"ธรรมแท้อยู่ที่ไหน" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)

 วิริยะ12  

.
 "ธรรมแท้อยู่ที่ไหน"

" .. ในพรรษาแรกที่หลวงปู่ขาวได้จำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ใหญ่มั่น ที่เชียงใหม่ "ท่านได้ตั้งใจปฏิบัติรับใช้พระอาจารย์อย่างใกล้ชิดและเคร่งครัดมาก" สมกับที่พยายามติดตามท่านมาหลายปี

แม้จะได้ฟังโอวาทท่านบ้างในที่ต่าง ๆ ก็เพียงโอกาสยังไม่จุใจ เมื่อวาสนาช่วยให้ได้จำพรรษากับพระอาจารย์ใหญ่มั่น จริง ๆ จึงสุดแสนยินดี "หลวงปู่ขาว ได้เร่งความเพียรอย่างใหญ่หลวง แทบไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย" บางคืนประกอบความเพียรตลอดรุ่ง

หลวงปู่ได้เล่าเหตุการณ์ที่ควรจดจำในครั้งนั้นว่า "คืนหนึ่งท่านนั่ง สมาธิภาวนา จิตสงบมาก เกิดความปีติอิ่มอกอิ่มใจในพระธรรมสมกับคำว่า ธมุมปีติ สุ เสติ จิตสงบรวมลงอย่างเต็มที่ไปพักใหญ่จึงถอน" ขึ้นมาเกิดความอัศจรรย์ ในความสว่างไสวของใจ ซึ่งไม่เคยเป็นถึงขนาดนั้นมาก่อน "ทำให้เพลิดเพลินในธรรมจนสว่างคาตาไม่ได้หลับนอนเลยในคืนนั้น"

พอตื่นเช้า ได้เวลาเช้าไปทำข้อวัตรอุปัฏฐากพระอาจารย์ หลวงปู่ได้ขนบริขารพระอาจารย์ลงมาที่ฉัน "พอดีกับพระอาจารย์ออกจากที่ภาวนา ตาของท่านจับจ้องมองดูหลวงปู่ขาว จนผิดสังเกต"

หลวงปู่ขาวเล่าว่า "ท่านเองรู้สึกกระดากอายและกลัวพระอาจารย์ จะตำหนิว่าตนท่าผิดอะไรไปหรืออย่างไร" สักประเดี๋ยว พระอาจารย์ ก็พูดออกมาว่า "ท่านขาวนี้ภาวนาอย่างไร คืนนี้จิตจึงสว่างไสวมาก ผิดกับที่เคยเป็นมาทุก ๆ คืน นับแต่มาอยู่กับผม ต้องอย่างนี้ซิจึงสมกับผู้มาแสวงธรรม"

หลวงปู่มั่นเอ่ยปากชม และถามหลวงปู่ขาวต่อไปว่า "ทีนี้ท่านทราบ หรือยังว่า ธรรมอยู่ที่ไหน?" หลวงปู่ขาวยังไม่ทันจะเอ่ยคำใด ๆ หลวงปูมั่น ก็ถามต่อในเชิงชี้แนะว่า "เมื่อคืนนี้สว่างอยู่ที่ไหนล่ะท่านขาว?"

"สว่างอยู่ที่ใจครับผม!" หลวงปู่ขาว กราบเรียนตอบทั้งกลัว ทั้งอายแทบตัวสั่น เพราะไม่เคยได้รบคำชมเชยแถมคำชักถามเช่นนั้น หลวงปูมั่น ได้พูดต่อไปว่า "แต่ก่อนธรรมไปอยู่ที่ไหนเล่าท่าน จึงไม่เห็น? นั่นแลธรรม ท่านจงทราบเสีย แต่บัดนี้เป็นต้นไป ธรรมอยู่ที่ ใจนั่นแล"

"ต่อไปท่านจงรักษาระดับจิต ระดับความเพียรไว่ให้ดี อย่าให้เสื่อม นั่นแลคือฐานของจิต ฐานของธรรม" ฐานของความเชื่อมั่นในธรรมและฐานแห่งมรรคผลนิพพานอยู่ที่นั่นแล

"จงมั่นใจและเข้มแข็งต่อความเพียรถ้าอยากพ้นทุกข์" การพ้นทุกข์ ต้องพ้นที่นั่นแน่นอนไม่มีที่อื่นที่หลุดพ้น อย่าลูบคลำให้เสียเวลา เรามิใช่คนตาบอดพอจะลูบคลำ .."

"หนังสือบูรพาจารย์"
หลวงปู่ขาว อนาลโย
 

5,599







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย