พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด จักษุ - จัมเปยยขันธกะ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


จักษุ - จัมเปยยขันธกะ

จักษุ ตา, นัยน์ตา

จักษุทิพย์ ตาทิพย์ คือดูอะไรเห็นได้หมด ดู ทิพพจักขุ

จังหัน ข้าว, อาหาร (ใช้แก่พระสงฆ์)

จัญไร ชั่วร้าย, เลวทราม, เสีย

จัณฑปัชโชต พระเจ้าแผ่นดินแคว้นอวันตี ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี

จัณฑาล ลูกต่างวรรณะ เช่นบิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ มีลูกออกมา เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนต่ำทรามถูกเหยียดหยามที่สุดในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์

จันทน์ ไม้จันทน์ เป็นไม้มีกลิ่นหอมใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม

จักทรคติ การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระจันทร์เป็นหลัก เช่น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ และเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน ๓ เป็นต้น คู่กับ สุริยคติ

จันทรุปราคาการจับจันทร์ คือเงาโลกเข้าไปปรากฏที่ดวงจันทร์ ขณะเมื่อดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์อยู่ตรงกันข้าม โดย มีโลกอยู่ระหว่างกลางที่เรียกว่า ราหูอมจันทร์

จัมปา ชื่อนครหลวงของแคว้นอังคะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำจัมปา ไม่ห่างไกลมากนักจากที่บรรจบกับแม่น้ำคงคา

จัมเปยยขันธกะชื่อขันธกะที่ ๙ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยข้อควรทราบบางแง่เกี่ยวกับนิคหกรรมต่าง ๆ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย