"การฝึกหัดจิต" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

 วิริยะ12  

"การฝึกหัดจิต"

เมื่อพูดถึงเรื่อง "ฝึกหัดจิต" ก็ต้องพูดถึงเรื่องของจิต "ให้รู้จักจิตเสียก่อน จึงค่อยฝึกหัดจิตได้ ถ้าไม่รู้จักหัวจิต ก็ฝึกหัดจิตไม่ได้" ถึงฝึกหัดก็ฝึกหัดไปอย่างนั้นแหละ มันก็นำไปตามเรื่องตามราวของมัน "เพราะไม่รู้จักที่ตั้งของจิต อาการของจิต" ไม่รู้จักจุดหมาย

เหตุนั้นควรที่จะจับตัวต้นของจิตให้ได้เสียก่อน "อาการมันหลอก หลอน มันโกหกมายา ท่านเรียกไว้หลายอย่างหลายเรื่อง จิตเป็นผู้ปรุงผู้แต่ง จิตเป็นคนหลอกลวง จิตมีมายาสาไถย จิตเป็นมาร จิตเป็นกิเลส" ท่านพูดถึงเรื่องจิตทั้งนั้น อันนี้พูดถึงเรื่องทางชั่วในทางดี

ท่านบอกว่า "จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ" จิตที่ฝึกฝนอบรมดีแล้วนำความสุขมาให้ นี่ยากที่จะเข้าใจ "จิตที่ฝึกฝนแล้วนั้น มันอยู่นิ่งสงบ นั่นแหละเป็นความสุขอันยิ่งใหญ่"

แต่คนไม่ชอบ "หากมันพาวิ่งว่อน พาปรุง พาแต่ง พาคิดนึกส่งส่ายด้วยประการต่าง ๆ นั่นแหละจึงค่อยชอบ" เพราะนิสัย ของจิตนั้นแต่ไหนแต่ไรมามันไม่อยู่คงที่ "อุปมาเหมือนกับลิงกระโดดโลด โผนอยู่อย่างนั้น" คนเราก็เลยเข้าใจว่า การกระโดดโลดโผนอย่างนั้น เป็นความสุขความสบาย

"จิตที่สงบ ที่อบรมได้แล้ว เข้าใจว่าเป็นเครื่องเดือดร้อน" ควบคุมให้มันอยู่คงที่ มันไม่กระโดดโลดโผน "เห็นว่าจิตนั้นอยู่ในบังคับ ไม่มีอิสระ ความเข้าใจของคนเป็นอย่างนั้น" .. "

"ฝึกหัดจิต" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓

5,638







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย