จิตกับกาย : ท่านพ่อลี ธัมมธโร

 จำปาพร  

 พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

...


การทำสมาธิต้องตั้งจิตของเราให้เที่ยง ตรงแน่วอยู่กับลมหายใจ
เหมือนนายพรานที่เล็งธนู จะต้องเล็งให้แม่นจึงจะยิงได้ตรงถูกจุดหมาย

การยกจิตออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอก
นั่นมิใช่เป็นวิธีที่ถูกของการทำสมาธิ


การที่เรารักษาลมหายใจไว้ด้วยความมีสตินี้
เหมือนกับเราได้รักษาความเป็นอยู่ของเราไว้ได้ทั้ง ๓ วัย
คือ
เมื่อเป็นเด็กก็รักษาความเจริญของวัยเด็กไว้
เมื่อเติบโตขึ้นก็รักษาความเจริญของความเป็นผู้ใหญ่ไว้
และเมื่อแก่ก็รักษาความเจริญของวัยชราไว้อีก

ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์
ทำอย่างนี้ให้ติดต่อไม่ขาดระยะ ตลอดวัน คือ ทุกอิริยาบถ

คนเรามีแต่อยากเกิด แต่ไม่มีใครอยากตาย
พระพุทธเจ้าไม่มีอยากเกิดและก็ไม่มีอยากตาย
ถ้าพระองค์เห็นว่า พระองค์อยู่มีค่ามีประโยชน์ก็ควรอยู่
ถ้าอยู่ไร้ค่าไม่มีประโยชน์ก็ควรตายเสีย
แต่คนเรานั้นมีแต่อยากเกิดท่าเดียว

เหมือนกับแม่ค้าที่นั่งขายของอยู่ในตลาด
ขายอยู่ ๓ วันไม่ได้อะไรเลยก็ยังจะทนนั่งขายอยู่อย่างนี้
มันจะไปได้ประโยชน์อะไร

อัตภาพร่างกายเปรียบเหมือนกับม้า ถ้าเราขี่ม้าตาย
มันก็จะพาเราไปถึงจุดหมายที่ต้องการไม่ได้
จึงควรต้องรักษากายเรานี้ไว้ให้ดี

ถ้าจิตดี กายไม่ดี ก็ใช้การไม่ได้
กายดี จิตไม่ดีก็ไม่ได้ผลอีก
ต้องให้ดีพร้อมกันเป็น "สามัคคีธาตุ"
จิตกับกายต้องเข้ากันเป็น "มัคคสมังคี"
ความทะเลาะวิวาทจึงจะไม่มีขึ้น


...

คัดลอกเนื้อหาจาก
หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน, พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.
โดยชมรมกัลยาณธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒. หน้า ๓๐-๓๑. 

5,595







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย