ผู้มีปัญญาในการสื่อสาร ผู้ไม่ยอมพูดเท็จเป็นอันขาด ย่อมกลายเป็นที่ยอมรับ ที่ไว้ใจ และที่เคารพนับถือของคนรอบข้าง คำพูดของคนผู้นี้มีน้ำหนัก




การยอมพูดเท็จในบางกรณีที่อ้างว่าจำเป็นหรือสมควร แม้แต่ในเรื่องที่ฟังเผินๆ ชวนรู้สึกว่าไม่น่าจะผิด เช่น การพูดเท็จเพื่อไม่ให้เขาเสียใจ ย่อมมีโทษทุกครั้ง ในทำนองเดียวกันการงดเว้นจากการพูดเท็จย่อมเกิดผลดีทุกครั้ง

๑. พูดเท็จแล้ว สัจจะบารมีไม่เจริญ เราจะตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ในสัจจะได้ ก็เมื่อเราฝึกพูดความจริงในทุกๆ สถานการณ์โดยไม่มียกเว้น ไม่มีกรณีพิเศษ การตั้งมั่นอยู่ในสัจจะคือความสุข และเป็นฆราวาสธรรมข้อแรก

๒. การยอมพูดเท็จในบางกรณีย่อมเปิดช่องให้กิเลสครอบงำได้ เช่น อ้างว่าจำเป็นเมื่อไม่จำเป็นจริงๆ ที่จริงเป็นการพูดเท็จเพราะเขินหรืออายบ้าง หรือเพราะกลัวเขาโกรธ หรือเพราะความอยากได้ เพราะกลัวพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ เพราะขี้เกียจอธิบาย เป็นต้น กิเลสหลายตัวเพิ่มขึ้นเพราะการไม่สำรวมวาจา

๓. การไม่ยอมพูดเท็จเป็นอันขาด บังคับให้ฉลาดในการสื่อสาร เช่น ทำให้ต้องหาคำพูดที่ได้ผลทั้งสองฝ่าย คือ เขาไม่เสียใจ เราไม่ผิดศีล

๔. ผู้มีปัญญาในการสื่อสาร ผู้ไม่ยอมพูดเท็จเป็นอันขาด ย่อมกลายเป็นที่ยอมรับ ที่ไว้ใจ และที่เคารพนับถือของคนรอบข้าง คำพูดของคนผู้นี้มีน้ำหนัก

พระอาจารย์ชยสาโร   




 167 


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย