กัมมัฏฐานในศาสนานี้แน่วแน่แล้วเข้ามาในกาย : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

 จำปาพร  

คำว่า "กัมมัฏฐาน" ไม่ใช่หมายความแต่ว่า ผู้เป็นพระเป็นสงฆ์
หรือว่าฆราวาสตั้งอกตั้งใจปฏิบัติฝึกหัดรุกขมูลหรือเดินจงกรม
แล้วจึงจะเรียกว่า "กัมมัฏฐาน"เท่านั้น แท้ที่จริงเป็นคำสาธารณะทั่วไปหมด

คำว่า กัมมัฏฐาน จึงมี "กัมมะ" คือ การกระทำ "ฐานะ" คือ ที่ตั้ง
ทำแล้วทำในที่ใดตั้งในที่ใด ที่นั่นแหละเรียก "กัมมัฏฐาน"
นี่หมายความทั่วไปหมด พวกชาวบ้านชาวเมืองเขาทำการทำงาน
ทำให้แน่วแน่เต็มที่ก็เรียกว่า กัมมัฏฐาน เหมือนกัน
ทำโต๊ะ ทำเก้าอี้ ทำอะไรต่างๆทำบ้านทำเรือน ทำการก่อสร้าง
ทุกสิ่งทุกประการที่เราตั้งใจทำจริงๆจังๆ นั่นแหละเรียกว่า กัมมัฏฐาน
คือ "ทำให้มั่น ทำที่ตั้งให้มันมั่นในกิจนั้นๆ" เรียกว่า กัมมัฏฐาน ด้วยกันทั้งหมด
ไม่ใช่แต่พระเท่านั้นดอกที่ว่ากัมมัฏฐาน

กัมมัฏฐานในที่มีท่านพูดเฉพาะ ที่พูดเฉพาะนั้น
เรื่องการทำสมาธิภาวนาเป็นกิจกรรมที่หนึ่งซึ่งทำให้จิตแน่วแน่
เรียกว่า กัมมัฏฐาน ทำสมาธิภาวนามีคำบริกรรมให้มันแน่วแน่ให้เต็มที่
ไม่ให้จิตวอกแวกไปมาหน้าหลัง จนกระทั่งจิตแน่วแน่เป็นสมาธิภาวนา
นั่นล่ะท่านเรียก "เอกัคคตารมณ์" คือ จิตเป็นอันหนึ่ง เรียกว่า "สมาธิ"
เลยเฉพาะเรียกกัมมัฏฐานในพุทธศาสนา
ส่วนกัมมัฏฐานทั่วไปที่กล่าวมานั้น ทำอะไรต่างๆแน่วแน่ให้เต็มที่
ยึดสิ่งนั้นๆ แต่ว่ามันเป็น "ของภายนอก" ไม่ได้อยู่เข้ามา"ในกาย"
นั่นก็เรียกกัมมัฏฐานเหมือนกัน

แต่กัมมัฏฐานในศาสนานี้แน่วแน่ลงเต็มที่แล้วเข้ามาในกาย
ให้อยู่ที่กายแห่งเดียว จนกระทั่งพิจารณาแน่วแน่เต็มที่ กายก็ไม่อยู่
มาอยู่ที่จิตอันเดียว นั่นล่ะเรียก "กัมมัฏฐาน"

5,597







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย