พระคุณของพระพุทธเจ้า (บทภะคะวาและอะระหัง) : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

 จำปาพร  

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

...

อะไรที่ระลึกบุญคุณของพระพุทธเจ้า ที่ท่านพรรณนามันก็กว้างขวางมาก
แล้วแต่ “ปัญญา” ของแต่ละบุคคล ถ้าปัญญามากพิจารณามันก็ลึกซึ้งลงไป
ถ้าปัญญาน้อยพิจารณาก็ตื้น มันแล้วแต่ปัญญา
ถ้าหากเราได้คิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว
มันเป็นที่น่าอัศจรรย์และเลื่อมใส คุณของพระองค์เป็นของลึกซึ้ง
เรามองตามจนไม่ถึงเลย เท่าที่ปัญญาของเรามองเห็นก็เป็นของลึกพออยู่แล้ว

สิ่งใดที่เป็นของลึกซึ้งละเอียดเราพิจารณาตามไม่ทัน
สิ่งนั้นเป็น “ของเลิศประเสริฐยิ่งกว่าเรา” เรากราบไหว้บูชาอย่างถนัดใจ
อย่างเต็มอกเต็มใจจริงๆ อย่างย่อๆท่านย่อว่าเพียง ๙ บท
คือว่า อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ , อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ,

“ภะคะวา” อันว่า “พระผู้มีพระภาค” บทหนึ่ง ภะคะวา
คำว่าพระผู้มีพระภาคในที่นี้คือว่า พระองค์เป็นผู้เบิกบาน
จิตใจกว้างขวางเบิกบาน จึงเรียกว่า เป็น ภะคะวา
เป็นผู้เบิกบาน ภะคะวา พระผู้มีพระภาคนั้นคือ “ผู้มีส่วน” เป็นผู้มีส่วน
คำว่า “ส่วน” ในที่นี้หมายความถึงว่า พระพุทธเจ้าองค์ใดก็ช่างเถอะ
ที่ตรัสรู้มาแล้วนับไม่ถ้วน พระพุทธเจ้าของเราก็มีส่วนได้เป็นพระพุทธเจ้า
เหมือนกันกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นแหละ
จึงว่าเป็น “ผู้มีส่วน” เป็นผู้มีพระภาค เป็นผู้มีส่วน


“อะระหัง” เป็นผู้ไกลจากกิเลส บทที่ ๒ คำว่าไกลจากกิเลสนั้น
ไม่ใช่ว่าหนีจากกิเลส คือ “กิเลสมันไม่เข้าซาบซึ้งถึงจิตใจ”
ไม่เหมือนปุถุชนคนหนาธรรมดา กิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
มันจะอยู่กับ “จิต” นั่นแหล่ะ โลภ โกรธ หลงไม่มีที่อื่นหรอก
ครั้นพอดีมันมีสิ่งยั่วยวนชวนให้ปรากฏก็ปรากฏขึ้นมา
ปกติมันมีไหมความโลภ โกรธ หลง ถ้าอยู่อย่างนี้มันไม่มี
ถ้าพอดีมีคนใดมาว่าผิดใจเท่านั้นล่ะ หรือคนใดมาตีเข้าถูกศีรษะเจ็บ
มันโกรธขึ้นมา มันไม่ได้มาจากอื่นหรอกมันอยู่ที่นั่นล่ะ
นี่ธรรมดาปุถุชนคนธรรมดา มันปรากฏขึ้นมา มันไม่ไกลเด้นี่
มันไม่เป็นพระอรหันต์ “ไม่ไกลจากกิเลส” มันอยู่กับกิเลส
กิเลสนั่นนานๆเข้าตัวของเราหรือกลายเป็นตัวกิเลสด้วยกัน
เป็นตัวของเรา เลยแยกกันออกไม่ได้

คือ “อะระหัง” พระพุทธเจ้าท่านไกลจากกิเลส มันไม่เป็นอย่างนั้น
นิสัยสันดานของพระองค์ไม่มีเจือเลย ถึงเขาจะว่า
ได้ยินอยู่เขาจะว่าร้ายว่าดี หรือเขาจะตีให้เจ็บให้ปวด
ก็เจ็บก็ปวดอยู่แต่ “จิต” ไม่โกรธ “จิต” นะไม่อิจฉาริษยา และอาฆาตพยาบาท

5,542







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย