"ทำความสงบใจอย่างไร" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

 วิริยะ12  

 "ทำความสงบใจอย่างไร"

" .. คือปกติใจนั้นไม่สงบ "เวลาจะนอนมันก็ยังคิดยังปรุงไปตามกระแสของกิเลสที่ฉุดลากไป ให้ได้รับความกังวลวุ่นวายอยู่นั้นแล" เราให้สงบอารมณ์เหล่านั้นเสีย "แล้วนำอารมณ์แห่งธรรมซึ่งเป็นอารมณ์น้ำดับไฟ คือความรุ่มร้อนของกิเลสให้เย็นลงด้วยคำบริกรรม" เช่น "เราบริกรรมพุทโธ ๆ หรือธัมโม หรือสังโฆ" บทใดก็ได้ที่เราชอบใจตามจริตนิสัยของเรา

นำเข้ามาบริกรรมจิตใจของเรา "นึกคำว่า พุทโธ ๆ มีสติกำกับอยู่กับคำว่า พุทโธ ๆ นั้นตลอดไป" สำรวมใจไม่ให้กิเลสฉุดลากออกไปคิดในแง่ต่าง ๆ นอกจากอรรถจากธรรมที่เราบริกรรมอยู่นี้เท่านั้น เราสำรวมระวังไว้ให้ดี

เมื่อเราสำรวมระวังไว้ด้วยดี โดยมีสติควบคุมอยู่เสมอแล้ว "จิตใจของเราที่เคยคิดฟุ้งซ่านรำคาญนั้นจะค่อยสงบตัวเข้ามา" สงบตัวเข้ามาสู่ตัวเองแล้วปรากฏเป็นความสงบผ่องใส รื่นเริงขึ้นที่ใจของเรา ด้วยธรรมซึ่งเป็นน้ำดับไฟ ที่เราบริกรรมอยู่นี้ไปเรื่อย ๆ

นี่เรียกว่า "น้ำดับไฟคือคำบริกรรม ดับความคิดปรุง" ความเดือดร้อนทั้งหลาย กลายเป็นใจที่สงบเย็นขึ้นมาภายในตัวของเรา "นี่คือภาวนาได้ผล" คนที่มีการภาวนาจิตใจสงบลงแล้ว ตื่นขึ้นมาวันหลังนี้ มีความประหวัดมีความปฏิพัทธ์ยินดีในความสงบร่มเย็นจากผลแห่งการภาวนาของตนไม่ลดละ

แม้จะไปประกอบหน้าที่การงานใด ๆ ก็ตาม จิตย่อมประหวัด ๆ มาถึงการภาวนาที่ได้ผลเป็นที่พอใจอยู่โดยสม่ำเสมอ "นี่คืออารมณ์ที่ถูกต้องดีงามแก่จิตใจ" .. "

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1757&CatID=2

5,545







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย