พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด คิหิณี - โคจรคาม

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


คิหิณี - โคจรคาม

คิหิณี หญิงผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์หญิง

คิหิปฏิบัติ ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์

คืบพระสุคต ชื่อมาตราวัดตามอรรถกถา นัยว่า เท่ากับ ๓ คืบของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่
สมจริง ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก
และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริงก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย

คุณของพระรัตนตรัย คุณของรัตนะ ๓ คือ ๑. พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
ด้วย ๒. พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ๓. พระสงฆ์
ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย

คุณธรรม ธรรมที่เป็นคุณ, ความดีงาม, สภาพที่เกื้อกูล

คุณบท บทที่แสดงคุณ, บทที่กล่าวถึงคุณงามความดี, คำแสดงคุณสมบัติ

คูถภักขา มีคูถเป็นอาหาร ได้แก่สัตว์จำพวก ไก่ สุกร สุนัข เป็นต้น

คู้บัลลังก์ ดู บัลลังก์

เครื่องกัณฑ์ สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์

เครื่องต้น เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์,สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย

เครื่องราง ของที่นับถือว่าป้องกันอันตรายได้ เช่น ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า

เคลือบแฝง อาการชักให้เป็นที่สงสัย, แสดงความจริงไม่กระจ่างทำให้เป็นที่สงสัย

เคหสถาน ที่ตั้งเหย้าเรือน

เคหสิตเปมะ ความรักอันอาศัยเรือน ได้แก่รักกันโดยฉันเป็นคนเนื่องถึงกัน เป็นญาติกัน เป็นคนร่วมเรือนเดียวกัน,
ความรักฉันพ่อแม่ลูกและญาติพี่น้อง

เคารพ ความนับถือ, ความมีคารวะ

เคาะ ในประโยคว่า “เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาว” พูดให้รู้ท่า

เคาะแคะ พูดแทะโลม, พูดเกี้ยว

โคจรคาม หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกขาจาร, หมู่บ้านที่ภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาต




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย