ศีล
โดย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์

เรื่องที่ ๓๗ : มีศีล ต้องมีธรรม


บางท่านอาจจะคิดว่า การที่เรารักษาศีลให้บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว แค่นี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะเราได้ชื่อว่าเป็นคนดีแล้วไม่ใช่หรือ ? ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ท่านได้เคยตอบไว้ว่า

"ถูกแล้ว การรักษาศีล เป็นการทำความดี แต่เป็นเพียงความดีขั้นต้น คือดี ที่เป็นคนไม่ทำ ความชั่วเท่านั้นเอง

ถ้าหยุดอยู่เพียงเท่านี้อาจเสียได้ ยกตัวอย่าง คนเว้นจากฆ่าสัตว์ ซึ่งเรายอมรับกันว่าเป็นคนมี ศีล ถ้าคนๆนี้เดินเล่นไปตามริมคลอง เห็นเด็กตกน้ำ กำลังจะจมน้ำ ตาย ถ้าจะช่วยเขาก็ช่วยได้ แต่ไม่ช่วย กลับยืนกอดอกดูเฉยๆ ถือว่าตัวไม่ได้ฆ่า ศีลบริสุทธิ์อยู่ ตามตัว อย่างนี้ ท่านจะเห็น เป็นประการใด ?

คนทั้งโลกต้องลงความเห็นว่า แกเป็นคนไม่ดี เพราะคนดีจริง จะต้องรู้จักเว้นจากฆ่าคน ด้วย และรู้จักช่วยชีวิตคนด้วย การเว้นจากฆ่า นั่นเป็นการรักษาศีลการช่วยชีวิตเขา นี่เป็น การปฏิบัติธรรม บางท่านที่ช่างคิด จะคิดว่า ตามตัวอย่างข้างบนนี้ ผมไปเอาความเห็นของ คนอื่น (ชาวโลก ) มาตัดสิน ดีชั่วทางธรรม ถ้าเกิดคนพวกนั้น แกเป็นมหาโจร ทั้งนั้น อยาก เห็นคน ตกน้ำตายอยู่แล้ว จะว่าอย่างไร คนที่เพิกเฉยในการช่วยชีวิต ก็จะมิกลายเป็นดีของ พวกนั้นหรือ หรือในบางกาล ที่ไม่มีคนพบเห็นการ เพิกเฉย ของเราเลย ไม่มีใครจะติ แล้ว เราจะเสียหายหรือไม่ ?

อ๋อ แน่นอนที่สุด ที่ยกคนอื่นมาประกอบตัวอย่างนั้น เพียงวาดแนวทางให้คิด และเห็นได้ ง่ายๆเท่านั้น ความจริง จุดเสียหายจริงๆ อยู่ในจิตใจของผู้นั้น ขณะที่เขา ยืนดูคนตกน้ำเฉย อยู่นั้น จิตของเขาต้องหยาบลง ต่ำลง อย่างเห็นได้ชัดทีเดียว เขาถูกโมหะครอบงำใจ จนไม่ สามารถจะมองเห็นเหตุการณ์จำเพาะหน้า เยี่ยงคนทั้ง หลาย เรื่องใหญ่โต ขนาดชีวิตคน ก็ เห็นเป็นเรื่องเล็ก งานช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ ซึ่งอยู่แค่มือเอื้อม น่าจะมองเห็น ก็มองไม่เห็น เพียงเท่านี้ เราก็ทายได้แล้วว่า สภาพจิตใจของ เขาเสียหายไปเท่าไร ถ้าสมมติว่า มีช้างโขลง หนึ่ง เดินผ่าน หน้าคนๆหนึ่งไปใน ระยะใกล้ แต่ถ้านายคนนั้นบอกว่า เขามองไม่เห็นช้างเหล่า นั้นเลย ท่านจะทายได้ไหมว่านายคนนั้นอยู่ในสภาพอย่างไร ? แน่นอน เขาจะต้องอยู่ในความ มืด หรือบอด หรือบ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทุกอย่างรวมกัน ช้างไม่ใช่ตัวเท่ามด ซึ่งอาจ มองเห็น หรือไม่เห็นก็ได้ เช่นเดียวกันนั่นแหละท่าน ขนาดคนตกน้ำอยู่ต่อหน้า จะตายมิตาย แหล่ ใครยังมองไม่เห็นกิจที่ควรทำ ยืนเฉยอยู่ได้ ก็แสดงว่าจิตใจของแกเน่าเต็มทีแล้ว"

ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ กล่าวต่อไปว่า
"พระพุทธศาสนา มีแผนให้เราสร้างความดีไว้ ๒ ขั้น คือขั้นที่ ๑ ให้เว้นจากการทำชั่ว และ ขั้นที่ ๒ ให้ขวนขวายทำความดีให้มาก
- ขั้นที่ ๑ ตรงกับการรักษาศีล
- ขั้นที่ ๒ ตรงกับการประพฤติกัลยาณธรรม
( ตั้งต้นแต่กัลยาณธรรม ควบคู่กับศีลเรื่อยไป )

ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ คู่กับ เมตตากรุณา
ศีลข้อที่ ๒ เว้นจากการลักทรัพย์ คู่กับ สัมมาอาชีพ
ศีลข้อที่ ๓ เว้นจากการผิดในกาม คู่กับ กามสังวร
ศีลข้อที่ ๔ เว้นจากการพูดเท็จ คู่กับ สติ

ส่วนความหมายของกัลยาณธรรมที่คู่กับศีลทั้ง ๕ ข้อนั้น มีความหมาย ดังนี้

เมตตากรุณา คือปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขและช่วยเหลือเขา
สัมมาอาชีพ คือตั้งใจทำมาหากินโดยสุจริต
กามสังวร คือระมัดระวังในเรื่องรักๆใคร่ๆทางกาม
สัจวาจา คือรักษาวาจาให้ได้จริง บูชาคำจริง
สติ คือฝึกตน มิให้มัวเมาประมาท"

ถ้ามีทั้งศีล มีทั้งธรรม ครบถ้วนอย่างนี้แล้ว เราจึงจะได้ชื่อว่า เป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงอย่างแท้จริง




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย