พจนานุกรมพุทธศาสน์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

หมวด โกธะ - โกศล


โกธะ - โกศล

โกธะ ความโกรธ, เคือง, ขุ่นเคือง

โกนาคมน์ พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า ๕

โกมารภัจ ดู ชีวก

โกรัพยะ พระเจ้าแผ่นดินแคว้นกุรุ

โกละ ผลกะเบา

โกลังโกละ “ผู้ไปจากตระกูลสู่ตระกูล” หมายถึงพระโสดาบัน ซึ่งจะต้องไปเกิดอีก ๒-๓ ภพ แล้วจึงบรรลุพระอรหัต

โกลิตะ ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูลหัว
หน้าในหมู่บ้านนั้น สมัยเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสญชัยก็ยังใช้ชื่อว่า โกลิตะ ต่อมาภายหลัง คือเมื่อ
บวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียก กันว่า โมคคัลลานะหรือพระมหาโมคคัลลานะ

โกลิตปริพาชก พระโมคคัลลานะเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสญชัย มีชื่อเรียกว่า โกลิตปริพาชก

โกลิยชนบท แคว้นโกลิยะ หรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาลมีนครหลวง
ชื่อ เทวทหะ และรามคาม บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

โกลิยวงศ์ ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ; พระสิริมหามายา พุทธมารดา และพระนาง
พิมพา ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์

โกศล ,โกสัลละ ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี ๓ คือ ๑. อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญและ
เหตุของความเจริญ ๒. อปายโกศล ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ๓. อุปายโกศล
ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้าง
ความเจริญ

โกศล ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป โกศลเป็นแคว้นใหญ่มีอำนาจมากในสมัยพุทธกาล กษัตริย์
ผู้ครองแคว้นมีพระนามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล มีนครหลวงชื่อสาวัตถี บัดนี้เรียกสะเหตมะเหต




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย