วัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร


พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2370
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2370


วัดอัปสรสวรรค์ วรวิหาร

กรุงเทพมหานคร


ตั้งอยู่ที่แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ สามารถเดินทางโดยเรือล่องมาตามคลองบางกอกใหญ่ เดิมชื่อ วัดหมู มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3

วัดอัปสรสวรรค์วรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ชื่อเดิมคือวัดหมู เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ สมัยอยุธยา ตามตำนานเล่ากันว่าจีนอู๋เป็นผู้สร้างบนที่ดินที่เคยใช้เลี้ยงหมูมาก่อน เมื่อสร้างเสร็จ มีหมูมาเดินเพ่นพ่านอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดหมู ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงบูรณปฏิสังขรณขึ้นใหม่อีกครั้ง และพระราชทานนามว่า วัดอัปสรสวรรค์ โดยได้พระราชทานพระพุทธรูป ปางฉันสมอ หรือ "หลวงพ่อสมอ" ให้เป็นพระประธานและประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางฉันสมอเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแบบจีน พระหัตถ์ซ้ายถือผลสมอ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นสง่า เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวนครหลวงพระบาง และเวียงจันทร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาจากเมืองเวียงจันทร์ เดิมที่ประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระนาก ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากบูรณปฏิสังขรณ์วัดอัปสรสวรรค์ จึงพระราชทานหลวงพ่อฉันสมอมาประดิษฐานที่วัดนี้จนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างของพระอุโบสถและพระวิหาร ยังคงเดิมตามศิลปะจีน โดยเลียนแบบวัดราชโอรสฯ เมื่อเข้าไปภายในพระอุโบสถ มีพระประธานจำนวน 28 องค์ เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย ซึ่งมีความเหมือนและมีขนาดเท่ากันทั้งหมด ประดิษฐานอยู่บนชุกชีด้วยกัน พระพุทธรูปเหล่านี้มีพระนามจารึกไว้ที่หน้าฐานทั้ง 28 องค์ ได้แก่ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระมังคละ พระสุมนะ และ พระโคดม เป็นต้น

อีกทั้งยังมีหอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา เปิดให้นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจเข้าไปชมความงดงามได้ทุกวัน

ที่ตั้ง : แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ สามารถเดินทางโดยเรือล่องมาตาม คลองบางกอกใหญ่

เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 07.30-17.30 น.   

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางมารวิชัย จำนวน 28 องค์ •

{ พระอุโบสถ }
พระอุโบสถและพระวิหารยังคงเดิมตามศิลปะจีนหลังได้รับการปฏิสังขรณ์ โดยเลียนแบบวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร    
{ พระพุทธรูป 28 องค์ }
ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยขนาดเท่ากันจำนวน 28 องค์ ประดิษฐานอยู่บนชุกชีด้วยกัน พระพุทธรูปเหล่านี้มีพระนามจารึกไว้ที่หน้าฐานทั้ง 28 องค์ ได้แก่ พระพุทธตัณหังกร พระพุทธเมธังกร พระพุทธสรณังกร พระพุทธทีปังกร พระพุทธโกณฑัญญะ พระพุทธสุมังคละ พระพุทธสุมนะ พระพุทธเรวตะ พระพุทธโสภิตะ พระพุทธอโนมทัสสี พระพุทธปทุมะ พระพุทธนารทะ พระพุทธปทุมุตตระ พระพุทธสุเมธะ พระพุทธสุชาตะ พระพุทธปิยทัสสี พระพุทธอัตถทัสสี พระพุทธธรรมทัสสี พระพุทธสิทธัตถะ พระพุทธติสสะ พระพุทธปุสสะ พระพุทธวิปัสสี พระพุทธสิขี พระพุทธเวสสภู พระพุทธกกุสันธะ พระพุทธโกนาคมนะ พระพุทธกัสสปะ และพระพุทธโคตมะ   
{ พระวิหาร }   
{ พระพุทธรูปปางมารวิชัย }
พระประธานและประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร   
{ หลวงพ่อสมอ }
พระพุทธรูปปางฉันสมอเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแบบจีน พระหัตถ์ซ้ายถือผลสมอเป็นพระพุทธรูปที่งดงามเป็นสง่า   
{ หอพระไตรปิฎก }
เป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่กลางน้ำ   

 10,472


พระอารามหลวงทั่วไทย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย