เหตุเกิดของ “กรรม”
เหตุเกิดของ “กรรม”
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง
ภิกษุ ท. ! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความ
เกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?
คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ (ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจ
ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น
ผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่อง
ผูก) ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจ
ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น
ผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐาน
แห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรม อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เมื่อตรึกตรองตามไป
ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูก
ธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็น
สังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรม อันเป็นฐาน
แห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุ ท. ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ภิกษุ ท. ! (อีกอย่างหนึ่ง) เหตุ ๓ ประการนี้
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกรรม เหตุ ๓ ประการ
คืออะไรบ้างเล่า ?
คือความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีตอย่างไร ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอัน
ยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว
คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจ
ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคตเป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอัน
ยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว
คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจ
ไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อัน
เป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบันเป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรม อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า ครั้นรู้ชัดซึ่ง
วิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจ
ได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุ ท. ! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.
ที่มา : พุทธวจน ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.