ศาสนพิธี สำหรับ พุทธศาสนิกชน
เรื่อง : ทำบุญเนื่องในงานอวมงคล ๒

ศาสนพิธี สำหรับ พุทธศาสนิกชน
เรื่อง : ทำบุญเนื่องในงานอวมงคล ๒



๔. เมื่อพระสงฆ์สวดหรือเทศน์จบแล้ว เจ้าภาพพึงเก็บสิ่งของเครื่องกีดขวางออกให้หมด จัด สิ่งของที่จะถวายพระ เช่น ดอกไม้ธูปเทียน หรือสิ่งของอย่างอื่น นอกจากผ้าหรือใบปวารณา มาวางไว้ตรงหน้าพระ แล้วบอกญาติพี่น้องช่วยกันประเคน เสร็จแล้วคลี่ผ้าภูษาโยงหรือสายโยง วางราบไปทางหน้าพระสงฆ์ เอาผ้าหรือใบปวารณาแจกญาติพี่น้องนำมาทอดบนผ้าภูษาโยงนั้น ถ้ามีผ้าโดยมากมักเอาใบปวารณากลัดติดกับผ้านั้นรวมกัน การทอดผ้าหรือใบปวารณานี้ ควร ทอดขวางตัดกับผ้าภูษาโยง คือวางขวางบนผ้าภูษาโยงนั้นอย่าทอดไปตามทางยาวดูไม่งาม และ ควรทอดตามลำดับ พระเถระเสร็จแล้วนั่งประณมมือ จนกว่าพระสงฆ์จะพิจารณาบังสุกุลจนจบ แต่บางแห่งนิยมทอดผ้าก่อนถวายของก็มี ในราชการนิยมถวายของก่อน ทอดผ้าภายหลัง ยังถือ ปฎิบัติอยู่ในปัจจุบัน

๕. ถ้าสวดพระพุทธมนต์แล้วฉันเช้า หรือฉันเพลในวันนั้น การถวายสิ่งของและการทอดผ้า บังสุกุล ทำภายหลังจากฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าสวดมนต์เย็นฉันเช้าหรือเพลในวันรุ่งขึ้น และมีผ้าไตรจีวรทอด ก็ควรทอดภายหลังพระสวดจบในเย็นวันนั้น เพื่อให้ท่านนุ่งห่มาฉลอง ศรัทธาในวันรุ่งขึ้นส่วนสิ่งของและใบปวารณานั้น เก็บไว้ถวายและทอดในวันรุ่งขึ้น ภายหลัง จากฉันเสร็จแล้ว

๖. สำหรับรายการพระสวดอภิธรรมตอนกลางคืนหรือพระเทศน์ พระสวดรับเทศน์ ถ้าเจ้าภาพ ประสงค์จะอาราธนาฉันในวันรุ่ขึ้นด้วยก็ได้ แต่สิ่งของและผ้าทอดบังสุกุลควรจัดการถวายและ ทอดให้เสร็จสิ้นในวันนั้น

๗. ในการฌาปนกิจศพ ก่อนที่จะถึงเวลาทำการฌาปนกิจศพเล็กน้อย นิยมมีการทอดผ้ามหาบัง- สุกุล หรือเรียกว่าบังสุกุลปากหีบ ในการเช่นนี้ โดยมากเจ้าภาพนิยมเชิญแขกผู้ใหญ่ที่มีเกียรติขึ้น ทอด และให้แขกผู้มีเกียรติสูงซึ่งจะเป็นผู้จุดเพลิงเป็นคนแรกนั้น เป็นคนทอดหลังสุดให้แขกผู้มี เกียรติรองลงมาทอดก่อน แขกผู้ทอดผ้าบังสุกุลนี้ให้ถือว่าเป็นแขกผู้มีเกียรติ ฉะนั้น ก่อนทอด และหลังทอดแล้ว การทำความเคารพศพทุกครั้ง จะต้องยืนคอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์ขึ้นไป พิจารณา

ขณะที่พระสงฆ์กำลังพิจารณาอยู่นั้น ก็ควรประณมมือขึ้น การทอดไตรจีวรก่อนเผาศพนั้น ไม่ ควรมีมากเกินไป เพราะจะทำให้แขกที่มาร่วมในงานนั่งคอยนาน ควรใช้ประมาณ ๓ ไตรกำลัง พอดี



ศาสนพิธี : สำหรับพุทธศาสนิกชน




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย