พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด อปโลกนกรรม - อภยคิริวิหาร

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


อปโลกนกรรม - อภยคิริวิหาร

อปโลกนกรรม กรรมคือการบอกเล่า, กรรมอันทำด้วยการบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้ง ญัตติ คือคำเผดียงไม่ต้องสวด อนุสาวนา คือประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์ เช่นประกาศลงพรหมทัณฑ์ นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นต้น

อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิด มี ๓ คือ ๑. อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ ๒. โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๓. ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน

อปัสเสนธรรม ธรรมเป็นที่พึ่งที่พำนักดุจพนักพิงมี ๔ คือ ๑. ของอย่างหนึ่งพิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัยสี่ ๒. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ ๓. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นเสีย เช่นสุราเมรัย การพนัน คนพาล ๔. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว บรรเทาเสีย เช่น อกุศลวิตกต่าง ๆ

อปายโกศล ดู โกศล ๓

อปุญญาภิสังขาร สภาที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (ข้อ ๒ ในอภิสังขาร ๓)

อพยาบาท ความไม่คิดร้าย, ไม่พยาบาทปองร้ายเขา, มีเมตตา (ข้อ ๙ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

อพยาบาทวิตก ความตรึกในทางไม่พยาบาท, การคิดแผ่เมตตาแก่ผู้อื่นปรารถนาให้เขามีความสุข (ข้อ ๒ ในกุศลวิตก ๓)

อพัทธสีมา “แดนที่ไม่ได้ถูก” หมายถึงเขตชุมนุมสงฆ์ที่สงฆ์ไม่ได้กำหนดขึ้นเอง แต่ถือเอาตามเขตที่เขาได้กำหนดไว้ตามปรกติของบ้านเมือง หรือมีบัญญัติอย่างอื่นเป็นเครื่องกำหนด แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. คามสีมา หรือ นิคมสีมา ๒. สัตตัพภันตรสมา ๓. อุทกุกเขป

อภยคิริวิหาร ชื่อวัดที่พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ได้สร้างถวายพระติสสเถระในเกาะลังกา ซึ่งได้กลายเป็นเหตุให้สงฆ์ลังกาแตกแยกกัน แบ่งเป็นคณะมหาวิหารเดิมฝ่ายหนึ่ง คณะอภยคิริวิหารฝ่ายหนึ่ง; มักเรียก อภัยคีรี




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย