"จิตของบัณฑิต เหมือนภูเขา" (สมเด็จพระญาณสังวร)


"จิตของบัณฑิต เหมือนภูเขา"

" .. พุทธภาษิตหนึ่งกล่าวไว้แปลความว่า "ภูเขาแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น"

พระพุทธองค์ทรงเปรียบบัณฑิต ดังภูเขาหินแท่งทึบ "เหตุด้วยบัณฑิตไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ" นั่นคือทรงแสดงว่า "บัณฑิตมีคุณลักษณะของภูเขา คือมีความหนักแน่น ความแข็งแกร่ง ความผนึกติดกับพื้นฐานใหญ่มั่นคง คือความดี ความมีสติปัญญา"

"บัณฑิต"ในพระพุทธศาสนาหมายถึง "คนดีมีปัญญา ผู้เป็นคนดี มีปัญญาเพียงพอ ย่อมรู้ธรรม ย่อมเชื่อมั่นในกรรม" ย่อมไม่หวั่นไหว เมื่อมีผู้เจรจาส่งเสริมเพื่อให้สูงขึ้น "ย่อมรู้ว่า กรรม คือการ[กระทำ ความประพฤติปฎิบัติของตนเองเท่านั้น ที่จะเหยียบย่ำตนให้ต่ำลงได้ หรือส่งเสริมตนให้สูงขึ้นได้" ผู้ใดอื่นหาทำได้ไม่ "นินทาก็ตาม สรรเสริญก็ตาม ไม่อาจทำได้ ทั้งเพื่อให้ตนต่ำลง หรือสูงขึ้น"

สำหรับบัณฑิต "นินทาและสรรเสริญ จึงย่อมทำให้เกิดเมตตาในผู้นินทาและกตัญญู รู้น้ำใจผู้สรรเสริญเพียงเท่านั้น" มิได้ทำให้หวั่นไหวแต่อย่างใด .. "

"ตนอันเป็นที่รักยิ่งของตน"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙
   

7,841







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย