ศีล
โดย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์

เรื่องที่ ๒๕ : โกหกช่วยตัว


เหตุผลเกี่ยวกับศีลข้อที่ ๔ ตอนนี้ ก็มาถึงประเด็นสำคัญ นั่นคือ เรื่องโกหก เพื่อช่วยตัวเอง ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ท่านได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่อง นี้ไว้ดังนี้

"ในด้านผลประโยชน์ ผู้พูดเท็จยังมีความคิดเห็นอีกอย่างหนึ่งว่า คำเท็จช่วยตัวได้ พึ่งได้ จึงได้พูดเท็จ บางคนตั้งแง่สงสัยเอาทีเดียวว่า ถ้าไม่โกหกแล้ว จะรวยได้อย่างไร ?

พ่อค้า ๒ คน ตั้งร้านอยู่ใกล้กัน คนหนึ่งโกหก ของเลวก็อวดว่าของดี ของเทียมก็อ้างว่าของ แท้ มีหวังรวยเร็วกว่าคนพูดจริง ดีว่าดี เลวว่าเลว และบอกต้นทุนแก่ลูกค้าตามจริงบางคน เห็นดิ่งลงไปทีเดียวว่า คนไม่โกหก เป็นพ่อค้าแม่ค้าไม่ได้ และศีลข้อนี้ ทำให้เศรษฐกิจของ ชาติไม่เจริญ ข้อนี้ก็ น่าคิด แต่ว่าในการคิดนั้น เราจะต้องนึกถึงเจตนารมย์ ของท่านผู้ห้าม ด้วย ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้เราพูดเท็จนั้น เป็นการห้ามด้วยความหวังดีแก่พวกเรา มิ ใช่กลัวเราจะไปโกหกท่าน และมิใช่ห้ามชนิดเอาเปรียบ คือ ห้ามไม่ให้ผู้อื่นโกหก ส่วนตัวผู้ ห้ามเองเที่ยวโกหกผู้อื่นอยู่ทุกมุมเมือง ไม่ใช่อย่างนั้นในเรื่องพูดเท็จนี้ พระพุทธองค์จะต้อง ทรงเห็นโทษอย่างแน่แท้ จึงได้ทรงห้ามตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ และทรงมอบ ให้ พระสาวกช่วย

กันห้ามมาเป็นเวลาถึง ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว โดย ไม่มีการลดหย่อนผ่อนผันเลย คนที่คิดว่า โกหกไม่เป็นจะทำการค้าขายไม่ได้นั้น เป็นคนคิดผิวเผิน เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนตัว แล้วก็ดูถูก เหยียดหยามกิจการค้าว่าเป็นงานที่เลว จนถึง กับว่า ต้องทำกันด้วยเล่ห์ลิ้นโกหกพกลม เรื่อง การค้าขายนั้น อย่าไปคิดแต่ว่า เราให้ของเราไป แล้วเขาให้เงินเรามา ถ้าคิดว่างาน เพียงเท่านี้ เป็นการค้า ก็ยังนับว่าเข้าใจผิด นั่นเป็นเพียงงานของคนขายของหน้า ร้านเท่านั้น วิถีทางของ การค้า มาไกลกว่านั้น และไปไกลกว่านั้น ลองคิดย้อนไปดู ทางมาของสินค้า แต่ละชิ้นดูบ้าง เพียงไม้ขีดกลักเดียว ก็ถูกซื้อขายกันมาหลายทอด เริ่มแต่ใน โรงงานอุตสาหกรรม ในการผลิต เจ้าของโรงงานเขาก็ดำเนินการ จ่ายค่าจ้าง แก่เจ้าพนักงานตามข้อตกลง คนงานก็ ปฏิบัติงาน ให้โรงงานตามสัญญา อันมีอยู่ การผลิต เขาก็ต้องปรับปรุงคุณภาพ ของปริมาณโดยซื่อตรง

แจ้งคุณภาพปริมาณแก่ร้านค้าขายส่งโดยซื่อตรง ผู้ทำการขนส่ง รับทำการขนส่งโดยซื่อ ตรงจนกระทั่งไม้ขีดกลักนั้น มาถึงร้านขายปลีก แม้ที่ร้าน ขายปลีกนั่นเอง ที่ดำเนินการค้า ก็ได้ พึ่งพิงอยู่กับความสัตย์ซื่อของบริการต่างๆ เป็นอันมาก เช่นการเก็บภาษีอากร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าห้อง เงินเดือนลูกจ้าง เป็น เรื่องของความซื่อตรงทั้งนั้นมีอยู่คนเดียว ที่ถ้าจะริโกหก คือคนขายของหน้าร้าน (ผู้นิยมอุดมคติ โกหกไม่เป็น ค้าไม่ได้ ) ซึ่งตีหน้าคอยโกหกลูกค้าของ ตัว ท่านลอง คิดดูซิว่า ในวิถีทางการค้านั้น คนซื่อพึ่งคนคดหรือ คนคดพึ่งคนซื่อ ?

แน่นอนที่สุด ถ้าในการค้านั้น มูลฐานสำคัญ คือ ความสัตย์ซื่อ ถ้าหากคนอื่นๆเขาเล่นไม่ซื่อ แล้ว โรงงานก็ล้ม ร้านขายส่งก็ล้ม ร้านขายปลีกก็ล้ม และผลที่สุด ตัวคนเสนอหน้าคอยโกหก อยู่หน้าร้าน ก็ล้มราบไปด้วย คิดดูดีๆแล้ว ตำราการค้าฉบับที่ว่า "เป็นพ่อค้าต้องโกหก"นี้ ลูกจ้างขายของหน้าร้านเป็นคนแต่งขึ้น ไม่ใช่ฉบับนายห้างแต่ง ท่านทั้งหลายก็คงจะมีจิตใจ คล้ายๆกับผม คือคล้ายๆกับคนหลายคน ที่รู้สึกเกลียดชัง พ่อค้าที่หลอกขายของให้เรา และ ไม่พึงประสงค์จะอุดหนุนเขาต่อไป ผมเคยซื้อขวดบรรจุ น้ำฝน เพราะหลงเชื่อคนขายว่า เป็น เหล้าสระแหน่แก้ปวดท้อง มาถึงบ้านแล้วต้องโยนทิ้ง และไม่เคยคิดไปซื้อของที่ร้านนั้นอีก เลย เป็นเวลา ๑๐ ปีเศษแล้ว ทั้งที่ร้านนั้น ก็ตั้งอยู่ตรง ระยะทำเลที่ผมควรจะซื้อได้สะดวก

ท่านล่ะ ถ้าโดนอย่างผมบ้าง จะเกลียดขี้หน้าพ่อค้าโกหกคนนั้นหรือไม่ ? ผมเคยซื้อของมา ก็มาก และได้รู้จักกับพ่อค้าแม่ค้าก็ไม่น้อย ได้พยายามทดลองสังเกตดูว่า การเจรจาค้าขายนั้น จะพูดให้ทันลูกค้า โดยไม่โกหกให้เสียศีลจะได้ หรือไม่ ? ผลที่สุดก็ได้พบได้เห็นพ่อค้าแม่ค้า มากมาย ที่เขาพูดซื่อๆ ไม่ต้องเสียศีล และพูดให้ลูกค้า ติดใจได้เมื่อพูดถึงคุณภาพก็เพียงแต่ เปรียบเทียบ ให้ลูกค้าเลือก เอาเอง เมื่อพูดถึงต้นทุน ก็บอกแค่ว่า ซื้อมาแพง คนซื้อทั้งเมืองเขา ก็รู้กันอยู่แล้วว่า คนขายก็ต้องเอากำไรบ้าง ไม่เช่นนั้นจะขายของทำไม คนขาย จึงไม่จำเป็น ต้องโกหกคนซื้อ ว่ายอมขาดทุนให้ท่าโน้นท่านี้ ซึ่งเป็นการทำให้ตัว เองเสียศีลเสียธรรมเปล่าๆ พ่อค้าอาจใช้จิตวิทยาทางอื่นที่สูงดีกว่า โดยไม่ต้องพูดเท็จ ก็ได้เพราะมัวบูชาอุดมคติ"รักจะค้า ขาย ต้องโกหก" นี่แหละ บ้านเมืองถึงได้ยุ่งยากทุลัก ทุเลพอคิดเรียกตั้งหุ้นบริษัท ก็วางแผน โกหกควบกันไปด้วย ไปได้ไม่กี่น้ำก็แตกกระจัด กระจาย ทุนหายกำไรหลุดเพราะบูชาโกหก มันเลย หกคะเมนเอาจริงๆ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย