พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด อภัพ - อภิณหปัจจเวกขณ์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


อภัพ - อภิณหปัจจเวกขณ์

อภัพ ไม่ควร, ไม่อาจ, ไม่สามารถ, เป็นไปไม่ได้

อภัพบุคคล บุคคลผู้ไม่สมควร, มีความหมายตามข้อความแวดล้อม เช่น คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้ คนที่ขาดคุณสมบัติ ไม่อาจให้อุปสมบทได้ เป็นต้น

อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย

อภิชฌา โลกอยากได้ของเขา, ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น (ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

อภิชฌาวิสมโลภ ละโมบไม่สม่ำเสมอ, ความโลภอย่างแรงกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรไม่ควร (ข้อ ๑ ในอุปกิเลส ๑๖)

อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
๒. ทิพพโสต หูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,
๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตร อภิญญา

อภิญญาเทสิตธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

อภิฐาน ฐานะอย่างหนัก, ความผิดสถานหนัก มี ๖ อย่าง คือ
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาตฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต
๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๖. อัญญสัตถุทเทส ถือศาสดาอื่น

อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ
๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒. ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บไข้ไปได้
๓. ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕. ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว;

อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
(ข้อ ๑ ท่านเติมท้ายว่าอาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๗ ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย