พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด พลความ - พหุพจน์, พหูพจน์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


พลความ - พหุพจน์, พหูพจน์

พลความ ข้อความที่ไม่ใช่สาระสำคัญ

พลี ทางพราหมณ์ คือ บวงสรวง, ทางพุทธ คือ สละเพื่อช่วยหรือบูชามี ๕ คือ ๑. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ ๒. อติถิพลี ต้อนรับแขก ๓. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ๔. ราชพลี ถวายเป็นหลวง เช่น เสียภาษีอากร ๕. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา

พหุบท มีเท้ามาก หมายถึงสัตว์ดิรัจฉานที่มีเท้ามากกว่าสองเท้าและสี่เท้า เช่น ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น

พหุปุตตเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่ต้นไทรนี้

พหุพจน์, พหูพจน์ คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง คือตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป, เป็นคำที่ใช้ในไวยากรณ์บาลีและไทยคู่กับเอกพจน์ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งเดียว; แต่ในไวยากรณ์สันสกฤตจำนวนสองเป็นทวิพจน์หรือ ทวิวจนะ จำนวนสามขึ้นไป จึงจะเป็นพหุพจน์




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย