พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก หัวข้อธรรม การปฏิบัติธรรม ศาสนพิธี วันสำคัญทางศาสนา ทำเนียบวัดไทย พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
 
หน้าแรก พระพุทธศาสนา

ศาสนาคืออะไร ?
พระพุทธศาสนา
ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา
ประวัติพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้า ในสายตานักปราชญ์โลก
พระพุทธประวัติ
พระไตรปิฏก
ประวัติพระพุทธสาวก
นิกายสำคัญ
ทศชาติชาดก
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
คลิ๊กอ่าน...
คลิ๊กอ่าน ทศชาติชาดก
คลิ๊กอ่าน...

พระพุทธเจ้าในสายตานักปราชญ์โลก

มนุษย์มหัศจรรย์

   พระองค์ทรงเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง ไม่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า หรือภาวะเหนือธรรมชาติอื่นใด พระองค์เองมิใช่ทั้งพระเจ้า องค์อวตารของพระเจ้า หรือองค์ในเทพนิยายใด ๆ พระองค์ทรงเป็นเพียงมนุษย์แต่เป็นมนุษย์ที่ยอดเยี่ยม มนุษย์มหัศจรรย์ พระองค์อยู่ภาวะมนุษย์ธรรมดาในภายใน แม้จะดำรงชีพอยู่มนุษย์สามัญในภายนอก เพราะเหตุผลนี้ พระองค์จึงได้รับการขนานพระนามว่า มนุษย์ผู้มีเอกลักษณ์พิเศษ บุรุษผู้สูงสุด พระพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

พระปิยทัสสีมหาเถร ใน " พระพุทธศาสนาอมฤตเทศนา"

ยิ่งรู้จักยิ่งรักมาก

   เฟาส์โฟล กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์มากขึ้นเท่าไร ก็รักพระองค์มากขึ้นเท่านั้น ส่วนพุทธสาวกผู้ต่ำต้อยของพระองค์ขอกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักพระองค์มากขึ้นเท่าไร ก็รักพระองค์มากขึ้นเท่านั้น และข้าพเจ้ารักพระองค์มากขึ้นเท่าไร ก็รู้จักพระองค์มากขึ้นเท่านั้น

พระนารท มหาเถร ใน "พระพุทธศาสนาโดยสังเขป"

มหาสักการะแต่พระพุทธเจ้า

   พระพุทธเจ้าอาจได้รับการชี้วัดได้ง่าย ๆ ว่า ได้แก่ผู้ที่ได้รับการสักการะบูชาจากมวลมนุษย์จำนวนมากที่สุด

ศาสตราจารย์ เสานเดอรส์ เลขานุการสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ. อินเดีย พม่า ศรีลังกา

พระพุทธเจ้า คือสมบัติของมนุษยชาติทั้งมวล

   พระพุทธเจ้า มิใช่สมบัติของชาวพุทธเท่านั้น แต่เป็นสมบัติของมนุษยชาติทั้งมวล พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ก็เป็นสมบัติร่วมของทุกคน ทุกศาสนาที่เกิดหลังพระพุทธองค์ ต่างก็ได้ยืมเอาแนวความคิดดี ๆ ไปจากพระพุทธเจ้าทั้งนั้นิ

นักปราชญ์มุสลิม

พระพุทธเจ้าอุปมาด้วยนายแพทย์

   พระพุทธเจ้าเป็นเสมือนนายแพทย์ เช่นคุณหมอที่ต้องทราบอาการของโรคต่าง ๆ รวมทั้งสมุฏฐานของใคร แม้ยาแก้และวิธีการเยี่ยวยา และสามารถประยุกต์ใช้ได้ด้วย ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้น เหมือนกัน ทรงแสดงอริยสัจ 4 ซึ่งชี้ถึงขอบเขตแห่งความทุกข์ เหตุเกิดแห่งความทุกข์ ความดับทุกข์และมรรค หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์

ดร. เอ็ดเวิร์ด คอนซ์ ใน "พระพุทธศาสนา"

บิดาผู้ชาญฉลาด

   พระพุทธเจ้า คือ บิดา ผู้เมื่อเห็นบุตรของท่านกำลังเล่นกับไฟโลกีย์อยู่ จึงใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อนำพวกเขาออกไปให้พ้นบ้านที่กำลังถูกไฟไหม้ และพาไปสู่สถานที่ปลอดภัย คือ พระนิพพาน

ศาสตราจารย์ พี. ลักษมี นราสุ ใน " สารัตถะของพระพุทธศาสนา"

พระพุทธเจ้าคือ วิถีชีวิต

   ข้าพเจ้ารู้สึกมากขึ้น ๆ ตามลำดับว่า พระพุทธเจ้าศากยมุนีนั้น โดยบุคคลิกภาพแล้ว ทรงประทับอยู่
ไกล้ชิดกับข้าพเจ้าที่สุด โดยความรักที่มีต่อพระองค์แล้ว พระพุทธเจ้าทรงเป็นทั้งมรรควิถี สัจธรรมความจริง และชีวิต

บิชอพ มิลแมน

สมองเหตุผลกับกมลเมตตา

   ด้วยความสงบเย็น ณ ภายในและพระเมตตาต่อสรรพสัตว์ ที่พระพุทธองค์ทรงมีอยู่อย่างเปี่ยมล้นนั้น พระองค์จึงไม่เคยตรัสถึงบาปดั้งเดิมเลย ตรัสถึงเพียงแต่อวิชชาคือ ความไม่รู้ความจริง และความโง่งมงาย ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยความรู้แจ้ง และความเห็นอกเห็นใจกัน

ดร. เอส. ราธกฤษณัน, ใน "พระโคดมพุทธเจ้า"

- ย้อนกลับ + หน้าถัดไป


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย