วิธีการกล่าวสมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วยตนเอง



วิธีการกล่าวสมาทานรักษาอุโบสถศีลด้วยตนเอง

อุโบสถศีลมี ๓ ประเภท

๑. ปกติอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รับรักษากันตามปกติ เฉพาะวันหนึ่งคืนหนึ่ง อย่างที่อุบาสกอุบาสิการักษากันอยู่ทุกวันนี้ มีเดือนละ ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันแรม ๘ ค่ำ วันแรม ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ (ปฏิชาครอุโบสถ รักษาเดือนละ ๑๑ วัน คือ ข้างขึ้น ๕ วัน ได้แก่ วันขึ้น ๔ ค่ำ ๖ ค่ำ ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ และข้างแรม ๖ วัน ได้แก่ วันแรม ๑ ค่ำ ๔ ค่ำ ๖ ค่ำ ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ ๑๒ ค่ำ หรือ ๑๓ ค่ำ)

๒. ปฏิชาครอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รับรักษาเป็นพิเศษกว่าปกติ คือ รักษาคราวละ ๓ วัน คือ วันรับ วันรักษา และวันส่ง เช่นจะรับอุโบสถวัน ๘ ค่ำ ต้องรับและรักษามาแต่วัน ๗ ค่ำ ตลอดไปจนถึงวัน ๙ ค่ำ จนได้อรุณใหม่ของวัน ๑๐ ค่ำนั่นเอง จึงหยุดรักษา (ปาฏิหาริยอุโบสถ บางแห่งแสดงว่า ๕ เดือน คือ ตั้งแต่เดือน ๘ ถึงเดือน ๑๒ บางอาจารย์กล่าวว่า ๓ เดือน คือ เดือน ๘ เดือน ๑๒ เดือน ๔ บางพวกกล่าว่า ๔ วัน คือ ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ ๑๓ หรือ ๑๔ ค่ำ ๑ ค่ำ)

๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ ได้แก่ อุโบสถที่รับรักษาตลอด ๔ เดือนฤดูฝน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒

รัตนะนาถะ (R T)
https://www.youtube.com/@RT-zt7qx

4,334







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย