พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราพิจารณากามสุข เนื่องจากความเข้าใจลึกซึ้งในโทษของกามจะทำให้จิตสามารถถอนตัวออกจากกามได้
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้จิตพ้นจากนิวรณ์และเข้าสู่สมาธิ คือการสละความยินดีรักใคร่ในกามคุณ รวมทั้งการคิดปรุงแต่งและความทรงจำในเรื่องนั้น
โดยทั่วไปแล้ว พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราพิจารณากามสุข เนื่องจากความเข้าใจลึกซึ้งในโทษของกามจะทำให้จิตสามารถถอนตัวออกจากกามได้ในเวลาอันเหมาะสม ถึงแม้จะมีฆราวาสน้อยมากที่มุ่งจะละกามสุขโดยสิ้นเชิง แต่การเรียนรู้ที่จะควบคุมตัณหาอย่างชาญฉลาดก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องการความก้าวหน้าในการเจริญสมาธิภาวนา
ในการพิจารณากามสุข เราอาจตั้งคำถามดังตัวอย่าง:
กามสุขให้ความพึงพอใจแท้จริงแค่ไหน และกามสุขเคยเป็นไปตามที่เราหวังไว้หรือคาดไว้จริงๆ หรือไม่ และถ้าเคย สุขแบบนี้อยู่กับเรานานเท่าไหร่
กามตัณหาก่อให้เกิดความรู้สึกอย่างไร น่าพอใจหรือไม่ พอได้สุขแบบนี้จนชิน เรารู้สึกอย่างไร และเมื่อต้องพลัดพรากจากสุขนี้ไป เรารู้สึกอย่างไร
กามตัณหาส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่นอย่างไร และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับศีลธรรมและระบบคุณค่าที่เรายึดถืออย่างไร
กามตัณหากับความโหดร้ายและความรุนแรงของมนุษย์สัมพันธ์กันอย่างไร
ความสุขในกามเป็นที่พึ่งอันแท้จริงแก่จิตใจได้หรือไม่
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร