พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ตระบัด - ตักบาตรเทโว

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ตระบัด - ตักบาตรเทโว

ตระบัด ยืมของเขาไปแล้วเอาเสีย เช่นขอยืมของไปใช้แล้วไม่ส่งคืน กู้หนี้ไปแล้วไม่ส่งต้นทุนและดอกเบี้ย

ตระหนี่ เหนียว, เหนียวแน่น, ไม่อยากให้ง่ายๆ, ขี้เหนียว (มัจฉริยะ)

ตรัสรู้ รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ตรุษ นักษัตรฤกษ์เมื่อเวลาสิ้นปี

ต้อง ถูก, ถึง, ประสบ (ในคำว่า “ต้องอาบัติ” คือ ถึงความละเมิด หรือมีความผิดสถานนั้น ๆ คล้ายในคำว่า ต้องหาต้อง
ขัง ต้องโทษ ต้องคดี)

ต่อตาม พูดเกี่ยงราคาในเรื่องซื้อขาย, พูดเกี่ยงผลประโยชน์ในการทำความตกลงกัน

ต่อหนังสือค่ำ วิธีที่ใช้สอนให้จำ ในยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ โดยอาจารย์สอนให้ว่าทีละคำหรือทีละวรรค ศิษย์ก็ว่า
ตามว่าซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้จำได้ เมื่อศิษย์จำได้แล้ว อาจารย์ก็สอนต่อไป ทุก ๆ วัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความ
สามารถของศิษย์ นี่เรียกว่าต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่าต่อหนังสือค่ำ

ตะเบ็งมาน เป็นชื่อวิธีห่มผ้าของหญิงอย่างหนึ่ง คือ เอาผ้าโอบหลังสอดรักแร้สองข้างออกมาข้างหน้า ชักชายไขว้กัน
ขึ้นพาดบ่าปกลงไปเหน็บไว้ที่ผ้าโอบหลัง

ตะโพน เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีหนังสองหน้า ตรงกลางป่อง ริม ๒ ข้างสอบลง

ตักบาตรเทโว ดู เทโวโรหณะ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย