ศีล
โดย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์

เรื่องที่ ๓๕ : วิรัติ ๓ ( ต่อ )


สัมปัตตวิรัติ

สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ เจตนางดเว้น ซึ่งเกิดขึ้นในทันทีทันใด ที่ประจวบกับเหตุที่จะทำให้เสีย ศีลหมายความว่า เดิมไม่ได้ตั้งใจจะรักษาศีล ไม่ได้สมาทานไว้ แต่เมื่อพบกับเหตุที่ตนจะล่วง ศีลได้ จึงคิดงดเว้นขึ้นในขณะนั้น เช่น เห็นสัตว์ที่พอจะฆ่าได้ น่าจะฆ่า แต่คิดเว้นเสีย ไม่ฆ่า

เจอกระเป๋าเงิน เจ้าของเขาวางไว้ แม้จะขโมย ก็พอขโมยได้ แต่งดเสีย ไม่ขโมย หญิงที่จะ ล่วงประเวณีได้ ก็มี ช่องทางและโอกาสก็อำนวยทุกอย่าง แต่ใจคิดงดเว้นการล่วงประเวณีเสีย ไม่ล่วง ไปดูการดูงาน ถึงเมืองนอก กลับมาคนเดียว จะเล่าอะไร โกหกให้ใครฟังก็ได้ แต่ คิดงดเว้นการโกหกเสีย ไม่พูด เหล้าจะกิน ก็มีพร้อม จังหวะก็อำนวย แต่คิดงดเสีย ไม่ดื่ม การตั้งใจงดเว้น เมื่อประจวบเข้ากับ เหตุการณ์อย่างนี้ เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ ผู้งดเว้นถือว่ามีศีล เหมือนกัน

สมาทานวิรัติ

สมาทาน แปลว่า รับ
สมาทานวิรัติ แปลว่า งดเว้นด้วยการสมาทาน
ข้อนี้ หมายความว่า เราได้ตั้งใจไว้ก่อนว่า จะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์อันชวนให้ล่วงศีล ก็ไม่ล่วง เพราะถือว่า ตนได้สมาทานศีลไว้ จะล่วงก็เสียดายศีล กลัวศีลจะขาด การงดเว้นจาก การล่วงศีล ด้วยคำนึงถึงศีลที่ตนได้สมาทานไว้อย่างนี้ เรียกว่า สมาทานวิรัติ สมาทานวิรัติ กับ สัมปัตตตวิรัติ มีผลต่างกันอยู่บ้าง คือสัมปัตตวิรัติ ทำให้ศีลเกิดขึ้น เฉพาะชั่วระยะหนึ่ง ขณะที่จิตคิดงดเว้นเท่านั้น ก่อนนั้นก็ไม่มีศีล หลังจากนั้นก็ไม่มีศีล จำเพาะมีในเวลาตั้งใจ งดเว้นเท่านั้น ส่วน สมาทานวิรัติ คือตั้งใจรักษาศีลอยู่เรื่อยๆ ศีลก็ย่อมมีอยู่ตลอดเวลา จนกว่า ตนเองจะล่วงละเมิดศีล ศีลจึงจะขาด คือเป็น อันสิ้นสุดการสมาทาน ต่อเมื่อได้สมาทานศีลอีก สมาทานวิรัติจึงจะเกิดอีก และเป็นผู้มีศีลสมุจเฉทวิรัติ

สมุจเฉทวิรัติ

สมุจเฉทวิรัติ ที่แปลว่า งดเว้นเด็ดขาด หมายถึง การงดเว้นของท่านผู้สิ้นกิเลส ที่เรียกว่า พระอริยเจ้า ท่านนักศึกษาย่อมจะทราบแล้วว่า ศีลห้านั้น คนจะล่วงก็ เพราะจิตมีกิเลส ทำ ให้อยากทำผิดทีนี้พระอริยเจ้าท่านละกิเลสได้แล้ว จึงหมด ปัญหาที่จะผิดศีล ไม่ผิดอีกแล้ว ไม่ผิดอย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ศีลของ ท่านจึงมีอยู่ตลอดกาล ไม่มีเวลาขาด ไม่มีเวลา เศร้าหมอง"




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย