ศิลปกรรมในเขตสังฆวาส
{ ตำหนักปั้นหยา }
ศิลปกรรมในเขตสังฆวาสส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็น ตำหนักที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ผนวชในวัดนี้ เริ่มจากตำหนักปั้นหยา ซึ่งเป็นตึกฝรั่ง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรง อาราธนาให้เสด็จมาประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมา ตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ รูปทรงของ ตำหนักเป็นตึกก่ออิฐถือปูนหน้าจั่วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่ซ้ายมือของกลุ่ม ตำหนัก ต่างๆ
{ ตำหนักจันทร์ }
ถัดจากตำหนักปั้นหยาคือ ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล ๒ ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ในกลุ่มพระตำหนัก นี้
{ ตำหนักเพชร }
ยังมี พระตำหนักเพชร อีกตำหนักหนึ่งอยู่ขวามือเมื่อเข้าจากหน้าวัด เป็นตำหนัก สองชั้นแบบ ฝรั่ง มุขหน้าประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุงดงาม ตำหนักนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวายเป็นท้องพระโรง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส อย่างไรก็ตามศิลปกรรมและถาวรวัตถุของวัดบวรนิเวศวิหารยังมีอีกหลายอย่างส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ ในสภาพดี
มหามกุฏราชวิทยาลัย
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 โดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดำริพระสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาพระวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาขึ้นเมื่อวันที 30 ธันวาคม 2488 และมหาเถรสมาคมได้รับรองสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 เป็นการศึกษาที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน
การศึกษาระดับปริญญาตรีแบ่งเป็น 4 คณะคือ คณะศิลปศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ และคณะ ศึกษาศาสตร์ พระภิกษุสามเณรที่จะเข้ารับศึกษาในระดับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจะต้องมีความรู้เปรียญ 4 ประโยค นักธรรมเอก หรือเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 สายปรยัติ กำหนดเวลาเรียน 7 ปี แบ่งเป็นชั้นบุรพศึกษา 1 ปี เตรียมปี 1 และ เตรียมปี 2 รวม 3 ปี ทั้งนี้เฉพาะผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 ส่วนชั้นนักศึกษา 4 ปี และต้องออกปฏิบัติงาน 1 ปี รวมเป็น 8 ปี จึงจะจบหลักสูตร และต้องสอบได้เป็นเปรียญ 5 ประโยคด้วยจึงจะได้รับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต
ส่วนการศึกษาระดับปริญญาโทศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา