี่คือธรรมะ สัจธรรมเป็นกฎสากล ของธรรมชาติ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย