นิกายวัชระยาน


พระพุทธศาสนา วัชระยาน ~ Vajarayana


   เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แค้วนพาราณสี ครั้งที่ 2 ที่กฤตธาราโกติ แค้วนราชคฤห์ ครั้งที่ 3 ที่ไวศาลี ครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาท ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้ง

   การพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือ พระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างในพุทธศาสนิกแต่ละนิกาย ฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมายความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการ ี1 กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไป พร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์

   พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่ 14 ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข” ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมาความสมดุลก็ได้หายไป

   ความอดทนมี 3 ประเภท
   1. อดทนต่อการต่อต้าน
   2. อดทนต่อความลำบากในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
   3. อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตาการบำเพ็ญตนตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก เพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยก แยะปัญญาไว้ 3 ประเภทพื้นฐาน 1.ปัญญา เกิดจากการมีความรู้ 2. ปัญญาเกิดจากการพินิจพิจารณา 3. ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติแต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น 1. ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ 2. ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ 3. ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่นและยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีก เช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลกปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางโลก

   ในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกาย

   ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยาน ต่อไป

   ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว1ปีพระพุทธเจ้าได้เทศนาสอนแก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ

   แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่ม สนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุนในปื ค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้ อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระในศตวรรษที่ 16 ท่าน ธารานาถ ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่า ท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึงศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุด ทิเบตจึงรับคำสอน อย่างเต็มที่

   การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อ คือก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการมนตราภิเษกแล้ว ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะ ต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน

   ถามว่าคำสอนวัชระยาน คืออะไร เพื่ออะไร คำสอนวัชระยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดี จึงสามารถเข้าใจคำสอน อันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียวต้องศึกษาปฏิบัติคำสอนตันตระ เท่านั้น ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับการบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้เราสามารถบินในระยะทางไกลๆ ได้ด้วยเวลา อันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วยเท่าเปล่าเป็นเดือน เป็นที่รู้กันว่าในทิเบต ท่านมิลาเรปะ ท่านได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ

   แล้วตันตระคืออะไรตันตระ ตันตระโดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง อันเป็นคำสอนการ ปฏิบัติระดับสูงซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการมนตราภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามาก เข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษาหรือปฏิบัติตันตระไม่ผ่านการมนตราภิเษก การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษหรือยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ และมีประสิทธิภาพสูง ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่เป็นลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆ ที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพ ซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไร

   คำสอนวัชระยานการปฏิบัติวัชระยานสามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น แต่คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้องการบรรลุรู้แจ้งเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้

   เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆ ที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสัน สฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้นเราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบต เท่านั้น ในปัจจุบันภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆ ที่เป็นสันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน

   พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์สองซันกัมโปเรืองอำนาจ ด้วยความสนพระทัยอันเป็นทุนเดิมอยู่แล้วพร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระมเหสีชาวจีนและเนปาลซึ่งเป็นชาวพุทธ ที่เคร่งครัดถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิดั้งเดิม พุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีนได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่า ได้เกิดการสังคายนา พุทธศาสนา ณ กรุงลาซา เป็นการสังคายนาระหว่างนิกายเซ็นของจีนและวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชระยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนา วัชระยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าทิซองเด็ตเชนได้ทรงนิมนต์ศานตรักษิตภิกษุชาวอินเดียและคุรุปัทมสมภพเข้ามาเพื่อแผ่แพร่พระธรรม โดยเฉพาะคุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 และขานนามท่านว่ากูรูรินโปเช่ หรือแปลว่าพระอาจารย์ผู้ประเสริฐกูรูรินโปเช่ ได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาธิเบตด้วยอย่างมากมาย



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย