อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่



ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้ง
ใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธ-
คามินีปฏิปทา. .....
ภิกษุ ท. ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! จักษุ (ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ
(จมูก) .... ชิวหา (ลิ้น) .... กายะ (กาย) ..... มนะ (ใจ) อันเธอ
ทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ
(อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัยทำให้เกิด
ความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.
ภิกษุ ท. ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด, อันนี้เรียกว่า
กรรมใหม่
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็น
อย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะ
ความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด, อันนี้
เรียกว่า กัมมนิโรธ.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ความ
เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา
(การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความ
พากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ
(ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
ภิกษุ ท. ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า
เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
เราก็ได้แสดงแล้ว.
ภิกษุ ท. ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหา

ประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวก
ทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.
ภิกษุ ท. ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง. พวกเธอ
จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ
ในภายหลังเลย.
นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอ
ทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.   

ที่มา : พุทธวจน สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.

5,143







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย