"พุทธศาสนากับสถาบันกษัตริย์" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)


.
"พุทธศาสนากับสถาบันกษัตริย์"

" .. ทุกประเทศในโลกนี้แต่โบราณกาล "ต่างก็มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขปกครอง แต่ส่วนมากไม่ไดัใช้หลักธรรมของพระพุทธเจ้า" เพราะฉะนั้น "จึงมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ ไม่คงที" ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

แต่ว่า "พระมหากษัตริย์ของไทยเรา ได้ทรงรับนับถือพุทธศาสนา" ปฏิบัติดามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า เช่นที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" ธรรมของผู้ปกครอง คือพระราชา ๑๐ ประการ ได้ทรงยึดถือเป็นหลักกปฏิบัติตลอดมาทุกกาลสมัย

"พระมหากบัตริย์จึงได้ปรากฏเป็นสถาบันที่ตั้งมั่นอยู่ในจิตใจของคนไทยส่วนรวม" และพุทธศาสนาเองก็สมบูรณ์ด้วยหลักธรรมต่าง ๆ ได้เป็นที่ตั้งแห่งศัรทธาปสาทะ ตั้งอยู่ในจิฅใจของประชาชนอย่างมั่นคงและประชาชนทั่วไปได้อาศัยหลักธรรมดังกล่าว จึงได้รวมกันอยู่มั่นคงเป็นประเทศชาดิ

พ่อแม่ก็คงเป็นพ่อแม่ที่ดีอุปการะเลี้ยงดูลูก ลูกก็ปรากฏเป็นลูกที่ดีมีกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ดังนี้เป็นต้น "มีธรรมเป็นหลักยึดเหนี่ยวผูกพันจิฅใจของกันอยู่" ฉะนั้น "สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัดริย์ไทยเรานี่จึงต่างจากสถาบันในประเทศต่าง ๆ" ซึ่งไม่ได้รับนับถือหลักธรรมในพุทธศาสนามาเป็นเครื่องผูกพัน

แต่ว่า "สถาบันในประเทศไทยเรานี้ได้รับนับถือพุทธศาสนามาเป็นเครื่องผูกพัน จึงได้ดำรงมั่น" แตกต่างจากประเทศชาดิอื่น ๆ แม้ที่อยู่ใกล้เคียงกัน "สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของไทย จึงมิได้เป็นเพียงคำขวัญเท่านั้น" แต่มีตัวตนจริง ๆ มีสาระ มีแก่นสาร มีความแข็งแกร่งจริง ๆ .. "

"แสงส่องใจ ๒๕๒๐"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า


7,741







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย