พจนานุกรมพุทธศาสน์

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)

ทสกะ - หมวด ๑๐ / Groups of Ten (including related groups)

(๓๐๒) กถาวัตถุ ๑๐ (เรื่องที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ — Subjects for talk among the monks)

๑. อัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ไม่มักมากอยากเด่น — talk about or favorable to contentment)

๒. สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อหรือปรนปรือ — talk about or favorable to contentment)

๓. ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ — talk about or favorable to seclusion)

๔. อสังสัคคกถา (เรื่องความไม่คลุกคลี, ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ — talk about or favorable to not mingling together)

๕. วิริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร, ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำควรเพียร — talk about or favorable to strenuousness)

๖. สีลกถา (เรื่องศีล, ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล — talk about or favorable to virtue or good conduct)

๗. สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น — talk about or favorable to concentration)

๘. ปัญญากถา (เรื่องปัญญา, ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา — talk about or favorable to deliverance)

๙. วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ — talk about or favorable to deliverance)

๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ — talk about or favorable to the knowledge and vision of deliverance)

M.I.145; III.113; A.V.12.     ม.มู.๑๒/๒๙๒/๒๘๗; องฺ. ทสก.๒๔/๖๙/๑๓๘.



(๓๐๓) กสิณ ๑๐ (วัตถุอันจูงใจ, วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ — meditation devices)

ก. ภูตกสิณ ๔ (กสิณคือมหาภูตรูป —Element-Kasina)

๑. ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน, กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ — the Earth Kasina)

๒. อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ — the Water Kasina)

๓. เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina)

๔. วาโยกสิณ (กสิณคือลม — the Air Kasina: Wind Kasina)

ข. วรรณกสิณ ๔ (กสิณคือสี — Color Kasina)

๕. นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว — the Blue Kasina)

๖. ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง — the Yellow Kasina)

๗. โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง — the Red Kasina)

๘. โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว — the White Kasina)

ค. กสิณอื่นๆ

๙. อาโลกกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า — the Light Kasina)

๑๐. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina)

กสิณที่มาในบาลี เช่น องฺ.ทสก. ๒๔/๒๕/๔๘ (A.V. 46) ไม่มีอาโลกกสิณแต่มีวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ the Consciousness Kasina) เป็นข้อที่ ๑๐ และอากาสกสิณ เป็นข้อที่ ๙

Vism.118-169.    วิสุทธิ. 1/150/-217.



(๓๐๔)  กามโภคี ๑๐ (ผู้บริโภคกาม, ผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์ — enjoyers of sense-pleasures; laymen; householders)

กลุ่มที่ ๑ แสวงหาไม่ชอบธรรม (those seeking wealth unlawfully and arbitrarily)

๑. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, ทั้งไม่แจกจ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทำกรรมดี (So seeking wealth, a certain one neither makes himself happy and cheerful, nor does he share with others, nor does he do meritorious deeds.)

๒. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปัน และไม่ใช้ทำกรรมดี (So seeking wealth, a certain one neither makes himself happy and cheerful, bat he does not share with others and does no meritorious deeds.)

๓. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยทารุณข่มขี่, ได้มาแล้ว เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุขด้วย, แจกจ่ายแบ่งปัน และใช้ทำกรรมดีด้วย (So seeking wealth, a certain one does makes himself happy and cheerful, he does share with others and does meritorious deeds.)

(พวกที่ ๑   ควรตำหนิทั้ง ๓ สถาน; พวกที่ ๒   ตำหนิ ๒ สถาน  ชม ๑ สถาน;  พวกที่ ๓  ตำหนิ ๑ สถาน  ชม ๒ สถาน — These are blameworthy in thtee, two and one respect, ana praiseworthy in none, one and two respects respectively.) 

กลุ่มที่ ๒ แสวงหาชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง (Those seeking wealth both lawfully and unlawfully, arbitrarily and unarbitrarily)

๔. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้างไม่ชอบธรรมบ้าง ทารุณข่มขี่บ้าง ไม่ทารุณข่มขี่บ้าง, ได้มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข. ไม่แจกจ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทำกรรมดี (Same as 1)

๕. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ทารุณข่มขี่บ้าง ไม่ทารุณข่มขี่บ้าง, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทำกรรมดี (Same as 2)

๖. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง โดยทารุณข่มขี่บ้าง ไม่ทารุณข่มขี่บ้าง, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, ทั้งแจกจ่ายแบ่งปัน และใช้ทำกรรมดี (Same as 3)

(พวกที่ ๔   ควรตำหนิ ๓ สถาน  ชม ๑ สถาน; พวกที่ ๕  ตำหนิ ๒ สถาน  ชม ๒ สถาน;  พวกที่ ๖  ตำหนิ ๑ สถาน  ชม ๓ สถาน — These are blameworthy in three, two and one respect, and praiseworthy in one, two and three respects respectively.)

กลุ่มที่ ๓ แสวงหาชอบธรรม (those seeking wealth lawfully and unarbitrarily)

๗. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, ไม่แจกจ่ายแบ่งเป็น ไม่ใช้ทำความดี (Same as 1)

๘. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วเลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แต่ไม่แจกจ่ายแบ่งปัน และไม่ใช้ทำความดี (Same as 2)

๙. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วก็เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุขด้วย, ทั้งแจกจ่ายแบ่งปันและใช้ทำความดีด้วย; แต่เขายังจิตยังสยบมัวเมา ยังหมกมุ่น บริโภคโภคะเหล่านั้นโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้นเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ (Same as 3. But he makes use of his wealth with greed and longing, is infatuated therewith, heedless of danger, lacking the insight to achieve spiritual freedom.)

(พวกที่ ๗   ควรตำหนิ ๒ สถาน  ชม ๑ สถาน; พวกที่ ๘  ตำหนิ ๑ สถาน  ชม ๒ สถาน;  พวกที่ ๙  ตำหนิ ๓ สถาน  ชม ๑ สถาน — These are blameworthy in two, one and one respect, and praiseworthy in one, two and three respects respectively.)

พวกพิเศษ : แสวงหาชอบธรรม และใช้อย่างรู้เท่าทันเป็นอิสระ

๑๐. พวกหนึ่งแสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ไม่ทารุณข่มขี่, ได้มาแล้วก็เลี้ยงตนให้อิ่มหนำเป็นสุข, แจกจ่ายแบ่งปันและใช้ทำความดีด้วย; ไม่สยบมัวเมา ไม่หมกมุ่น  บริโภคโภคะเหล่านั้นโดยรู้เท่าทันเห็นโทษ มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ (Seeking wealth lawfully and unarbitrarily, a certain one does make himself happy and cheerful, he does share with others and does meritorious deeds.  Moreover, he makes use of his wealth without greed and longing, without infatuation, is heedful of danger and possesed of insight that keeps for himself spiritual freedom.)

(พวกที่ ๑๐ นี้ ทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ สูงสุด  ควรชมทั้ง ๔ สถาน — Of These ten this one is the best, the greatest and the noblest, being praiseworthy in the four respects.)

S.IV.331; A.V.176     สํ.สฬ.๑๘/๖๓๑-๖๔๓/๔๐๘-๔๑๕; องฺ.ทสก.๒๔/๙๑/๑๘๘



(๓๐๕)  กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร — how to deal with doubtful matters; advice on how to investigate a doctrine, as contained in the Kalamasutta)

๑. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา — Be not led by report)

๒. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา — Be not led by tradition)

๓. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ — Be not led by hearsay)

๔. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ — Be not led by the authority of texts)

๕. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก — Be not led by mere logic)

๖. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน — Be not led by inference)

๗. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล — Be not led by considering appearances)

๘. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว — Be not led by the agreement with a considered and approved theory)

๙. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ - Be not led by seeming possibilities)

๑๐. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา - Be led not by the idea, 'This is our teacher'.)

     ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

     สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม

A.I.189     องฺ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑.



(๓๐๖) กิเลส ๑๐ (สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง — defilements)

๑. โลภะ (ความอยากได้ — greed)

๒. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย — hatred)

๓. โมหะ (ความหลง, ความไม่รู้, ความเขลา — delusion)

๔. มานะ (ความถือตัว — conceit)

๕. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด — wrong view)

๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง — doubt; uncertainty)

๗. ถีนะ (ความหดหู่, ความท้อแท้ถดถอย — sloth)

๘. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน — restlessness)

๙. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อความชั่ว — shamelessness)

๑๐. อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว — lack of moral dread)

Vbh.391.    อภิ.วิ.๓๕/๑๐๒๖/๕๒๘)



(๓๐๗) กุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ — wholesome course of action) ว่าโดยหัวข้อย่อ ดังนี้

ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย — bodily action)

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากปลงชีวิต — abstention from killing)

๒. อทินนาทานา เวรมณี (เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย — abstention from taking what is not given)

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เว้นจากประพฤติผิดในกาม — abstention from sexual misconduct)

ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา — verbal action)

๔. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากพูดเท็จ — abstention from false speech)

๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดส่อเสียด — abstention from tale-bearing)

๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดคำหยาบ — abstention from harsh speech)

๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ — abstention from vain talk or gossip)

ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ — mental action)

๘. อนภิชฌา (ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา — non-covetousness)

๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้ายผู้อื่น — non-illwill)

๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม — right view)

D.III.269, 290.    ที.ปา.๑๑/๓๖๐/๒๘๔; ๔๗๑/๓๓๗.



(๓๐๘) กุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ — wholesome course of action) ว่าโดยข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ)  ดังนี้

ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย — bodily action)

๑. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ (ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน — to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)

๒. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขตํ อนาทาตา โหติ (ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น — to avoid stealing, not violating the right to private property of others)

๓. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ (ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ — to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา — verbal action)

๔. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ (ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ — to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)

๕. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯลฯ สมคฺคกรณี วาจํ ภาสิตา โหติ (ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี — to avoid malicious speech, unite the discordant, encourage the united and utter speech that makes for harmony)

๖. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปี วาจํ ภาสิตา โหติ (ละคำหยาบพูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน — to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)

๗. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ (ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาละเทศะ — to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts, what is useful, moderate and full of sense)

ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ — mental action)

๘. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ (ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น — to be without covetousness)

๙. อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ (ไม่มีจิตคิดร้าย คือปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด — to be free from illwill, thinking, ‘Oh, that these beings were free fron hatred and illwill, and would lead a happy life from trouble.’)

๑๐. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ (มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น — to posses right view such as that gifts, donations and offerings are not fruitless and that there are results of wholesome and unwholesome actions)

M.I.287; A.V.266, 275-278.     ม.มู.๑๒/๔๘๕/๕๒๓; องฺ.ทสก.๒๔/๑๖๕/๒๘๗; ๑๖๘-๑๘๑/๒๙๖-๓๐๐.



(๓๐๙) อกุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคคติ — unwholesome course of action)

ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย — bodily action)

๑. ปาณาติบาต (การทำชีวิตให้ตกล่วง, ปลงชีวิต — destruction of life; killing)

๒. อทินนาทาน (การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์ — taking what is not given; stealing)

๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ความประพฤติผิดในกาม — sexual misconduct)

ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา — verbal action)

๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ — false speech)

๕. ปิสุณาวาจา (วาจาส่อเสียด — tale-bearing; malicious speech)

๖. ผรุสวาจา (วาจาหยาบ — harsh speech)

๗. สัมผัปปลาปะ (คำพูดเพ้อเจ้อ — frivolous talk; vain talk; gossip)

ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ — mental action)

๘. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา — covetousness; avarice)

๙. พยาบาท (คิดร้ายผู้อื่น — illwill)

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม — false view; wrong view)

D.III 269, 290; A.V.24.    ที.ปา.๑๑/๓๕๙/๒๘๔; ๔๗๐/๓๓๗; องฺ.ทสก.๒๔/๑๖๕/๒๘๕.



(๓๑๐) เถรธรรม ๑๐ (คุณธรรมที่ทำให้พระเถระอยู่สำราญในที่ทุกสถาน — qualities which make for happy living of an elder monk)

๑. เถโร รัตตัญญู (เป็นผู้ใหญ่ บวชนาน รู้เห็นกิจการ ทรงจำเรื่องราวไว้ได้มาก — to be an elder monk of long experience)

๒. สีลวา (มีศีล เคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to be virtuous; to have good conduct)

๓. พหุสสุโต (เป็นพหูสูตทรงความรู — to be much learned)

๔. สวาคตปาฏิโมกโข (ทรงปาติโมกข์ รู้หลักแห่งวินัย แคล่วคล่อง ชำนิชำนาญ สามารถวินิจฉัยได้ด้วยดี — to be well versed in the codes of discipline)

๕. อธิกรณสมุปปาทวูปสมกุสโล (ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น — to be skilled in setting a legal question that has arisen)

๖. ธัมมกาโม (เป็นผู้ใคร่ธรรม รักความรู้ รักความจริง รู้จักรับฟังและรู้จักพูดทำให้เป็นที่ชื่นชมสนิทสนมสบายใจ น่าเข้าไปปรึกษาสนทนา และชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ยิ่งๆ ขึ้นไป — to love the Doctrine, be pleasant to consult and converse with, and find joy in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline)

๗. สันตุฏโฐ (เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้ — to be content with whatsoever supply of the four requisites he may get)

๘. ปาสาทิโก (จะไปจะมา มีอาการกิริยาน่าเลื่อมใส แม้เข้าไปในละแวกบ้าน ก็สำรวมเป็นอันดี — to be charming and perfectly composed in his goings out and comings and in sitting in the house)

๙. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน ๔ ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)

๑๐. อนาสวเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะ — to have gained the Deliverance)

A.V.201.     องฺ.ทสก.๒๔/๙๘/๒๑๕.



(๓๑๑) ทสพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ ๑๐ คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)

๑. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)

๒. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)

๔. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)

๕. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสงบใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)

๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)

๙. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the decease and rebirth of beings)

๑๐. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

M.I.69; A.V.33; Vbh.336.    ม.มู.๑๒/๑๖๖/๑๔๐; องฺ.ทสก.๒๔/๒๑/๓๕; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๙/๔๕๔.

(***) ทศพิธราชธรรม   ดู (๓๑๔) ราชธรรม ๑๐.

(***) ธรรมจริยา ๑๐  เป็นอีกชื่อหนึ่งของ (๓๐๘) กุศลกรรมบถ ๑๐.



(๓๑๒) นาถกรณธรรม ๑๐  (ธรรมอันกระทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ — virtues which make for protection)

๑. ศีล (ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย มีอาชีวะบริสุทธิ์ — good conduct; keeping moral habits)

๒. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้ง — great learning)

๓. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, การคบคนดี ได้ที่ปรึกษา และผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี — good company; association with good people)

๔. โสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังเหตุผล — amenability to correction; meekness; easy admonishability)

๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา (ความเอาใจใส่ช่วยขวนขวายในกิจใหญ่น้อยทุกอย่างของเพื่อนร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง สามารถจัดทำให้สำเร็จเรียบร้อย — willingness to give a helping hand; diligence and skill in managing all affairs of one’s fellows in the community)

๖. ธัมมกามตา (ความเป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ใฝ่ความรู้ใฝ่ความจริง รู้จักพูดรู้จักฟัง ทำให้เกิดความพอใจ น่าร่วมปรึกษาสนทนา ชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป — love of truth; to the Doctrine, be pleasant to consult and converse with and rejoice in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline)

๗. วิริยารัมภะ (ความขยันหมั่นเพียร คือ เพียรละความชั่ว ประกอบความดีมีใจแกล้วกล้า บากบั่นก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ทอดทิ้งธุระ — energy; effort; energetic exertion)

๘. สันตุฏฐี (ความสันโดษ คือ ยินดี มีความสุขความพอใจด้วยปัจจัย ๔ ที่หามาได้ด้วยความเพียรอันชอบธรรมของตน — contentment)

๙. สติ (ความมีสติ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำคำที่พูดไว้ได้ ไม่มีความประมาท — mindfulness; ability to remember what one has done and spoken)

๑๐. ปัญญา (ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้จักคิดพิจารณา เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง — wisdom; insight)

นาถกรณธรรมนี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์

D.III.266, 290; A.V.23     ที.ปา.๑๑/๓๕๗/๒๘๑; ๔๖๖/๓๓๔; องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗/๒๕.



(๓๑๓) บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น — perfections)

๑. ทาน (การให้ การเสียสละ — giving; charity; generosity; liberality)

๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย — morality; good conduct)

๓. เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม — renunciation)

๔. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง — wisdom; insight; understanding)

๕. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ — energy; effort; endeavour)

๖. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส — forbearance; tolerance; endurance)

๗. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ — truthfulness)

๘. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่ — resolution; self-determination)

๙. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ — loving-kindness; friendliness)

๑๐. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง — equanimity; indifference to praise and blame in the performance of duty)

ทศบารมีนี้ เรียงตามที่ถือว่าได้บำเพ็ญในทศชาติ (จัดแบบไทย) ดังนี้

๑. พระเตมีย์ — เนกขัมมะ (ข้อที่ ๓)

๒. พระมหาชนก — วิริยะ (๕)

๓. พระสุวรรณสาม — เมตตา (๙)

๔. พระเนมิราช — อธิษฐาน (๘)

๕. พระมโหสถ — ปัญญา (๔)

๖. พระภูริทัตต์ — ศีล (๒)

๗. พระจันทกุมาร — ขันติ (๖)

๘. พระนารท — อุเบกขา (๑๐)

๙. พระวิธุร — สัจจะ (๗)

๑๐. พระเวสสันดร — ทาน (๑)

บารมีนั้น ท่านกล่าวว่าจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ ต้องครบ ๓ ขั้น คือ

๑. บารมี (ระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ ให้ทรัพย์สินเงินทอง สมบัตินอกกาย — ordinary perfections)

๒. อุปบารมี (ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน — superior perfecions)

๓. ปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น — supreme perfections)

บำเพ็ญทั้ง ๑๐ บารมี ครบ ๓ ขั้นนี้ เรียกว่า สมตึสปารมี หรือ สมตึงสบารมี แปลว่า บารมี ๓๐ ถ้วน.

Bv.6     ขุ.พุทฺธ.๓๓/๑/๔๑๔; ขุ.จริยา.๓๓/๓๖/๕๙๖.

(***) บุญกิริยาวัตถุ ๑๐  ดู (๘๘) บุญกิริยาวัตถุ ๑๐.

(***) ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐   ดู (๒๓๖) ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐.

(***) มิจฉัตตะ   ดู (๓๒๒) มิจฉัตตะ ๑๐

(***) มูลเหตุการบัญญัติพระวินัย ๑๐  ดู (๓๑๕) วัตถุประสงค์ในการบัญญัติวินัย ๑๐.



(๓๑๔) ราชธรรม ๑๐ หรือ ทศพิธราชธรรม (ธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, ธรรมของนักปกครอง — virtues or duties of the king; royal virtues; virtues of a ruler)

๑. ทาน (การให้ คือ สละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ — charity; liberality; generosity)

๒. ศีล (ความประพฤติดีงาม คือ สำรวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิตติคุณ ให้ควรเป็นตัวอย่าง และเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มีข้อที่ใครจะดูแคลน — high moral character)

๓. ปริจจาคะ (การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง — self-sacrifice)

๔. อาชชวะ (ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน — honesty; integrity)

๕. มัททวะ (ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือองค์ มีความงามสง่าเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง — kindness and gentleness)

๖. ตปะ (ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำย่ำยีจิต ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียร ทำกิจให้บริบูรณ์ — austerity; self-control; non-indulgence)

๗. อักโกธะ (ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราด ลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและกระทำกรรมต่างๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบเป็นตัวของตนเอง — non-anger; non-fury)

๘. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษีขูดรีด หรือ เกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใด เพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง — non-violence; non-oppression)

๙. ขันติ (ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไร ก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยคำเสียดสีถากถางอย่างใด ก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกรณีย์ที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม — patience; forbearance; tolerance)

๑๐. อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรม คงที่ ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ใดๆ สติมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คื ความเที่ยงธรรม ก้ดี นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผนหลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป — non-opposition; non-deviation from righteousness; conformity to the law)

ราชธรรม ๑๐ นี้  พึงจดจำง่ายๆ โดยคาถาในบาลี  ดังนี้

ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ    อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ

อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ    ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.

J.V.378.    ขุ.ชา.๒๘/๒๔๐/๘๖.



(๓๑๕) วัตถุประสงค์ในการบัญญัติวินัย ๑๐  (เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภหรือประโยชน์ที่ทรงประสงค์ ในการทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์สาวก — reasons for laying down the course of training for monks; purposes of monastic legislation)

ก. ว่าด้วยประโยชน์แก่สงฆ์หรือส่วนรวม

๑. สงฺฆสุฏฺฐุตาย (เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ คือ เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์ ซึ่งได้ทรงชี้แจงให้มองเห็นคุณโทษแห่งความประพฤตินั้นๆ ชัดเจนแล้วจึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นไว้โดยความเห็นร่วมกัน — for the comfort of the excellence of the unanimous Order)

๒. สงฺฆผาสุตาย (เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ — for the comfort of the Order)

ข. ว่าด้วยประโยชน์แก่บุคคล

๓. ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย (เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก คือ เพื่อกำราบคนผู้ด้าน ประพฤติทราม — for the control of shameless persons)

๔. เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย (เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม — for the living in comfort of well-behaved monks)

ค. ว่าด้วยประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ หรือแก่ชีวิต ทั้งทางกายและทางใจ

๕. ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย (เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน คือ เพื่อระงับปิดทางความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน — for the restraint of the cankers in the present; for the prevention of temporal decay and troubles)

ง. ว่าด้วยประโยชน์แก่ประชาชน

๗. อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย (เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส — for the confidence of those who have not yet gained confidence)

๘. ปสนฺนานํ ภิยฺโยภาวาย (เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว — for the increase of the confidence of the confident)

จ. ว่าด้วยประโยชน์แก่พระศาสนา

๙. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา (เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม — for the lastingness of the true doctrine)

๑๐. วินยานุคฺคหาย (เพื่ออนุเคราะห์วินัย คือ ทำให้มีบทบัญญัติสำหรับใช้เป็นหลักเกณฑ์จัดระเบียบของหมู่ สนับสนุนความมีวินัยให้หนักแน่นมั่นคงยิ่งขึ้น — for the support of the discipline)

Vin.III.20; A.V.70.     วินย.๑/๒๐/๓๗; องฺ.ทสก.๒๔/๓๑/๗๔.

(***) วิปัสสนาญาณ ๑๐   ดู (๒๙๙) วิปัสสนาญาณ ๙.



(๓๑๖) วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ — im-perfection or defilements of insight)

๑. โอภาส (แสงสว่าง — illumination; luminous aura)

๒. ญาณ (ความหยั่งรู้ — knowledge)

๓. ปีติ (ความอิ่มใจ — rapture; unprecedented joy)

๔. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น — tranquillity)

๕. สุข (ความสุขสบายใจ — bliss; pleasure)

๖. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ — favor; resolution; determination)

๗. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี — exertion; strenuousness)

๘. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด — established mindfulness)

๙. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง — equanimity)

๑๐. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ — delight)

ดู (๒๗๐) วิสุทธิ ๗ โดยเฉพาะข้อ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

Vism.633.     วิสุทฺธิ.๓/๒๖๗.

(***) ศีล ๑๐   ดู (๒๘๕) ศีล ๑๐.



(๓๑๗) สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล — fetters; bondage)

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ — lower fetters)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น — personality-view of individuality)

๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ — doubt; uncertainty

๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร — adherence to rules and rituals)

๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ — sensual lust)

๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง — repulsion; irritation)

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง — higher fetters)

๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ — greed for fine-material existence; attachment to realms of form)

๗. อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ — greed for immaterial existence; attachment to formless realms)

๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ — conceit; pride)

๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน — restlessness; distraction)

๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง — ignorance)

สังโยชน์ ๑๐ ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ ข้อ ๔ เป็น กามฉันท์ (ความพอใจในกาม — desire) ข้อ ๕ เป็น พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย — illwill) ในความเหมือนกัน

ลำดับการละสังโยชน์ ๑๐ นี้ ให้ดู (๑๖๓) มรรค ๔.

S.V.61; A.V.13; Vbh.377     สํ.ม.๑๙/๓๔๙/๙๐; องฺ.ทสก.๒๔/๑๓/๑๘; อภิ.วิ.๓๕/๙๗๖-๗/๕๐๙



(๓๑๘) สังโยชน์ ๑๐ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ — fetters; bondage)

๑. กามราคะ

๒. ปฏิฆะ

๓. มานะ

๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด — false views)

๕. วิจิกิจฉา

๖. สีลัพตปรามาส

๗. ภวราคะ (ความติดใจปรารถนาในภพ — greed for existence)

๘.อิสสา (ความริษยา — envy; jealousy)

๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ — meanness; stinginess)

๑๐. อวิชชา

Vbh.391.     อภิ.วิ.๓๕/๑๐๒๙/๕๒๘



(๓๑๙) สัญญา ๑๐  (ความกำหนดหมาย, แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน — perception; contemplation; ideas as objects of meditation)

๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร — contemplation on impermanency)

๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย — contemplation on impersonality)

๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย — contemplation on foulness or loathsomeness)

๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ — contemplation on the disadvantages of the body)

๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต — contemplation on abandonment or overcoming)

๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต — contemplation no detachment)

๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต — contemplation on cessation)

๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง — contemplation on the non-delightfulness of the whole world)

๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง — contemplation on the non-pleasantness of the whole world)

๑๐. อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก — mindfulness of in-and out-breathing)

D.III.291; A.V.109.    ที.ปา.๑๑/๔๗๓/๓๔๐; องฺ.ทสก.๒๔/๖๐/๑๑๖



(๓๒๐) สัทธรรม ๑๐  (ธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือแก่นศาสนา — true doctrine; essential Dharma)

๑-๙. โลกุตตรธรรม ๙ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ — the nine supermundane states. viz., the Four Fruitions and Nibbana)

๑๐. ปริยัติธรรม (ธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน กล่าวคือ พุทธพจน์ — the text to be studied, i.e., the words of the Buddha)

(ฉบับอักษรโรมันยังไม่ได้พิมพ์)    สงฺคห.ฏีกา ๖๕



(๓๒๑) สัมมัตตะ ๑๐ (ภาวะที่ถูก, ความเป็นที่ถูก — rightness; right states)

๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรค ๘ ข้อ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และเพิ่ม ๒ ข้อ คือ

๙. สัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณทั้ง ๑๙ ประเภท — right knowledge; right insight)

๑๐. สัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่ อรหัตตผลวิมุตติ — right deliverance)

ธรรมหมวดนี้ เรียกชื่ออีกอย่างว่า อเสขธรรม (ธรรมของพระอเสขะ — qualities of the adept)

ดู (๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘.

D.III.271; 292; M.I.42; A.V.212     ที.ปา.๑๑/๓๖๒/๒๘๖; ม.มู.๑๒/๑๐๔/๗๕; องฺทสก.๒๔/๑๐๔/๒๒๖; ม.อ.๑/๒๖๐; องฺ.อ.๒/๓๑๙,๔๗๔,๔๘๑.



(๓๒๒) มิจฉัตตะ ๑๐ (ภาวะที่ผิด, ความเป็นสิ่งที่ผิด — wrongness; wrong states)

๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด ได้แก่ ความเห็นผิดจากคลองธรรมตามหลักกุศลกรรมบถ และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ — wrong view)

๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด ได้แก่ ความดำริที่เป็นอกุศลทั้งหลาย ตรงข้ามจากสัมมาสังกัปปะ — wrong thought)

๓. มิจฉาวาจา (วาจาผิด ได้แก่ วจีทุจริต ๔ — wrong speech)

๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด ได้แก่ กายทุจริต ๓ — wrong action)

๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ เลี้ยงชีวิตในทางทุจริต — wrong livelihood)

๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด ได้แก่ ความเพียรตรงกันข้ามกับสัมมาวายามะ — wrong livelihood)

๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด ได้แก่ ความระลึกถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เช่น ระลึกถึงการได้ทรัพย์ การได้ยศ เป็นต้น ในทางอกุศล อันจัดเป็นสติเทียม เป็นเหตุชักนำใจให้เกิดกิเลสมีโลภะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น — wrong mindfulness)

๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือเจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น — wrong concentration)

๑๐. มิจฉาวิมุตติ (พ้นผิด ได้แก่ ยังไม่ถึงวิมุตติ สำคัญว่าถึงวิมุตติ หรือสำคัญผิดในสิ่งที่มิใช่วิมุตติว่าเป็นวิมุตติ — wrong deliverance)

D.III.290; M.I.42; A.V.212     ที.ปา.๑๑/๔๖๙/๓๓๗; ม.มู.๑๒/๑๐๔/๗๖; องฺ.ทสก.๒๔/๑๐๓/๒๒๖; ม.อ.๑/๒๕๙; วิภงฺค.อ.๖๗๖.

(***) อกุศลกรรมบถ ๑๐   ดู (๓๐๙) อกุศลกรรมบถ ๑๐.



(๓๒๓) อนุสติ ๑๐ (ความระลึกถึง, อารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ — recollection; constant mindfulness)

๑. พุทธานุสติ (ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระองค์ — recollection of the Buddha; contemplation on the virtues of the Buddha)

๒. ธัมมานุสติ (ระลึกถึงพระธรรม คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระธรรม — recollection of the Dhamma; contemplation on the virtues the Doctrine)

๓. สังฆานุสติ (ระลึกถึงพระสงฆ์ คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระสงฆ์ — recollection of the Sangha; contemplation on the virtues of the Order)

๔. สีลานุสติ (ระลึกถึงศีล คือ น้อมจิตรำลึกพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติปฏิบัติบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย — recollection of morality; contemplation on one’s own morals)

๕. จาคานุสติ (ระลึกถึงการบริจาค คือ น้อมจิตระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรมคือความเผื่อแผ่เสียสละนี้ที่มีในตน — recollection on liberality; contemplation on one’s own liberality)

๖. เทวตานุสติ (ระลึกถึงเทวดา คือ น้อมจิตระลึกถึงเทวดาทั้งหลายที่ตนเคยรู้และพิจารณาเห็นคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดานั้นๆ ตามที่มีอยู่ในตน — recollection of deities; contemplation on the virtues which make people become gods as can be found in oneself)

๗. มรณสติ (ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาที่จะให้เกิดความไม่ประมาท — mindfulness of death; contemplation on death)

๘. กายคตาสติ (สติอันไปในกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ อันไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา — mindfulness occupied with the body; contemplation on the 32 impure parts of the body

๙. อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก — mindfulness on breathing)

๑๐. อุปสมานุสติ (ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือ ระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์ — recollection of peace; contemplation on the virtue of Nibbana)

ดู (๓๔๐) กรรมฐาน ๔๐

A.I.30, 41; Vism.197.     องฺ.เอก.๒๐/๑๗๙-๑๘๐/๓๙-๔๐;๒๒๔/๕๔; วิสุทธิ. ๑/๒๕๑.

(***) อภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐  ดู (๒๓๖) ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ ๑๐.

(***) อเสขธรรม ๑๐  ดู (๓๒๑) สัมมัตตะ ๑๐.



(๓๒๔) อสุภะ ๑๐  (สภาพอันไม่งาม, ซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์แห่งสมถกรรมฐาน — ten kinds of foulness; corpses at different stages of decay)

๑. อุทธุมาตกะ (ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด — bloated corpse; swollen-up corpse)

๒. วินีลกะ (ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่างๆ— bluish discolored corpse; livid corpse)

๓. วิปุพพกะ (ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตามที่ที่แตกปริออก — festering corpse)

๔. วิจฉิททกะ (ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน — split or cut up corpse; disjoint corpse)

๕. วิกขายิตกะ (ซากศพที่ถูกสัตว์ เช่น แร้ง กา สุนัข จิกทึ้งกัดกินแล้ว — gnawed corpse)

๖. วิกขิตตกะ (ซากศพที่กระจุยกระจาย มือเท้าศีรษะหลุดออกไปข้างๆ — scattered corpse; mangled corpse)

๗. หตวิกขิตตกะ (ซากศพที่ถูกสับฟันบั่นเป็นท่อนๆ กระจายออกไป — hacked and scattered corpse; mutilated and mangled corpse)

๘. โลหิตกะ (ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบเรี่ยราดอยู่ — blood-stained corpse; bleeding corpse)

๙. ปุฬุวกะ (ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด — worm-infested corpse)

๑๐. อัฏฐิกะ (ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูกหรือกระดูกท่อน — skeleton)

ดู (๓๔๐) กรรมฐาน ๔๐.

Vism.178.    วิสุทธิ. ๑/๒๒๖.



(๓๒๕) อันตคาหิกทิฏฐิ ๑๐ (ความเห็นอันถือเอาที่สุด, ความเห็นผิดที่แล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง — the ten erroneous extremist views) คือเห็นว่า

๑. โลกเที่ยง (The wold is eternal.)

๒. โลกไม่เที่ยง (The wold is not eternal.)

๓. โลกมีที่สุด (The wold is finite.)

๔. โลกไม่มีที่สุด (The wold is infinite.)

๕. ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น (The soul and the body are identical.)

๖. ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง (The soul is one thing and the body is another.)

๗. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก (The Tathagata is after death.)

๘. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก (The Tathagata is not after death.)

๙. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็ใช่ ไม่เป็นอีก ก็ใช่ (The Tathagata both is and is not after death.)

๑๐. ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็มิใช่ ย่อมไม่เป็นอีก ก็มิใช่ (The Tathagata neither is nor is not after death.)

คำว่า ตถาคต ในที่นี้ อรรถกถาบางแห่งว่าหมายถึงสัตว์ (เช่น ม.อ.๓/๑๓๕; สงฺคณี อ.๕๒๘)   บางแห่งว่า อัตตา หรืออาตมัน (อุ.อ.๔๓๐)    บางแห่งว่าพระพุทธเจ้า (สํ.อ.๓/๑๙๒)

M.I.426; S.IV.392; A.V.193; Ps.I.151; Vbh.392       ม.ม.๑๓/๑๔๗/๑๔๓; สํ.สฬ. ๑๘/๗๘๘/๔๗๖; องฺ.ทสก.๒๔/๑๙๓/๒๐๖; ขุ.ปฏิ.๓๑/๓๓๗/๒๒๖; อภิ.วิ.๓๕/๑๐๓๒/๕๒๙





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย