วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร เชียงใหม่





วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร เชียงใหม่ พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : ธรรมยุติกนิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 1954
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2516


วัดเจดีย์หลวงสร้างอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา

"วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง และในวัดเจดีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง"

วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเป็นพระอารามหลวงในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. 1928 - 1945 และมีการบูรณะมาหลายสมัย สำหรับพระธาตุเจดีย์มีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญอีกองค์หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบันคงเหลือสภาพเพียงครึ่งองค์ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย มีการสันนิษฐานว่าเจดีย์อาจมีความสูงถึง 80 เมตร ซึ่งทำให้เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในภาคเหนือในช่วงเวลาดังกล่าว




- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระธาตุเจดีย์หลวง •


{ พระธาตุเจดีย์หลวง }
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือล้านนา คือ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่

เจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ( พ.ศ. 1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดฯ ให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม จนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ. 2011-2091 เป็นเวลานานถึง 80 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหว ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์องค์นี้มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร


{ พระวิหารหลวงทรงล้านนา }
ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง วิหารหลังนี้ เจ้าคุณอุบาลี คุณปรมาจารย์ และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 ภายในประดิษฐานพระประธานพระอัฎฐารส ปางประธานอภัย ตามศิลปะแบบเชียงใหม่ตอนต้นที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ (อินเดีย) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สูง 18 ศอก ส่วนด้านหน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหารงดงามยิ่ง นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิม และได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยงามที่สุดของภาคเหนือ


{ พระอัฎฐารส }
พระประธานในพระวิหาร ปางประธานอภัย ตามศิลปะแบบเชียงใหม่


{ เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง }
ที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็ก ๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงาน "เข้าอินทขิล" เพื่อฉลองหลักเมืองนั่นเอง


{ พระเจ้าทันใจ }


{ หอพระอินทร์ }


{ หอพระอินทร์ }




11,457







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย