ปฏิบัติธรรมแบบเจโตวิมุติ ณ ปัณฑิตารมย์ สระบุรี เริ่มต้นปฏิบัติธรรมกันอย่างไร ??(ตอนที่ 11)

 มหาราชันย์   2 ต.ค. 2563

... เริ่มต้นปฏิบัติธรรมกันอย่างไร ?? (ตอนที่ 11)
...
ผู้สนใจศึารษาเรียนรู้ โทร. 089 - 766 - 2373
E-Mail : karagetu@hotmail.com
ID Line : karagetu
...
อาหารจานที่ 1 การคบ “สัปบุรุษ”
อาหารจานที่ 2 การฟัง “พระสัทธรรม” (ต่อ...จากตอนที่แล้ว ... การสร้างใจ)
... ใจเป็นอายตนะภายในอันยอดเยี่ยม ที่ประกอบด้วยปัญญาญาณทั้งหลาย
... สัมผัสอายตนะภายนอก อันเป็น “พระสัทธรรม”
...
บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้สีเหลือง,
บุรุษแห่งพระยายม (คือความตาย) ปรากฏแก่ท่านแล้ว.
ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม,
อนึ่ง แม้เสบียงทางของท่าน ก็ยังไม่มี.
ท่านนั้น จงรีบพยายามทำที่พึ่งแก่ตน,
จงเป็นบัณฑิต กำจัดกิเลสเพียงดังเนิน
ท่านจักเข้าสู่อริยภูมิอันเป็นทิพย์
...
... หวังว่า AI (สัตตานัง) ของท่านทั้งหลายคงจะยอดเยี่ยม หาแก่น (Core) ในพระคาถาเจอกันแล้วนะครับ
... ง่ายขึ้นแล้วใช่ไหมครับ ??
... เราเป็นสัตว์ หรือสัตตานัง
แก่น (Core) ในพระคาถาบทนี้อยู่ตรงไหน ??
... แก่น (Core) ในพระคาถา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางไว้ให้ ก็ตรงกับแก่น (Core) ของเราอันเป็นสัตตานัง เช่นกันนั่งเอง ก็คือ คำว่า “ท่าน”
... คำว่า “ท่าน” ทรงหมายถึง AI คือสัตตานัง นั่นเอง
... เมื่อเจอแก่น (Core) แล้ว เราก็สาวต่อไปเพื่อแตกไฟล์บีบอัด (Exact File) ออกมาเป็นความรู้ให้พร้อมใช้งานได้กันต่อไป
...
... ในทางโลก เมื่อ AI หาแก่น (Core) เจอแล้ว มันก็จะทำการอ่านปัจจัยที่สัมพันธ์กับแก่น (Core) นั้นซ้ำ ๆ แล้วแยกหมวดหมู่เป็นกอง ๆ ให้ถูกต้อง พร้อมใช้งาน ...ฉันใด
... ในทางธรรมก็เช่นกัน ปัญญาญาณใน AI คือสัตตานัง เมื่อเจอแก่น (Core) แล้ว มันก็จะอ่านความสัมพันธ์ระหว่างแก่น (Core) และองค์ธรรมต่าง ๆ แล้วแยกหมวดหมู่เป็นกอง ๆ ให้ถูกต้องตามสัจจะ พร้อมใช้งาน ...ฉันนั้น เหมือนกัน
...
...จากพระคาถาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยความเป็นอนาคามีมัคคจิต พระองค์ทรงวางความสัมพันธ์แห่งกองธรรมเอาไว้ 4 หมวดหมู่ ดังนี้
...
บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้สีเหลือง,
บุรุษแห่งพระยายม (คือความตาย) ปรากฏแก่ท่านแล้ว.
ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม, ......... ข้อความช่วงนี้จัดเป็นทุกข์อริยสัจ ...(1)
...
อนึ่ง แม้เสบียงทางของท่าน ก็ยังไม่มี. ....... ข้อความนี้มุ่งไปที่คำว่า “เสบียง”
คำว่า “เสบียง” ในที่นี้หมายถึงองค์ธรรมที่เป็นโลกุตตรกุศลธรรมเพื่อความเป็นอนาคามีมัคคจิต
ถ้าไม่มี “เสบียง” .... ก็จะเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ ...(2)
แต่ถ้ามี “เสบียง” .... ก็จะเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ...(4)
ข้อความนี้จะมี 2 ความสัมพันธ์ อยู่ในข้อความเดียวกัน
...
ท่านนั้น จงรีบพยายามทำที่พึ่งแก่ตน,
จงเป็นบัณฑิต กำจัดกิเลสเพียงดังเนิน
ท่านจักเข้าสู่อริยภูมิอันเป็นทิพย์ .......... ข้อความนี้บ่งบอกความสำเร็จ คือ “อนาคามีผล” มีแต่พระอนาคามีเท่านั้นที่จะไปสู่อริยภูมิอันเป็นทิพย์ คือพรหมโลกชั้นสุทธาวาส อันเป็นพรหมของพระอนาคามีเท่านั้น ...จัดเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ ...(3)
...วงเล็บ ...(1) ...(2) ...(3) และ...(4) ทางธรรมเราเรียกการแตกไฟล์บีบอัด (Exact File) นี้ว่า ... “อัตถะ(อรรถ)”
....รายละเอียดย่อยที่ประกอบใน ... “อัตถะ(อรรถ)” นั้นเรียกว่า “พยัญชนะ”
....รายละเอียดย่อยที่ประกอบใน ... “พยัญชนะ” นั้นเรียกว่า “อนุพยัญชนะ”
...
ลำดับต่อไปเราก็เอาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งใน “อัตถะ(อรรถ)” ,หรือ “พยัญชนะ” และ/หรือ“อนุพยัญชนะ” นั้น ๆ มาเป็นแก่น (Core) แล้วแตกไฟล์บีบอัด (Exact File) นั้นเป็น “อัตถะ(อรรถ)” , “พยัญชนะ” และ“อนุพยัญชนะ” สืบต่อไปเรื่อย ๆ เป็นอันมาก
... เราก็จะได้ความรู้ที่เป็น “อายตนะภายนอก” ...เชื่อมโยงกันเป็น Mind Map ที่ยุ่งเหยิง แต่เรียงตัวกันเป็นระเบียบที่แน่นอนตรงกับสัจจะเป็นอย่างยิ่ง ...
...สภาวะแห่งธรรมจึงเป็นสุดยอดแห่งความยุ่งเหยิง สลับซับซ้อน เบาและประณีตอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุปมาเสมือนขนดด้ายที่ยุ่ง หรือหญ้ามุงกระต่ายที่ดกหนา ยากที่จะแก้ได้ในคราวเดียว
...จึงต้องอาศัย AI อันเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ขาวรอบ ตั้งมั่น มีอำนาจ อ่อน และควรแก่การงาน เท่านั้น มากำหนดจดจำ มาจำแนกแยกแยะ มาสร้างองค์ความรู้ มาประมวลผล ...
นี่จึงเป็นเหตุผลที่จิตมนุษย์ธรรมดา ๆ ไม่อาจเข้าใจพระสัทธรรม เพราะขีดความสามารถในการจดจำมีจำกัด แตกไฟล์ (Exact File)ได้หน่อยก็ง่วง ก็ฟุ้งซ่าน หลงลืมกันไปแล้ว
...นอกจากนี้ก็ต้องอาศัย AI อันเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ขาวรอบ ตั้งมั่น มีอำนาจ อ่อน และควรแก่การงาน นั้นนั่นแหละมาทานอาหารจานที่ 2 คือ “การฟังพระสัทธรรม”
...
...ท่านทราบกันไหมว่า การทานอาหารจานที่ 2 “การฟังพระสัทธรรม” มีวิธีรับประทานกันอย่างไร ??
...ทานไปแล้วเป็นคุณหรือเป็นโทษอย่างไรบ้าง ??
...
สวัสดียามเที่ยงครับ
ขอให้ทุกท่านจงรุ่งเรืองและยั่งยืน
   

DT09714

มหาราชันย์

2 ต.ค. 2563
 เปิดอ่านหน้านี้  5765 

  แสดงความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย