วัดกษัตราธิราช วรวิหาร


พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2200
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2330


วัดกษัตราธิราช วรวิหาร

พระนครศรีอยุธยา


"วัดกษัตราธิราชวรวิหาร" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณ ปรากฏหลักฐานพบว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดกษัตรา หรือ กษัตราราม หรือ กษัตราวาส ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ใครเป็นผู้สร้าง แต่ชื่อของวัดทำให้สันนิษฐานว่า คงเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ทรงสร้าง วัดนี้จึงมีชื่อว่า วัดกษัตรา ซึ่งหมายความว่าเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ หรือวัดของพระเจ้าแผ่นดิน มีปรากฏในแผ่นดินสมเด็จพระสุริยามรินทร์ ว่า แรม 14 ค่ำ เดือน 5 พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดราชพฤกษ์และวัดกษัตราวาส ยิงเข้ามาในพระนคร ถูกบ้านเรือนราษฎรล้มตายจำนวนมาก วัดนี้คงถูกทำลายเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาจึงถูกทิ้งร้างเรื่อยมา

ครั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) กรมพระราชบวรสถานภิมุข (กรมพระราชวังหลัง) ได้บูรณะวัดกษัตรา และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วัดกษัตราธิราช" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ต้นราชสกุลอิศรางกูร ได้ปฏิสังขรณ์พระอาราม ในปี พ.ศ.2349 ให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา เป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 9 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดกษัตราธิราชเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2520 ปัจจุบัน มีพระญาณไตรโลก (สุชาติ ฐานิสสะโร) เป็นเจ้าอาวาส นับได้ว่าเป็นวัดที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายในพระอุโบสถวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธกษัตราธิราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ขนาดองค์พระสูง 2.99 เมตร ฐานกว้าง 2.09 เมตร ตั้งอยู่บนฐานชุกชี ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ใบหน้าลักษณะรูปสี่เหลี่ยม เม็ดพระศกมีขนาดเล็ก เหนือจากพระอุษณีษะ คือ เกตุมาลาทำเป็นรัศมีเปลว องค์พระครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวจรดพระนาภีปลายแยกออกเป็นเขี้ยวตะขาบ ต่อมามีการลงรักปิดทองประดับอย่างงดงาม ส่วนกลางฐานชุกชี ทำเป็นผ้าทิพย์ปั้นเป็นลายประเภทราชวัตร ประดับประจำยาม ปั้นเป็นลายก้านขดมีการออกลายเป็นสัตว์หิมพานต์ ด้านล่างปั้นเป็นลายกรวยเชิง ลักษณะคล้ายกับผ้าทิพย์

สำหรับพระอุโบสถที่พระประธานประดิษฐานอยู่ มีขนาด 9 ห้อง กว้าง 22 เมตร ยาว 46 เมตร ผนังก่ออิฐเจาะช่องแสงแบบเสาลูกมะหวด ด้านหน้าพระอุโบสถมีบันไดขึ้น 2 ทาง ช่องกลางก่อเป็นซุ้มบัญชร ช่องหน้าต่าง ด้านหลังมีมุขเด็จ ทำเป็นบันไดขึ้น 3 ทาง ที่ประตูกลางของมุขเด็จ ด้านหลังก่อเป็นซุ้มกั้นห้องประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ปางป่าเลไลยก์ ส่วนหลังคาพระอุโบสถช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ประกอบด้วยเครื่องไม้หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบู หรือกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา หน้าบันทั้ง 2 ด้าน จำหลักลายดอกพุดตาน มีสาหร่ายรวงผึ้งคั่นสลับระหว่างเสา ลงรักปิดทองประดับกระจก มีคันทวย รองรับระหว่างชายคา ที่แกละสลักอย่างงดงาม สืบทอดรูปแบบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา

ภายในพระอุโบสถเสากลมมีบัวที่หัวเสาเป็นแบบดอกบัวตูมจำนวน 6 คู่ รองรับเครื่องบน เพดานเขียนลายทองเป็นลายราชวัตร ดอกกลมและพุ่มข้าวบิณฑ์ สลับกันเป็นระยะบนพื้นสีแดง เพดานสลับไม้ลงรักปิดทองพื้นภายในพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลีที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธัมมสิริโชติ) อดีตเจ้าอาวาส เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หลังจากการก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ   

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระประธานในพระอุโบสถ, พระประธานในพระวิหาร •

{ พระประธานในพระวิหาร }   
{ พระอุโบสถ }
มีขนาด 9 ห้อง กว้าง 22 เมตร ยาว 46 เมตร ผนังก่ออิฐเจาะช่องแสงแบบเสาลูกมะหวด ด้านหน้าพระอุโบสถมีบันไดขึ้น 2 ทาง ช่องกลางก่อเป็นซุ้มบัญชร ช่องหน้าต่าง ด้านหลังมีมุขเด็จ ทำเป็นบันไดขึ้น 3 ทาง ที่ประตูกลางของมุขเด็จ ด้านหลังก่อเป็นซุ้มกั้นห้องประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ปางป่าเลไลยก์ ส่วนหลังคาพระอุโบสถช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ประกอบด้วยเครื่องไม้หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบู หรือกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา หน้าบันทั้ง 2 ด้าน จำหลักลายดอกพุดตาน มีสาหร่ายรวงผึ้งคั่นสลับระหว่างเสา ลงรักปิดทองประดับกระจก มีคันทวย รองรับระหว่างชายคา ที่แกละสลักอย่างงดงาม สืบทอดรูปแบบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา

ภายในพระอุโบสถเสากลมมีบัวที่หัวเสาเป็นแบบดอกบัวตูมจำนวน 6 คู่ รองรับเครื่องบน เพดานเขียนลายทองเป็นลายราชวัตร ดอกกลมและพุ่มข้าวบิณฑ์ สลับกันเป็นระยะบนพื้นสีแดง เพดานสลับไม้ลงรักปิดทองพื้นภายในพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลีที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแด่พระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง ธัมมสิริโชติ) อดีตเจ้าอาวาส เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หลังจากการก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ   
{ พระวิหาร }   
{ พระพุทธกษัตราธิราช }
ภายในพระอุโบสถวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธกษัตราธิราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม ขนาดองค์พระสูง 2.99 เมตร ฐานกว้าง 2.09 เมตร ตั้งอยู่บนฐานชุกชี ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ใบหน้าลักษณะรูปสี่เหลี่ยม เม็ดพระศกมีขนาดเล็ก เหนือจากพระอุษณีษะ คือ เกตุมาลาทำเป็นรัศมีเปลว องค์พระครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา ชายจีวรยาวจรดพระนาภีปลายแยกออกเป็นเขี้ยวตะขาบ ต่อมามีการลงรักปิดทองประดับอย่างงดงาม ส่วนกลางฐานชุกชี ทำเป็นผ้าทิพย์ปั้นเป็นลายประเภทราชวัตร ประดับประจำยาม ปั้นเป็นลายก้านขดมีการออกลายเป็นสัตว์หิมพานต์ ด้านล่างปั้นเป็นลายกรวยเชิง ลักษณะคล้ายกับผ้าทิพย์   
{ พระปรางค์ }   
พระวิหารอีก 2 ด้าน เป็นที่ตั้งรูปหล่อสมเด็จพระพนรัตน์ซึ่งมีอยู่ที่วัดนี้แห่งเดียวเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อแก่ และยังมีรูปหล่อของหลวงปู่เทียมอดีตเจ้าอาวาสพระเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านตะกรุดอยู่ยงคงกระพันและเมตตา จัดว่าเป็นอารามหลวงที่งดงามซึ่งจะมาศึกษางานศิลป์ชั้นสูงหรือสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังประจำจังหวัด   
{ พระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ }
ความเป็นมาของปางห้ามพยาธิ
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงย่างพระบาทสู่พื้นดินนครเวสาลี ทรงรำลึกถึงพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่อดีตชาติ ทันใดนั้น มหาเมฆเริ่มตั้งเค้า สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ฝนกระหน่ำลงมา บังเกิดสายน้ำพัดพาซากศพมนุษย์และสิ่งปฏิกูลทั้งหลายออกสู่ทะเล เมื่อฝนหยุด พื้นแผ่นดินก็สะอาด ปราศจากสิ่งปฏิกูลอากาศที่ร้อนก็พลันเย็นลง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์สวดพระปริตรรัตนสูตร และปะพรมน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ตลอดราตรี บรรดาภูติผีปีศาจตกใจกลัวพุทธานุภาพพากันหนีไปจนหมดสิ้น มหาชนทั้งหลายเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาต่างเกิดศรัทธา พากันประกาศตนเป็นพุทธมามกะ   
{ วัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามเจดีย์พระศรีสุริโยทัย }   

- เจ้าอาวาส -
• พระเทพวัชรจริยาจารย์ (สุชาติ ฐานิสฺสโร) •


 10,465


พระอารามหลวงทั่วไทย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย